Baramizi Lab logo

INNOVATION UPDATE :

School of Wisdom: ภูมิปัญญาที่ซับซ้อน สอนกันได้หรือไม่?

อนาคตที่ปัญญาประดิษฐ์ และระบบอัตโนมัติมีความก้าวหน้ามากขึ้น คาดว่างานหลายล้านตำแหน่ง โดยเฉพาะงานด้านการบริหาร จะหายไปภายในปี 2027 ภาระงานที่ใช้การทำซ้ำหรือใช้ข้อมูล จะถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ แล้วสิ่งใดคืออาวุธของมนุษย์ในการต่อสู้กับตลาดเเรงงานที่มีคู่แข่งหน้าใหม่เหล่านี้ สิ่งนั่นคือ ภูมิปัญญา (Wisdom) ซึ่งแตกต่างจากความรู้ (Knowledge) หรือสติปัญญา (Intelligence) ภูมิปัญญาเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจทางจริยธรรม ความเห็นอกเห็นใจ และการตัดสินใจที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นทักษะที่ปัญญาประดิษฐ์เลียนแบบได้ยาก (หรืออาจได้ในอนาคตอันใกล้)

เพื่อตอบสนองต่อความต้องการนี้ แนวคิดของ “โรงเรียนแห่งภูมิปัญญา” จึงเกิดขึ้น การศึกษาที่เน้นภูมิปัญญาจะปลูกฝังการใช้เหตุผลทางจริยธรรม ความตระหนักทางวัฒนธรรม และสติปัญญาทางอารมณ์ เพื่อเตรียมนักเรียนให้เผชิญกับความท้าทายในโลกแห่งความเป็นจริงด้วยความเข้าใจ และความยืดหยุ่น การนำเครื่องมือดิจิทัล เช่น การจำลองด้วย AI, VR มาใช้ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์เสมือนจริงในสถานการณ์ที่ต้องใช้การตัดสินทางจริยธรรม และการแก้ปัญหาหลายแง่มุม ตั้งแต่ปัญหาโลกร้อน ไปจนถึงปัญหาส่วนตัวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

กรณีศึกษาแนวคิดอนาคตของการเรียนรู้ภูมิปัญญา

การถ่ายทอดภูมิปัญญาช่วยให้คนรุ่นต่อไปสามารถรับมือกับความท้าทายทางสังคมและซับซ้อนได้ดียิ่งขึ้น แต่ในทางปฏิบัติถือเป็นเรื่องท้าทาย จำเป็นต้องมีระบบ และทรัพยากรจำนวนมากเพื่อฝึกอบรมครูที่มีความสามารถในการถ่ายทอดความสามารถที่เป็นนามธรรมให้มีความเที่ยงตรงไม่เอนเอียง และมีความสากลเพียงพอสำหรับการปรับใช้ของผู้เรียนในบริบทสังคมโลก

Credit:

หลังจากการเลือกตั้งประธานธิบดีประเทศสหรัฐอเมริกา โลกได้รู้ว่าผู้นำคนต่อไปของประเทศพี่ใหญ่ของโลก คือ โดนัล ทรัมป์ การหวนคืนทำเนียบขาวเป็นสมัยที่ 2 ของ โดนัลด์ ทรัมป์ นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายของประเทศสหรัฐอเมริกาในหลายด้าน ทั้ง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แน่นอนว่าการขยับตัวของประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกย่อมสะเทือนไปทั้งโลก วันนี้เราจะมารีวิวหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือด้านสิ่งแวดล้่อม

วิกฤตสภาพภูมิอากาศและนโยบายทางด้านเศรษฐกิจสีเขียวของสหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งในประเด็นที่อาจได้เห็นความเปลี่ยนแปลงทางนโยบายจากการเป็นประธานาธิบดีอีกสมัยของทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผู้นี้เคยบอกว่าความพยายามในการส่งเสริมพลังงานสีเขียวเป็น “การหลอกลวง” มีการคาดการณ์ว่า โดนัลด์ ทรัมป์ จะพาสหรัฐฯ ถอนตัวออกจาก “ข้อตกลงปารีส” (Paris Agreement) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันทางกฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทรัมป์เองเคยออกจากข้อตกลงปารีสในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก

ข้อตกลงปารีสจัดทำขึ้นเมื่อปี 2015 มีเป้าหมายเพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และพยายามไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยตั้งเป้าบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emission) ภายในปี 2050

โดนัลด์ ทรัมป์ มีมุมมองว่า ภายใต้กรอบข้อตกลง ยังมีประเทศที่ไม่ทำตามเป้าหมาย เช่น ประเทศผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันดับหนึ่งอย่างจีน หรือประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ยังบรรลุตามเป้าหมายไม่ได้ เหตุใดสหรัฐฯ จะต้องทำ

อีกนโยบายที่ไปให้สุดคือการมุ่งเน้นการสนับสนุนการผลิตพลังงานจากฟอสซิล เช่น น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ สอดคล้องกับสโลแกนในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง “Drill Baby Drill” ชูนโยบายสนับสนุนการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอย่างเต็มที่  ทั้งยังให้ความสำคัญกับการลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ และยังยกเลิกเครดิตภาษีคาร์บอน

อีกสิ่งที่ต้องจับตาคือ กฎหมายลดเงินเฟ้อ (The Inflation Reduction Act) ซึ่งออกแบบมาเพื่อกระตุ้นโครงการพลังงานสะอาดผ่านเงินช่วยเหลือ เงินกู้ และเครดิตภาษี ว่าจะถูกยกเลิกหรือไม่

