Baramizi Lab logo

TOURISM TREND: THE QUARANTOURISM INNOVATION TREND

TOURISM TREND: THE QUARANTOURISM INNOVATION TREND

เทรนด์นวัตกรรมการท่องเที่ยวที่คุณเที่ยวได้แม้ตัวจะอยู่บ้าน

จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ในหลายประเทศ และหลายเมืองมีมาตรการปิดประเทศปิดเมือง ควบคุมการเดินทางเข้าออก รวมถึงการที่ประชาชนจะออกไปทำกิจกรรมในที่สาธารณะ การรวมตัวกันของคนจำนวนมากคงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะทั้งมีการปิดสถานศึกษา โรงภาพยนตร์ ร้านค้า ยกเลิกคอนเสิร์ตและอีเว้นท์ต่างๆ ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างหนัก ผู้คนต้องปฎิบัติตนที่จะต้องกักตัวอยู่แต่ภายในบ้าน ทำให้สภาพจิตใจของคนที่ต้องถูกจำกัดขอบเขตของพื้นที่ หรือแม้แต่การออกไปข้างนอกยังต้องเว้นระยะ Social distancing ที่ต้องระมัดระวังและความระแวงจนคนเกิดความรู้สึกอัดอั้นโหยหาอิสระที่เกิดจากการท่องเที่ยว ธุรกิจท่องเที่ยวและการบริการต่างๆ จึงต้องหามองหาโอกาสที่คนกำลังอัดอั้นที่ไม่ได้ท่องเที่ยว ไม่ได้พบเจอผู้คน สร้างรูปแบบธุรกิจแบบใหม่ๆ ที่สามารถสร้างรายได้ในช่วงนี้ คิดค้นวิธีการที่สร้างสรรค์ โดยใช้เทคโนโลยีและผนวกรวม 5G และ VR/AR เปิดมุมมองการมองเห็นให้คนที่กักตัวอยู่บ้านได้สัมผัสประสบการณ์รูปแบบใหม่ที่ตัวอยู่บ้านแต่ใจออกไปเที่ยวแล้ว


สำหรับ Trend Fast Track สัปดาห์นี้จะพาทุกท่านเจาะลงไปในวงการธุรกิจการท่องเที่ยวที่สร้างสรรค์รูปแบบธุรกิจการท่องเที่ยวให้สามารถสร้างโอกาสแม้อยู่ในช่วงสถานการณ์โควิค ด้วยแนวโน้มที่มีชื่อว่า The Quarantourism Innovation นวัตกรรมการท่องเที่ยวที่คุณเที่ยวได้แม้ตัวจะอยู่บ้าน ซึ่งจะมี case Study ที่น่าสนใจอะไรบ้างลองไปดูกันครับ

 

1. เที่ยวอีสเตอร์ได้ โดยที่คุณอยู่บ้าน

ในทุกๆปี เมื่องเทศกาลอีสเตอร์มาถึง ชาวอังกฤษจะพร้อมใจกันออกไปเฉลิมฉลองกันเนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีอากาศดีที่สุดในรอบปี แต่เนื่องจากวิกฤตไวรัสโคโรนาทำให้หลายคนต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน FCO จึงได้ออกมาให้คำแนะนำวิธีการเที่ยวรูปแบบใหม่ที่สร้างสรรค์ เช่น ชมการเล่นสกี ชมการเที่ยวเมืองนอร์เวเจียนโดยรถไฟ ชมเรือสำราญหรูหราขนาดใหญ่จากมุมเสมือนจริงผ่าน Youtube ที่ให้ประสบการณ์อันน่าตื่นเต้นได้จากที่บ้าน หรือจะเปิดข่อง Travel Oregon Youtube เพื่อจิบไวน์ นั่งข้างกองไฟท่ามกลางบรรยากาศหิมะไปพร้อมๆกับคนในคลิป นอกจากนี้ยังสามารถชมะครเวทีบรอดเวย์ากโรงภาพยนตร์แห่งชาติผ่านยูทูปโดยจะเปิดให้ชมทุกวันพฤหัสตอน 1 ทุ่มตรง เป็นต้น


Credit: https://www.independent.co.uk/travel/news-and-advice/coronavirus-lockdown-easter-holidays-virtual-travel-tours-livestream-a9455776.html

