Baramizi Lab logo

ตอนนี้ FUTURE LAB อย่าง BARAMIZI LAB ทำงานอะไรอยู่บ้าง? WHAT WE’RE DOING? และมีผลงานอะไรบ้างตอนนี้?

ตอนนี้ FUTURE LAB อย่าง BARAMIZI LAB ทำงานอะไรอยู่บ้าง? WHAT WE’RE DOING? และมีผลงานอะไรบ้างตอนนี้?

รู้สึกแปลกใจมั้ยคะว่า เอ…ศูนย์วิจัย เทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคตหรือเราเรียกอย่างย่อๆ ว่า Future Lab ทำงานอะไรบ้าง ใครกันนะที่ต้องใช้บริการ ศูนย์วิจัยฯ ประเภทนี้ 😆😆ตอนนี้งานที่ Baramizi Lab กำลังดูแลมีทั้งงานภาครัฐ ภาคเอกชนค่ะ หน้าที่ของเราคือการวิจัยเจาะลึกเพื่อค้นหาโอกาสใหม่ๆ ให้ธุรกิจและการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นงานที่เรารู้สึกเป็นเกียรติมากที่ได้กับโอกาสจากลูกค้าให้ได้ดูแลงานลักษณะนี้ เพราะมันล้วนมีความสำคัญต่ออนาคตของแบรนด์และบางโปรเจกต์ก็สัมพันธ์กับอนาคตของประเทศ โดยงานวิจัยที่ Baramizi Lab ทำจะแบ่งออกเป็น

1.โครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนากลยุทธ์สินค้า
Future Lab Research for Strategic Roadmap Design

โครงการนี้น่าตื่นเต้นมากค่ะเพราะ Future Lab ต้องทำหน้าที่ดึงศักยภาพ องค์ความรู้ และประสบการณ์ของทั้งททท.และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงการการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้ออกมาเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาแนวทางการทำงานด้านสินค้า และ ธุรกิจท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และต้องนำมาซึ่งการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนให้กับสินค้าการท่องเที่ยวที่พวกเราชาวไทยควรพัฒนาให้รับกับเทรนด์ความเปลี่ยนแปลงของโลกและความต้องการของนักท่องเที่ยวในอนาคต โครงการนี้เริ่มสะเด็ดน้ำได้ผลลัพธ์แล้ว อยากชวนพวกเรารอติดตามผลงานของททท.ต่อไปนะคะ ททท.ทำงานเกี่ยวกับ การพัฒนาและส่งเสริมด้าน Supply และดูแลธุรกิจท่องเที่ยวอย่างจริงจังจริงๆ แนวทางการพัฒนาจากนี้จะมีความชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ

 

2.โครงการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรม
Future Lab Research for Innovation

โครงการนี้ก็สนุกมากค่ะ Future Lab ได้ทำหน้าที่ศึกษาเทรนด์ (โดยเฉพาะด้าน Metaverse) และชวนผู้เชี่ยวชาญในแวดวงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับธุรกิจเอกชนมาช่วยกันออกไอเดียสร้างสรรค์จินตนาการถึงความเป็นไปได้ต่างๆ ในการสร้างสรรค์ดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสบการณ์การท่องเที่ยวตลอด Customer Journey ของการท่องเที่ยวในประเทศไทย แล้วนำมาเข้ากระบวนการสำรวจกับประชาชนทั่วประเทศเพื่อหาสัญญาณความสนใจและโอกาสได้ใช้งาน เพื่อนำสู่การสร้างบทสรุปและข้อเสนอแนะสำหรับวงการการท่องเที่ยวของประเทศไทยว่าควรออกแบบแผนงาน และเลือกลำดับการพัฒนาโครงการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ อย่างไร และแต่ละเทคโนโลยีมีโอกาสการสร้างคุณประโยชน์ให้กับกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวอย่างไร ต่อเนื่องกันมาอีกโครงการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและเทคโนโลยีสมัยใหม่ Future Lab ได้รับโอกาสท้าทายค่ะ ทำให้นักวิจัยของเราต้องเรียนรู้โอกาสเชิงกว้างของการประยุกต์ใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในวงการการท่องเที่ยว และเข้าใจเชิงลึกในเชิง Mechanic และการกำกับดูแลของ Regulator ที่เกี่ยวข้อง (รวมถึงทีมงานเราต้องได้ลองสัมผัสประสบการณ์ลงทุนจริง เจ็บจริง 😅😅😆 กับเหรียญดิจิทัลที่น่าสนใจด้วย) เพื่อทำให้เราสามารถสรุปผลและให้ข้อเสนอแนะจากการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการเลือกพัฒนาได้จริง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนการลงทุนของททท.ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลได้อย่างรัดกุม และแม่นยำรับกับความต้องการที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรม

 

3.โครงการศึกษาวิจัยเพื่อออกแบบทิศทางและแผนนโยบายเพื่อการพัฒนาสู่อนาคต
Future Lab Research for Strategic Roadmap Design

งานศึกษาวิจัยเพื่อเจาะลึกค้นหาว่ากีฬาเพื่อการท่องเที่ยวจะมียุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนอย่างไรให้ช่วยเสริมความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยและเมืองต่างๆ ได้ งานนี้ Future Lab มีโอกาสได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญมากมายเพื่อพัฒนาโมเดลทางการขับเคลื่อนกิจกรรมกีฬาเพื่อการท่องเที่ยวที่รับกับศักยภาพของประเทศไทยจริงๆ และที่สำคัญเมื่อผลงานชิ้นนี้ออกมาแล้ว จะได้เห็นกิจกรรมนั้นๆ เกิดขึ้นจริงๆ ที่พื้นที่จังหวัดที่เราดำเนินการด้วยนะคะ ใครสนใจข้อมูลเทรนด์ด้านกีฬาเพื่อการท่องเที่ยวและยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่จะใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของท้องถิ่น ก็รอติดตามผลงานในโครงการนี้ได้เลยค่ะ แล้วเราจะรายงานความคืบหน้าเรื่อยๆ นะคะ

 

4.โครงการศึกษาวิจัยเพื่อออกแบบทิศทางและแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาสู่อนาคต
Future Lab Research for Strategic Roadmap Design

เป็นอีกโครงการที่ท้าทายและยิ่งใหญ่มากค่ะ กับการใช้ Future Lab เพื่อการพัฒนาเมืองเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คน การขับเคลื่อนเมืองไม่เหมือนการขับเคลื่อนแบรนด์และธุรกิจหนึ่งๆ ที่มี CEO เป็นหัวเรือใหญ่แล้วมีอำนาจสั่งการทุกอย่างได้ทั้งหมด แต่เมืองเป็นเรื่องของทุกคน มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและขับเคลื่อนมากมายที่ใช้วิธีการสั่งการไม่ได้ การทำงานเรื่องกลยุทธ์เมืองจึงต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความมีส่วนร่วมมากๆ ค่ะ และแน่นอนว่า ทำงานร่วมกับ Future Lab ก็จะไม่เพียงแต่ศึกษาเรื่องที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น เราจำเป็นต้องศึกษาเทรนด์และแนวโน้มแห่งอนาคตที่น่าสนใจด้วยเพื่อนำพาให้ผลลัพธ์ในการร่วมออกไอเดียของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนผสมของนวัตกรรมแห่งอนาคตเข้าไปด้วย

 

5.โครงการศึกษาวิจัยเพื่อออกแบบกลยุทธ์การทำ
Brand Transformation

ในกลุ่มองค์กรที่กำลังวางแผนระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ การพัฒนา Service Blueprint ของแบรนด์ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการศึกษาความเป็นไปได้ของ New Business Model กับวงการเครื่องดื่มที่ท้าทายอย่างมาก และเรายังกำลังเตรียมการหลักสูตรด้าน Megatrend for Business ซึ่งเป็นหลักสูตร Workshop เพื่อสอนให้องค์กรมีวิธี ในการสังเกต ขมวด และประเมินเทรนด์และนำเทรนด์สู่การใช้งานสร้างกลยุทธ์ที่ทำให้องค์กรเกิด Competitive Advantage ที่เหนือกว่าติดอาวุธในการก้าวคว้าโอกาสแห่งอนาคตอย่างแม่นยำ

 

การศึกษาเรื่องราวใหม่ๆ คอนเซปต์ทางธุรกิจใหม่ๆ และการค้นหากลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ และนโยบายเพื่อการพัฒนาสู่อนาคต จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีคณะทำงานวิจัยและทีมที่ปรึกษาที่มีความรู้ความเข้าใจ เทรนด์ ธุรกิจแห่งอนาคต และมีทักษะในการล้วงลึก เจาะหัวใจของผู้บริโภค เพื่อเข้าใจโอกาสในวันข้างหน้าของแบรนด์ได้อย่างแม่นยำจริงๆ ถ้าคุณมีโจทย์แนวๆ นี้ก็มาคุยกับทีมงาน Client Partner ของเราได้เลยนะคะ การช่วยตกผลึกโจทย์ทางธุรกิจสู่การใช้เทรนด์และวิจัยแบบ Future Lab Research มาเป็นตัวช่วยในการหาคำตอบก็เป็นอีกหนึ่งหน้าที่ที่ทำร่วมกับลูกค้าที่ร่วมงานกับเราเป็นประจำค่ะ : )

 

บทความโดย ปรมา ทิพย์ธนทรัพย์

Baramizi Lab’s Director

 

RECOMMEND

Superfansindex.com
read more
13.09.2024 33

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแบรนด์เราสุขภาพดีแค่ไหน?