โดยรวมนี่เป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงในด้านสิ่งแวดล้อม เพราะดูเหมือนว่า โลกเรากำลังขึ้นอยู่กับประเทศมหาอำนาจที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเป็นอันดับ 2 ของโลก

ผู้เขียน: พลวัฒน์ จูเจริญ

ในช่วงที่ผ่านมา กระแส “หมูเด้ง” ลูกฮิปโปแคระจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว เป็นที่นิยมสูงมาก โด่งดังเป็นปรากฏการณ์ระดับโลก และมีแฟนๆ พร้อมต่อคิวเพื่อไปเห็นหมูเด้งตัวเป็นๆ วันนี้ผู้เขียนจะมาชวนผู้อ่านทุกท่านไปพบกับเทรนด์ของการออกแบบสวนสัตว์ในปี 2025 ว่าจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไรในอนาคต

เมื่อเรามองตลาดสวนสัตว์ในภาพรวมระดับโลก ตลาดซึ่งรวม ธุรกิจพิพิธภัณฑ์ แหล่งประวัติศาสตร์ สวนสัตว์ และสวนสาธารณะ รวมกันแล้วประมาณการมีมูลค่า 24.93 พันล้านดอลล่าสหรัฐ ในปี 2024 และคาดการณ์ว่าในปี 2029 จะมีมูลค่า 52.06 พันล้านดอลล่าสหรัฐ ด้วยอัตราการเติบโตทบต้นอยู่ที่ 15.88%

แนวโน้มของสวนสัตว์ในปี 2025 คาดว่าจะสะท้อนถึงการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี การอนุรักษ์ และความคาดหวังของผู้เข้าชมที่พัฒนาไป สวนสัตว์ยุคใหม่จะเน้นด้านการศึกษา การอนุรักษ์สัตว์ป่า และประสบการณ์เชิงโต้ตอบมากกว่าการจัดแสดงแบบดั้งเดิม ซึ่งมีแนวโน้มสำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2025 ดังนี้:

1. ประสบการณ์ดิจิทัลเสมือนจริง (Immersive Digital Experiences)

2. การมุ่งเน้นที่การอนุรักษ์และสวัสดิภาพสัตว์

3. พื้นที่การเรียนรู้เชิงโต้ตอบ (Interactive Learning Spaces)

4. การปรับปรุงกรงสัตว์ให้เหมือนกับที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ

5. การมุ่งเน้นไปที่สัตว์ใกล้สูญพันธุ์และความหลากหลายทางชีวภาพ

6. สวนสัตว์ที่ไร้สัตว์จริง (Animal-Free Zoos and Sanctuaries)

7. โปรแกรมวิทยาศาสตร์ประชาชน (Citizen Science) และการมีส่วนร่วมของผู้เข้าชมในการวิจัย

8. การจัดการสุขภาพและสวัสดิภาพสัตว์ด้วยข้อมูล

ถึงแม้กระแสความโด่งดังของหมูเด้งจะทำให้หน่วยงาน  Peta (People for the Ethical Treatment of Animals) องค์กรเพื่อสิทธิสัตว์ออกโรงมาให้ความเห็นว่า “สวนสัตว์ในประเทศไทยกำลังแสวงหาผลกำไรจากเธอ (ฮิปโป) โดยจัดแสดงเธอเหมือนเป็นสิ่งดึงดูดความสนใจ ที่อยู่ของฮิปโปคือในป่า คว่ำบาตรสวนสัตว์”

อย่างไรก็ตามเหรียญมี 2 ด้าน สวนสัตว์คงไม่ใช่ผู้ร้ายไปเสียทุกเรื่อง สิ่งสำคัญคือการปรับตัวของสวนสัตว์ที่ให้ความสำคัญกับมนุษยธรรม การอนุรักษ์ และการใช้เทคโนโลยี สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานจริยธรรมและความคาดหวังของผู้เข้าชม สวนสัตว์ที่ปรับตัวสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายการศึกษา ความยั่งยืน และการอนุรักษ์ มีแนวโน้มจะได้รับการสนับสนุนจากสาธารณะมากขึ้น และมีบทบาทสำคัญในความพยายามด้านความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก

ที่มา:

https://www.mordorintelligence.com/industry-reports/asia-pacific-museums-historical-sites-zoos-and-parks

waza.org

aza.org

nationalzoo.si.edu

Fitness is Edible: เมื่อความฟิต เรากินได้

ผู้คนจำนวนมากขึ้นกำลังมองหาวิธีที่สะดวกสบายในการรักษาสุขภาพโดยไม่ต้องเสียเวลาไปกับการออกกำลังกายแบบเดิมๆ สอดคล้องกับกระแสสำคัญในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ

ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคตบารามีซี่ แล็บ ได้ศึกษาหาข้อมูลพบว่า ตลาดการดูแลสุขภาพทั่วโลกซึ่งปัจจุบันมีมูลค่ามากกว่า 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้คนจำนวนมากขึ้นแสวงหาผลิตภัณฑ์ และบริการที่ช่วยให้การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องง่าย และเข้าถึงได้มากขึ้น การจัดการน้ำหนักเป็นพื้นที่สำคัญในภาคส่วนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการคาดการณ์ว่าประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลกอาจมีน้ำหนักเกินภายในปี 2035 ส่งผลให้ยาลดน้ำหนัก และอาหารเสริมได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น

อนาคตเริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อนักวิทยาศาสตร์จาก Aarhus University ในประเทศเดนมาร์ก ได้พัฒนาตัวยาที่จำลองการเผาผลาญเทียบเท่าการวิ่งระยะ 10 กิโลเมตรได้ หรือจะเรียกว่า “ยาออกกำลังกาย” ภายในบรรจุโมเลกุลที่เรียกว่า ‘LaKe’ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างแลคเตต (Lactates) และคีโตน (Ketones) ที่เกิดขึ้นระหว่างการออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูง หรือขณะอดอาหาร ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเผาผลาญไขมัน, ผลิตพลังงาน และการควบคุมความอยากอาหาร คุณสมบัติเหล่านี้ ไม่เหมือนยาเพิ่มการเผาผลาญทั่วไป เช่น คาเฟอีน หรือสารสกัดจากชาเขียวที่จะเพิ่มอัตราการเผาผลาญในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ความแตกต่างอย่างชัดเจนคือ ‘ยาเพิ่มการเผาผลาญ’ ทำงานโดยการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางเพื่อเพิ่มการใช้พลังงาน ในทางตรงกันข้าม ‘ยาออกกำลังกาย’ เลียนแบบกระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นระหว่างการออกกำลังกาย แม้วิทยาการจะโดดเด่นแต่ก็ไม่อาจทดแทนการออกกำลังกายจริงได้ ทั้งประโยชน์ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนเลือด และการหายใจ แต่อาจส่งผลดีกับผู้ที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้เนื่องจากข้อจำกัดทางร่างกาย อาการบาดเจ็บ หรือปัญหาสุขภาพเรื้อรัง

แม้ในปัจจุบัน ‘ยาออกกำลังกาย’ จะอยู่ในขั้นการทดลอง แต่ก็มีแนวโน้มที่ดี เราอาจจะได้เห็นยาตัวนี้ในท้องตลาดในเร็ววัน เทคโนโลยีในยาตัวนี้จะเป็นตัวเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภค มีการตั้งคำถามถึงการเข้ามาแทนที่การออกกำลังทางกายภาพ แต่ก็เป็นไปได้ยากเนื่องจากแนวโน้มการให้ความสำคัญของปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนสู่คนมีมากขึ้น ทำให้กิจกรรม, รูปแบบ หรือสถานที่ในการออกกำลังกายเป็นพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่สำคัญ ‘ยาออกกำลังกาย’ จึงอาจเป็นเพียงส่วนเสริมที่ทำให้ประสิทธิภาพของการดูแลสุขภาพดียิ่งขึ้น

การทำวิจัยมีกี่รูปแบบ? และแต่รูปแบบแตกต่างกันอย่างไร? ใช้เมื่อไร?

การทำวิจัยมี 2 รูปแบบ ได้แก่

1.การวิจัยแบบ Exploration Research 

2.การวิจัยแบบ Evaluation Research 

ความแตกต่างของทั้ง 2 แบบ และใช้เมื่อไร?

1.Exploration Research คือ การวิจัยแบบการค้นหาสิ่งใหม่ๆ ให้ภาคธุรกิจ ใช้เมื่อเวลาธุรกิจต้องการค้นหาโอกาสใหม่ๆ หรือต้องการเรียนรู้ตลาดกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ที่แบรนด์จะต้องการผลักดันให้เติบโต กล่าวคือ เน้นการหา Needs หรือ Unmet Needs ของผู้บรโภค แม้กระทั้งเค้าก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองต้องการ นี่คือหัวใจสำคัญของการจะทำให้ธุรกิจก้าวไปในอนาคต 

ยกตัวอย่างโจทย์เช่น การพัฒนาต้นแบบร้านให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายเพื่อเพิ่มยอดขาย “ทำอย่างไรจึงจะคว้าใจกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมได้” 

ข้อดีของการทำวิจัยประเภทนี้ …

จะได้สิ่งใหม่ๆ ที่แบรนด์จะได้พัฒนาไปสู่ยุคอนาคต และเป็นการดึงให้ผู้บริโภคยังคงจดจำเราได้ตลอดไป 

ควรทำวิจัยประเภทนี้ตอนไหน…

2.Evaluation Research คือ การวิจัยแบบประเมินสิ่งที่แบรนด์ได้ทำไป และต้องการวัดผลว่าการลงเม็ดเงินของเราคุ้มค่า หรือลงถูกจุดหรือไม่ 

ยกตัวอย่างโจทย์เช่น การประเมินความพึงพอใจของร้านบริการต่างๆ / ร้านอาหาร เป็นต้น  หรือ การตรวจสอบสุขภาพแบรนด์ประจำปี เพื่อให้เราได้รู้ว่าทุกการลงงบไปนั้นสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากน้อยแค่ไหน แล้วกลายเป็น Superfans ของแบรนด์ได้หรือไม่ ซึ่งผลจะออกมาเป็นตัวเลข 

ข้อดีของการทำวิจัยประเภทนี้…

ทำให้เรารู้ว่าสิ่งที่ทำไปแล้วมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเป็นอย่างไร 

บางองค์กรนำมาเป็นตัวชี้วัดเพื่อประเมิน KPIs ของคนทำงานที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งจากผลวิจัย BFV Model นั้น ตัวชี้วัดที่สำคัญมากๆ ในยุคแห่งอนาคต คือ การสร้าง  Superfans เพราะทำให้ทุกฝ่ายร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ของตนเองเพื่อเป้าหมายเดียวกัน