ในหลายๆ ธุรกิจมักจะนึกถึงยอดขายที่จะทำให้รู้สึกว่าแบรนด์เรายังมีลูกค้าซึ่งก็ส่งผลต่อสุขภาพของแบรนด์ได้เช่นเดียวกัน แต่แท้ที่จริงแล้วแบรนด์คุณอาจจะสุขภาพไม่ดีก็ได้ เหมือนร่างกายคนถ้าไม่ไปตรวจสุขภาพเราก็จะไม่รู้ว่าข้างในร่างกายเป็นอย่างไร ทั้งๆ ที่ภายนอกเรายังรู้สึกปกติอยู่  เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเกิดปัญหา และอาจส่งผลให้ปัญหานั้นลามใหญ่โตซึ่งต้องใช้ทั้งเงินและเวลาในการแก้ไข การวิจัยตรวจสอบสุขภาพแบรนด์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์ควรจะทำอย่างต่อเนื่อง เปรียบเหมือนการเอ๊กซเรย์แบรนด์…เพราะหากรู้ก่อนย่อมสามารถแก้ปัญหาได้เร็วกว่า จากภาพข้างต้นหากทุกแท่งมีฐานที่กว้าง การันตีได้เลยว่าแบรนด์คุณสุขภาพดี เพราะการลงงบไปกับสื่อหรือการสร้างประสบการณ์นั้นสามารถได้ใจลูกค้าจนเกิดความเป็น Superfans ได้ (ความเป็น Superfans ของแบรนด์ คือ ขั้นสุดที่แบรนด์ควรไปให้ถึงและเก็บให้ได้มากที่สุด หรือที่เราเรียกว่า สาวกของแบรนด์)  รูปแบบการตรวสอบสุขภาพแบรนด์  โดยทั่วไปสามารถพบได้ 3 รูปแบบ 1.การวิจัยเพื่อตรวจสอบรายปี  เหมาะสำหรับแบรนด์/ องค์กรที่มีการลงงบการตลาด การทำแคมเปญต่างๆ ในช่วงระหว่างปี เพื่อให้เราสามารถรู้ได้ว่ารู […]

read more
11.09.2024 39

ตลาด Sustainable Fashion กับการเติบโต 22.9% ต่อปี

Sustainable Fashion หรือ แฟชั่นแบบยั่งยืนที่เคยเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ในอุตสาหกรรมแฟชั่นโดยรวม กำลังได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วเนื่องจากผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและจริยธรรมมากขึ้น ในปี 2024 ตลาดแฟชั่นยั่งยืนระดับโลกมีมูลค่า 8.1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2024 และคาดว่าจะเติบโตถึง 33.1 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2033 ด้วยอัตรา CAGR 22.9% ในช่วงคาดการณ์ปี 2024 – 2033 แม้ว่าจะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ผลกระทบของแฟชั่นยั่งยืนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากแบรนด์และผู้ค้าปลีกรายใหญ่ต่างนำแนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนเข้ามาใช้ในธุรกิจของตน การเพิ่มขึ้นของแบรนด์แฟชั่นยั่งยืน ร่วมกับการนำโครงการริเริ่มสีเขียวมาใช้โดยบริษัทที่จัดตั้งขึ้นแล้ว กำลังผลักดันตลาดให้ก้าวไปข้างหน้า พร้อมแรงหนุนจากความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม อุตสาหกรรมแฟชั่นยั่งยืนมีโอกาสอีกมากมาย เช่น ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคที่ต้องการความโปร่งใสในกระบวนการผลิตและการจัดหาวั […]