ควรทำวิจัยประเภทนี้ตอนไหน…

เมื่อเราได้มีการลงงบไปกับการทำการตลาด หรือการพัฒนาใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ ก็ควรจะมีการประเมินหลังงานจบ หรือประเมินตามรอบที่ต้องการแต่ควรทำทุกปี

การที่ธุรกิจจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การใช้ข้อมูลเป็นในยุคปัจจุบันนี้ คือ สิ่งสำคัญ เจ้าของธุรกิจบางท่านอาจไม่ได้ใช้ข้อมูล แต่หลายๆ ท่านเค้าเป็นนักวิจัย โดยไม่รู้ตัว และคอยพัฒนาตามประสบการณ์ User อย่างต่อเนื่อง

“เพราะธุรกิจต้องใช้ข้อมูลทำงาน”

เทศกาลกินเจปีนี้ตรงกับช่วงวันที่ 3 ต.ค. – 11 ต.ค. 2567 เป็นระยะเวลา 9 วัน ที่คนไทยจำนวนหนึ่งเลือกที่จะ “กินเจ” คืองดบริโภคเนื้อสัตว์ โดยกินเจมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย ทั้งกินเจเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น, กินเจเพื่อทำบุญ และกินเจเพื่อละเว้นกรรม (ที่เกิดจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต) โดยประมาณการ เม็ดเงินค่าใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ช่วงเทศกาลกินเจน่าจะมีมูลค่าหลายพันล้านบาท

อย่างไรก็ตาม นอกจากเทศกาลกินเจที่เกิดขึ้นแล้วจบในช่วงไม่กี่วันในหนึ่งปี เรายังมีไลฟ์สไตล์การงดบริโภคเนื้อสัตว์ที่กินประจำตลอดทั้งปี โดยมีหลากหลายชื่อเรียก ไม่ว่าจะเป็น กินเจ (ที่กินได้หลายแบบ) กินมังสวิรัติ กินแบบวีแกน เหล่านี้มีข้อบังคับการกินที่แตกต่างกันไป ข้อมูลจากชุดข้อมูลวิจัยเทรนด์ Future Food Business Trends 2025 โดยศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซ็ปต์แห่งอนาคต บารามีซี่ แล็บ มีข้อมูลว่า มีคนไทยไม่กินเนื้อสัตว์ 7.8% ของประชากรทั้งหมด

จากข้อมูลตลาดดังกล่าวทำให้มองเห็นโอกาสของธุรกิจโปรตีนทางเลือก (Alternative Protein) คือการกินโปรตีนทางเลือกเข้ามาแทนโปรตีนแบบดั้งเดิมที่ผลิตจากระบบปศุสัตว์ ซึ่งอาจประกอบไปด้วยโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว ธัญพืช เห็ด สาหร่าย รวมไปถึงโปรตีนที่ทำมาจากแมลง และเนื้อสังเคราะห์ (Cultured (lab-grown) Meat) โปรตีนทางเลือกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยงานวิจัยต่างๆ ที่เข้ามาพัฒนารสชาติ เนื้อสัมผัส และสารอาหารที่ได้ ข้อมูลวิจัยจาก Precedence Research ระบุว่าโปรตีนทางเลือกมีขนาดตลาด 15.38 พันล้าน USD ในปี 2023 และเติบโต  8.23% ต่อปี

กลุ่มเป้าหมายของโปรตีนทางเลือกมีเหตุผลในการเลือกกินที่หลากหลาย นอกเหนือจาก เหตุผลของคนกินเจ คือเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น เพื่อทำบุญ และละเว้นกรรม ในระดับโลกยังมีเหตุผลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น

จากข้อมูลวิจัยจากบารามีซี่แล็บ ระบุว่า เกณฑ์ในการเลือกซื้ออาหาร ประกอบไปด้วย รสชาติและความอร่อย 60.1% ความสะอาด ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ 58.8% ราคาและความคุ้มค่า 55.4% และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม 22.4%

“เหตุผล” ในการเลือกกินของคนเราอาจมีหลากหลาย  แต่น่าสนใจว่าเพียงแค่การเลือกกิน หรือไม่กินอะไร ก็สามารถสร้างผลกระทบในวงกว้างได้ ไม่ว่าเราจะเลือกไม่กินเนื้อสัตว์ เพราะ นับถือเจ้าแม่กวนอิม ไม่อยากเบียดเบียนสัตว์ ลดโลกร้อน หรือเพื่อความมั่นคงทางอาหาร

โลกก็ได้เปลี่ยนไปแล้ว.

ผู้เขียน: พลวัฒน์ จูเจริญ

 

ที่มา:

Future Food Business Trends 2025 โดย ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซ็ปต์แห่งอนาคต บารามีซี่แล็บ

https://www.thaipbs.or.th/news/content/344640

https://www.precedenceresearch.com/alternative-protein-market

https://www.nature.com/articles/s41467-024-47091-0

ในช่วงไม่นานมานี้ คอเกมส์น่าจะกำลังเพลิดเพลินอยู่กับเกมส์ Black Myth: Wukong เกม Action RPG ฟอร์มยักษ์ที่ดัดแปลงจากวรรณกรรมคลาสสิคชื่อดังของจีน “ไซอิ๋ว” (Journey to the West)  ล่าสุด ทา Stream DBได้ระบุว่า Black Myth: Wukong กวาดยอดผู้เล่นได้กว่า 1 ล้านคน หลังเปิดให้เล่นภายในระยะเวลาเพียง 30 กว่านาที ถือว่าได้รับความนิยมสูง ตอกย้ำกระแสและความน่าสนใจของเกมนี้ได้เป็นอย่างดี

ตลาดเกมส์ทั่วโลกกำลังเติบโต 2.1% จากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว ตลาดเกมส์จะสร้างรายได้ 187.7 พันล้าน $ ในปี 2024 โดยเกมส์คอมพิวเตอร์มีมูลค่า 43.2 พันล้าน $ มีสัดส่วนที่ 23% เกมส์จากเครื่องเล่นเกมส์ (Console) 51.98 พันล้าน $ ด้วยสัดส่วน 28%  ในขณะที่เกมส์มือถือขนาด 92.6 พันล้าน $  กินส่วนแบ่ง 49%

อีกหนึ่งสัญญาณที่เป็นตัวชี้วัดการเติบโตของอุตสาหกรรมเกม คือ ‘โพนี่ หม่า’ ซีอีโอ ‘เทนเซ็นต์’ คืนบัลลังก์ ‘มหาเศรษฐีอันดับหนึ่ง’ ของจีนอีกครั้ง! ด้วยทรัพย์สินสุทธิสูงถึง 44,000 ล้านดอลลาร์ (มั่งคั่ง 1.4 ล้านล้านบาท) แซงหน้า “จงซานซาน” เจ้าของแบรนด์น้ำแร่ หนงฟู่ (Nongfu Spring) ที่หล่นไปอยู่ดันดับ 2 ซึ่งปัจจัยหนึ่งคือรัฐบาลจีนผ่อนปรนมาตรการควบคุมบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ที่เข้มงวดมาเกือบ 2 ปี จนทำให้บริษัทเทคโนโลยี

นี่ถือเป็นสัญญาณความเปลี่ยนแปลงที่น่าสังเกตว่าอุตสาหกรรมเกมกำลังจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากลองวิเคราะห์สัญญาณนี้ น่าสังเกตว่าปัจจัยสนับสนุนมีอะไรบ้าง วิเคราะห์แล้วได้แก่

  1. เทคโนโลนีที่ล้ำสมัย ไม่ว่าจะเป็นปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยพัฒนาประสบการณ์ในการเล่นเกม และสามารถสร้างประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคลได้ด้วย เทคโนโลยี AR และ BR, การเล่นเกมผ่าน Cloud
  2. มีเครื่องเล่นเกมส์ (Consoles) ที่ปล่อยออกมามากขึ้น ซึ่งผู้พัฒนาเกมเองก็ใช้ศักยภาพที่สอดรับกับเครื่องเล่นเกมส์อย่างเต็มที่
  3. ปริมาณผู้เล่นที่มากขึ้น และกำลังจะเป็นกระแสหลัก ขยายปริมาณไปยังคนรุ่นเก่า และผู้หญิงเองก็เล่นเกมมากขึ้น และด้วยเทรนด์ของเกมส์ผ่านมือถือก็ยิ่งนำให้หลายๆ เกมได้รับความนิยมขึ้นมา เช่น Genshin Impact และ Call of Duty Mobile
  4. E-Sport โตขึ้นเรื่อยๆ ด้วยทัวร์นาเม้น สปอนเซอร์ที่มากขึ้น นักเล่นเกมส์มืออาชีพขยายตัวมากขึ้นนำมาซึ่งการดึงดูดนักลงทุนและผู้เข้าชมรอบโลก
  5. Live Streaming และการสร้างคอนเทนต์ แพลตฟอร์มอย่าง Twitch และ YouTube ช่วยให้เกมส์เข้าถึงได้มากขึ้น ช่วยสร้าง Community ที่แข็งแรงขึ้นที่ ผู้เล่นเกมสามารถให้ Feedback ระหว่าง
  6. NFT และ Blockchain การนำเทคโนโลยีเหล่านี้เปิดโอกาสในการสร้างรายได้
  7. พฤติกรรมการเล่นเกมส์ที่มากขึ้นหลัง Covid-19 ที่ช่วยสร้างนักเล่นเกมส์หน้าใหม่ การทำงานทำงานแบบ Remote Work ช่วยให้นักเล่นเกมไดัมากขึ้น

ลองมาดูที่บ้านเรา อุตสาหกรรมเกมไทย มีมูลค่า 3.8 หมื่นล้านบาท/ปี คนไทยเติมเงินในเกมส์มากติดอันดับต้น ๆ ของโลก และมากที่สุดในตะวันออกเฉียงใต้เมื่อเทียบกับสัดส่วนค่าครองชีพ แต่รายได้กลับไปไม่ถึงนักพัฒนาไทย เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าเกมส่วนใหญ่มาจากต่างชาติทั้งหมด

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านเกม มี 4 แผนได้แก่

  1. พยายามผลักดันให้เกมไทยมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในอุตสาหกรรมฯ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยมีรายได้จากคนไทยที่มากขึ้น
  2. คณะอนุกรรมการฯ จึงติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่จะส่งกระทบต่ออุตสหกรรมเกม
  3. สร้างให้ไทยเป็นศูนย์กลางการจัดการแข่งขันอีสปอร์ตของภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  4. ผลักดันให้เกมสามารถสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ในสาขาอื่นได้ ให้เกมส์เป็นเหมือนยานพาหนะลำใหญ่ที่ขนเอาทรัพยากรทางวัฒนธรรมของบ้านเราไปสู่สายตาชาวโลก เพื่อส่งแรงให้การผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ไปสู่สายตาชาวต่างชาติ