read more
11.09.2024 61

ทิศทาง Food delivery ทั้งไทยและต่างประเทศ

ตลาด Food Delivery ในไทยปี 2567 ยังมีเทรนด์ที่ลดลงต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้มีการประเมินว่าในปี 2567 มูลค่าตลาด Food Delivery จะอยู่ที่ประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท  หรือหดตัว 1.0% จากปี 2566 แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการสั่งอาหารเฉลี่ยต่อครั้งน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น (Price per Order) ประมาณ 2.8% จากค่าเฉลี่ยในปี 2566 หรือ มีราคาเฉลี่ยประมาณ 185 บาทต่อครั้งของการสั่ง ซึ่งจะมีผลตามมาต่อทั้งจำนวนครั้งและปริมาณการสั่งให้ลดลง ปัจจุบัน ตลาด Food Delivery ในหลายประเทศกำลังเผชิญกับแนวโน้มขาลงไม่ต่างจากประเทศไทย แม้ว่าจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเห็นการเติบโตชะลอตัวเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงและต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น ส่งผลให้บริการต้องปรับราคาให้สูงขึ้นเพื่อรักษากำไร ขณะที่ในญี่ปุ่น การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการจัดส่งและการแข่งขันจากผู้เล่นหลายราย ทำให้บริษัทฟู้ดเดลิเวอรี่ต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดและกำไร  การเติบโตของตลาด Food Delivery ทั่วโลก รายได้ในตลาดบริการจัดส่งอาหารออนไลน์คาดว่าจะสูงถึง 1.22 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567 แล […]

read more
06.09.2024 121

ตลาด Sustainable Dining กับการเติบโต 6.9% ต่อปี

Sustainable Dining หรือ การรับประทานอาหารอย่างยั่งยืนหมายถึงการเลือกอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม แนวทางการรับประทานอาหารนี้เน้นที่การบริโภคอาหารที่ผลิตและเตรียมในลักษณะที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่น การรับประทานอาหารอย่างยั่งยืนอาจเกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติต่างๆ เช่น การเลือกส่วนผสมจากแหล่งท้องถิ่นและออร์แกนิก การลดขยะอาหาร การเลือกอาหารจากพืชและการสนับสนุนร้านอาหารและธุรกิจที่ยึดมั่นในแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน เป้าหมายหลักคือการสร้างระบบอาหารที่สามารถรักษาคนรุ่นต่อไปได้โดยไม่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติหมดสิ้นหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบนิเวศ โดยมูลค่าตลาดอาหารที่ยั่งยืนมีมูลค่า 1,066.2 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2023 และคาดว่าจะถึง 1,945.38 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2032 โดยเติบโตที่อัตรา CAGR 6.91% ตั้งแต่ปี 2024-2032 แนวโน้มเหล่านี้สะท้อนถึงการเคลื่อนไหวที่กว้างขึ้นสู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งขับเคลื่อนโดยความต้องการของผู้บริโภคและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เมื่อการรับประทานอาหารที่ยั่งยืนกลายเป็นกระแสหลักมากขึ้น จึงมีศัก […]

read more
06.09.2024 125

Urban Farming การทำเกษตรในเมือง

ในขณะที่เมืองทั่วโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความจำเป็นในการหาแหล่งอาหารที่ยั่งยืนก็มีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม การทำเกษตรในเมือง ซึ่งเคยเป็นเพียงแค่แนวคิดเล็กๆ กำลังกลายเป็นขบวนการที่ทรงพลังซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการที่เราคิดเกี่ยวกับการผลิตอาหารและการใช้ชีวิตในเมือง โดยการเปลี่ยนหลังคาอาคาร ที่ดินว่างเปล่า หรือแม้แต่ระเบียงเล็กๆ ให้กลายเป็นพื้นที่การเกษตรที่เจริญรุ่งเรือง การทำเกษตรในเมืองเสนอโซลูชั่นใหม่สำหรับการแก้ปัญหาที่สำคัญที่สุดที่เมืองสมัยใหม่กำลังเผชิญ การทำเกษตรในเมืองคืออะไร การทำเกษตรในเมือง หรือ Urban Farming คือ การปลูกอาหารภายในสภาพแวดล้อมของเมือง โดยมักใช้พื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ แตกต่างจากการเกษตรแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้พื้นดินในชนบทอย่างกว้างขวาง การทำเกษตรในเมืองสามารถผสมผสานเข้ากับพื้นที่ของเมืองได้ ซึ่งอาจหมายถึงทุกอย่างตั้งแต่สวนชุมชนในที่ดินว่าง ไปจนถึงฟาร์มแนวตั้งบนด้านข้างของอาคารหรือระบบไฮโดรโปนิกส์ในห้องใต้ดิน ประโยชน์ของการทำเกษตรในเมือง ความยั่งยืนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การทำเกษตรในเมืองมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความยั่งยืน การผลิตอาหารในท้องถิ่ […]

Subscription

เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เทรนด์และวิจัยต่อเนื่อง