หนึ่งในเงื่อนไขสำคัญสำหรับวงการนี้คือต้องยอมรับว่าเงินทุนเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาเกม ซึ่งการทำเรื่องนี้ต้องใช้งบประมาณ และอาจยังไม่มีคนกล้าลงทุนให้เงินสนับสนุนจำนวนมากขนาดนั้น  เพราะยังไม่เคยมี Success ออกมา อีกเรื่องคือขาดคนมีประสบการณ์ หมายถึงคนที่มีประสบการณ์ในการผลิตเกมขนาดใหญ่ที่เคยขายได้ระดับร้อยล้านถึงพันล้านบาท ซึ่งต้องยอมรับความจริงว่าไทยยังไม่มีคนเหล่านี้มากนัก ทำให้ต้องเริ่มจากศูนย์ ทำให้ต้องใช้เวลานาน หรืออีกทางเลือกหนึ่ง คือ ดึงคนมีประสบการณ์จากต่างประเทศให้มาผลิตเกมในไทย

สุดท้ายนี้เรามุ่งหวังในการดึงศักยภาพด้านเกมส์ของประเทศไทยโดยใช้การสร้างระบบนิเวศที่แข็งแรง ทั้งผู้เล่น ผู้พัฒนา เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นอีกหนึ่งพลังในการพัฒนาเศรษฐกิจของบ้านเรา.

ผู้เขียน: พลวัฒน์ จูเจริญ

ที่มา:

https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=932107112288209&id=100064667864722&rdid=znKiMy6HLOzxzpZq

https://newzoo.com/resources/blog/global-games-market-revenue-estimates-and-forecasts-in-2024#:~:text=As%20mentioned%20prior%2C%20the%20global,roles%20reverse%20from%202025%20onward.

https://policywatch.thaipbs.or.th/article/economy-63

ในปี 2025 อุตสาหกรรมปศุสัตว์จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะในวงการเนื้อหมู ซึ่งเป็นผลมาจากการวิจัยร่วมกันระหว่าง Baramizi Lab และ Zoetis บริษัทเวชภัณฑ์สัตว์ระดับโลก การวิจัยนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้อุตสาหกรรมอาหารเติบโต แต่ยังเปิดโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างแบรนด์สำหรับธุรกิจสินค้าเกษตรและสินค้าแปรรูปจากเนื้อหมูอีกด้วย

1. ผู้บริโภคทานเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ

ผู้บริโภคในปัจจุบันให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น อุตสาหกรรมเนื้อหมูจึงต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น เนื้อหมูที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ และมีสารอาหารอย่างโอเมกา 3 ตัวอย่างเช่น ไส้กรอกโอเมกา 3 จาก Wampler’s farm ที่ช่วยเพิ่มคุณค่าด้วยกรดไขมันโอเมกา 3 ของ DHA และ EPA ซึ่งสนับสนุนการพัฒนาของหัวใจและสมอง หรือแพลตฟอร์ม Hakko Hub ที่สนับสนุนการหมักเนื้อสัตว์ ทำให้เนื้อสัตว์ย่อยง่ายขึ้น และเพิ่มความเข้มข้นของวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบี และธาตุเหล็ก

2. ผู้บริโภคทานเพื่อรับประสบการณ์แปลกใหม่

รสชาติและรูปลักษณ์ที่แปลกใหม่กำลังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค วงการอาหารจึงพัฒนาสินค้าและประสบการณ์ให้ครอบคลุมชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่น การนำเนื้อหมูติดมันหรือเบคอนมาผสมกับเครื่องดื่ม เพื่อเพิ่มสัมผัสความละมุนลิ้น หรือผลิตภัณฑ์แฮมหมู SPAM Figgy Pudding ที่มีรสชาติเหมือนของหวานจากส่วนผสมของลูกจันทน์เทศ อบเชย ออลสไปซ์ ขิง และกานพลู ทำให้มีรสชาติคล้ายขนมพุดดิ้ง

3. ผู้บริโภคทานเพื่อเสพเรื่องราวและอัตลักษณ์

ทุกเมนูอาหารและวัตถุดิบล้วนมีเรื่องเล่า แนวโน้มนี้เกิดจากการพัฒนาของโซเชียลมีเดีย ทำให้เราได้เห็นเมนูหรือวัฒนธรรมทางอาหารจากเนื้อหมูในบริบทที่เราไม่รู้จักมากขึ้น เช่นหมูน้ำค้างกรรมวิธีที่หาดูยากจากชาวยูนนาน ที่กลับมาเป็นกระแสไวรัล หรือ Soft Power ของ K-Food อย่างหมูย่างเกาหลี ที่เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมการจัดจานแบบเนื้อเป็นตัวเอก(Meat-Oriented) ซึ่งไม่ได้นำเสนอแค่มื้ออาหาร เเต่เป็นตัวแทนของภาพจำวัยทำงานตามสื่อบันเทิงต่างๆ

4. ผู้บริโภคทานเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้โลกดีขึ้น

การเลี้ยงดูที่ดีและเทคโนโลยีทางการเกษตรมีส่วนช่วยในการทำให้ฟาร์มเลี้ยงมีประสิทธิภาพดีขึ้น นอกจากส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพ การผลิตที่ดีย่อมส่งผลต่อโลก ผู้ผลิตหลายเจ้าพยายามดำเนินงานโดยการคำนึงถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ในการเลี้ยงหมูต่อตัวมากขึ้น

5. ผู้บริโภคเลือกสินค้าที่สร้างความมั่นใจ ปลอดภัย สะดวก และประสิทธิภาพสูง

ตั้งแต่การเลี้ยงจากฟาร์มส่งตรงถึงจาน จะถูกทำให้โปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การตรวจสอบย้อนกลับระดับ DNA หรือการตอบสนองไลฟ์สไตล์ที่ผู้คนออกไปท่องเที่ยวจนเกิดเป็นเทรนด์ Glamping ซึ่งขาดกิจกรรมอย่างบาร์บีคิวไม่ได้ จึงเกิดเป็นบรรจุภัณฑ์พร้อมย่าง และเป็นกระแสการใช้งานมากขึ้น และอีกกรณีศึกษาที่น่าสนใจคือ DNA Traceback ของ IdentiGEN ช่วยให้สามารถติดตามเนื้อวัว เนื้อหมู สัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์อาหารทะเลกลับไปยังฟาร์มต้นทางได้อย่างแม่นยำ 

6. ผู้บริโภคทานเพื่อให้มีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น

ในอดีตการทานผักผลไม้เป็นตัวเอกของการทำให้ได้รูปร่างที่ดี แต่ในปัจจุบันโปรตีนเป็นตัวเอกใหม่ ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการทานโปรตีนให้ได้ปริมาณที่ต้องการ แต่ยังคงไว้ซึ่งรสชาติของความเป็นอาหาร ซึ่งเนื้อหมูมีความสามารถในการพัฒนาเป็นสินค้าที่ตอบโจทย์นี้ได้อย่างดี

อีกทั้งยังมีคุณประโยชน์ด้านคอลลาเจนธรรมชาติ ที่มีส่วนช่วยในเรื่องผิวพรรณอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น Jelly Pork หมูเยลลี่เป็นอาหารแบบดั้งเดิมที่ปรุงกันทั่วไปในช่วงเดือนที่มีอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลตรุษจีน การมีเจลาตินที่ได้มาจากแหล่งที่อุดมด้วยคอลลาเจน เช่น หนังหมู กระดูก และกระดูกอ่อน สามารถช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อผิวหนังได้

และทั้งหมดนี้เป็นเทรนด์ที่ชวนให้เห็นโอกาสใหม่ๆ ในธุรกิจปศุสัตว์ ชี้ช่องให้มองผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางและดึงเอาความต้องการของเค้าออกมา และเติมเต็มมันด้วยสินค้าและบริการที่เรามี

ในหลายๆ ธุรกิจมักจะนึกถึงยอดขายที่จะทำให้รู้สึกว่าแบรนด์เรายังมีลูกค้าซึ่งก็ส่งผลต่อสุขภาพของแบรนด์ได้เช่นเดียวกัน แต่แท้ที่จริงแล้วแบรนด์คุณอาจจะสุขภาพไม่ดีก็ได้ เหมือนร่างกายคนถ้าไม่ไปตรวจสุขภาพเราก็จะไม่รู้ว่าข้างในร่างกายเป็นอย่างไร ทั้งๆ ที่ภายนอกเรายังรู้สึกปกติอยู่ 

เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเกิดปัญหา และอาจส่งผลให้ปัญหานั้นลามใหญ่โตซึ่งต้องใช้ทั้งเงินและเวลาในการแก้ไข การวิจัยตรวจสอบสุขภาพแบรนด์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์ควรจะทำอย่างต่อเนื่อง เปรียบเหมือนการเอ๊กซเรย์แบรนด์…เพราะหากรู้ก่อนย่อมสามารถแก้ปัญหาได้เร็วกว่า

สุขภาพแบรนด์

จากภาพข้างต้นหากทุกแท่งมีฐานที่กว้าง การันตีได้เลยว่าแบรนด์คุณสุขภาพดี เพราะการลงงบไปกับสื่อหรือการสร้างประสบการณ์นั้นสามารถได้ใจลูกค้าจนเกิดความเป็น Superfans ได้ (ความเป็น Superfans ของแบรนด์ คือ ขั้นสุดที่แบรนด์ควรไปให้ถึงและเก็บให้ได้มากที่สุด หรือที่เราเรียกว่า สาวกของแบรนด์) 

รูปแบบการตรวสอบสุขภาพแบรนด์  โดยทั่วไปสามารถพบได้ 3 รูปแบบ

1.การวิจัยเพื่อตรวจสอบรายปี 

เหมาะสำหรับแบรนด์/ องค์กรที่มีการลงงบการตลาด การทำแคมเปญต่างๆ ในช่วงระหว่างปี เพื่อให้เราสามารถรู้ได้ว่ารูปแบบการตลาดต่างๆ ที่ลงงบไปนั้นกลุ่มลูกค้าเค้ารับรู้แบรนด์เราอย่างไรและสื่อที่ใช้มีประสิทธิภาพแค่ไหน ซึ่งเราสามารถใช้ข้อมูลนี้วางแผนสำหรับปีหน้าได้ 

2.การวิจัยเพื่อตรวจสอบในตลาดภาพรวม 

เหมาะสำหรับแบรนด์/ องค์กรที่ต้องการ ที่ต้องการวัดประสิทธิภาพการสื่อสารแบรนด์ประจำปีกับตลาดในภาพรวม ซึ่งจะทำให้เรารู้ตำแหน่งในใจลูกค้าว่าเราอยู่อันดับที่เท่าไร 

3.การวิจัยเพื่อตรวจสอบความรักของคนในองค์กร

เหมาะสำหรับแบรนด์/ องค์กรที่ให้ความสำคัญกับการสร้างพนักงานและมีหลายระดับของ Career Path ในองค์กร รวมถึงสามารถตรวจสอบวัฒนธรรมองค์กรได้ว่าเป็นอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลให้ทางทีมพัฒนาบุคคลมีเครื่องมือในการวางแผนพัฒนาคนต่อไป

แต่ด้วยผู้บริโภคมีทางเลือกในการเข้าถึง เข้าหาแบรนด์ได้หลากหลายมากขึ้น เพราะด้วยคู่แข่งของธุรกิจที่เราเองก็เลี่ยงไม่ได้ เราจึงต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัยให้สอดรับกับธุรกิจยุคใหม่ และสามารถตรวจสอบสุขภาพแบรนด์ได้อย่งทันท่วงที

ถ้าหากพูดถึงเครื่องมือที่เราใช้กันอย่างคุ้นเคย อาทิ CRM CDP เป็นต้น ที่เราใช้เก็บข้อมูลลูกค้าและร่วมถึงมีการประเมินความพึงพอใจ หากแต่ว่าถ้าคุณต้องการเก็บข้อมูลและอยากรู้ว่าแบรนด์คุณมีคนรักมากแค่ไหน นอกจากนี้ใช้เป็น KPIs ให้กับคนทำงานแผนกต่างๆ ได้ ซึ่งจะทำให้คุณมีข้อมูลที่สามารถให้คะแนนกับคนที่อยู่ทั้งหน้างานและเบื้องหลังได้ และเป็นข้อมูลอย่างเป็นทางการ เครื่องมือที่เป็นตัวเลือกเดียว คือ Superfansindex.com การวิจัยตรวจสอบสุขภาพแบรนด์แห่งอนาคต

Branding Tech

ผลลัพทธ์ที่ได้นั้นจะสามารถเข้าไปดูได้แบบ Realtime ในระบบ Superfansindex.com โดยรูปแบบการแสดงผล (Data Visualize) สามารถ Filter ดูได้ในหลากหลายรูปแบบ 

Superfans

Superfans

Superfans

 

โดยเครื่องมือนี้เหมาะกับ: เจ้าของร้าน/ เจ้าของธุรกิจ/ ผู้จัดการ/ ทีมการตลาด/ HR ที่ต้องการใช้ข้อมูลเชิงทางการในการประเมินการทำงาน รวมถึง KPIs การทำงาน

Superfansindex.com นี้ เป็นตัวชี้วัดให้กับธุรกิจยุคใหม่ที่ต้องใช้ข้อมูลทำงานต่อไป

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ Line OA: @baramizilab หรือ superfansindex.com

Sustainable Fashion หรือ แฟชั่นแบบยั่งยืนที่เคยเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ในอุตสาหกรรมแฟชั่นโดยรวม กำลังได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วเนื่องจากผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและจริยธรรมมากขึ้น ในปี 2024 ตลาดแฟชั่นยั่งยืนระดับโลกมีมูลค่า 8.1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2024 และคาดว่าจะเติบโตถึง 33.1 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2033 ด้วยอัตรา CAGR 22.9% ในช่วงคาดการณ์ปี 2024 – 2033 แม้ว่าจะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ผลกระทบของแฟชั่นยั่งยืนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากแบรนด์และผู้ค้าปลีกรายใหญ่ต่างนำแนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนเข้ามาใช้ในธุรกิจของตน การเพิ่มขึ้นของแบรนด์แฟชั่นยั่งยืน ร่วมกับการนำโครงการริเริ่มสีเขียวมาใช้โดยบริษัทที่จัดตั้งขึ้นแล้ว กำลังผลักดันตลาดให้ก้าวไปข้างหน้า พร้อมแรงหนุนจากความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

อุตสาหกรรมแฟชั่นยั่งยืนมีโอกาสอีกมากมาย เช่น ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคที่ต้องการความโปร่งใสในกระบวนการผลิตและการจัดหาวัตถุดิบ ซึ่งช่วยให้แบรนด์สร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้า นวัตกรรมในวัสดุยั่งยืน เช่น ผ้าฝ้ายออร์แกนิกและผ้าที่รีไซเคิล เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในขณะที่การนำรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ รวมถึงการเช่าเสื้อผ้าและแพลตฟอร์มขายเสื้อผ้ามือสอง ที่สอดรับกับตลาดที่กำลังเติบโตของการบริโภคอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ กฎระเบียบของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นซึ่งมุ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำลังกดดันให้บริษัทต่าง ๆ ต้องนำแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมาใช้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมนี้ยังเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญ รวมถึงการที่ต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการผลิตอย่างยั่งยืน ซึ่งอาจนำไปสู่ต้นทุนที่สูงขึ้นและทำให้การเข้าถึงเป็นไปได้ยากขึ้น การเพิ่มขึ้นของสินค้าแอบอ้างว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยที่ไม่มีการปฏิบัติจริง ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสั่นคลอนยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ ทว่าความนิยมในแฟชั่นยั่งยืนจะยังคงเติบโตขึ้นต่อไปเรื่อยๆ ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่น่าสนใจและพร้อมที่จะก้าวไปกับโลกยุคใหม่

ผู้เขียน

นางสาวจินต์ศุจี มณฑิราลัยพร

ที่มา:

https://www.custommarketinsights.com/report/sustainable-fashion-market/#:~:text=Global%20Sustainable%20Fashion%20Market%20was,the%20forecast%20period%202024%20%E2%80%93%202033