 

2. ล่องเรือและเที่ยวที่ Venice ผ่าน Virtual Tour

https://www.youtube.com/watch?v=8gt2E8ewUKE

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ทำให้เมืองเวนิสที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของอิตาลีกลายเป็นเมืองที่เงียบสงบอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน คลองที่เคยมีเรือกอนโดลาที่พานักท่องเที่ยวชมเมืองกลายเป็นคลองที่นิ่งเงียบ เนื่องจากการหยุดเดินทางระหว่างประเทศเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีทางเลือกใหม่ๆสำหรับการท่องเที่ยวด้วยวิธีการ Virtual Tour ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่ทำให้นัก่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมเมืองเวนิสผ่านประสบการณ์การเที่ยวในรูปแบบใหม่ เช่น การชมเมืองเวนิสและคลองอันเงียบสงบผ่านกล้องวงจรปิดที่ติดอยู่รอบเมืองผ่าน Youtube เรียนรู้วิธีการทำอาหารแบบเวนิสผ่านคลิปสอนทำอาหารจากคนพื้นเมือง ชมภาพยนตร์จากโรงละครของเมืองผ่านออนไลน์ และยังสามารถสั่งซื้อของที่ระลึกจากเวนิสอย่างลูกปัดแก้วมูราโน่ได้จากที่บ้าน เป็นต้น

 

Credit: https://www.independent.co.uk/travel/48-hours-in/venice-italy-travel-live-stream-virtual-tour-home-a9453191.html

 

3. Airbnb เปลี่ยนประสบการณ์การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ที่คุณสามารถทำกิจกรรมกับ Host ได้แม้คุณจะอยู่บ้าน

การแพร่ระบาดอย่างหนักของ Covid-19 ในหลายพื้นที่ทั่วโลก ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวถูกยกเลิกเกือบจะทั้งหมด เพราะความกลัวโรคระบาด ล่าสุด Airbnb ที่ประกาศให้ผู้จองที่พักก่อนหน้านี้สามารถขอเงินคืนได้ 100% (ถ้าหากจองที่พักก่อน 14 มีนาคม และมีช่วงเวลาเข้าพักตั้งแต่ 14 มีนาคม ถึง 31 พฤษภาคมก็ได้รับผลกระทบอย่างสาหัสเช่นเดียวกับเว็บไซต์จองที่พักออนไลน์อื่น  อย่างไรก็ดี  Airbnb ก็ไม่ยอมแพ้ ล่าสุดได้เริ่มทดลองประสบการณ์ใหม่ในการท่องเที่ยว นั่นก็คือ “เที่ยวออนไลน์” กันแล้ว โดยที่ผ่านมา ลูกค้า Airbnb สามารถจองการทำกิจกรรมในพื้นที่เดียวกับที่พักได้ เช่น จ้างไกด์พาชมเมืองพาไปกินอาหารท้องถิ่นสอนทำอาหารท้องถิ่นกิจกรรมดำน้ำดูปะการัง และอื่น  แต่ในเวลาที่เราไม่สามารถเดินทางไปทำกิจกรรมเหล่านั้นได้ Airbnb ก็นำกิจกรรมท่องเที่ยวต่าง  มานำเสนอใหม่ในรูปแบบออนไลน์ สำหรับตัวอย่างกิจกรรมไฮไลท์ที่ Airbnb ยกขึ้นมาโชว์มีตั้งแต่ นั่งสมาธิกับพระญี่ปุ่น ที่โอซาก้าทำพาสต้าเวอร์ชันคุณยายที่อิตาลีสอนทำขนมอบที่ซานฟรานซิสโกกิจกรรมสอนทำหมั่นโถวที่สิงคโปร์กิจกรรมดูดวงที่นิวยอร์กคลาสสอนทำอาหารที่โมร็อกโก เป็นต้น ซึ่งเมื่อผู้ใช้งานคลิกเข้าไปยังกิจกรรมที่ตนเองสนใจแล้วจะพบว่ามีราคาค่าเข้าร่วมปรากฏอยู่ เช่น นั่งสมาธิกับพระญี่ปุ่นราคา 311 บาท หรือทำหมั่นโถวราคา 800 บาท เป็นต้น การนำเสนอประสบการณ์ท่องเที่ยวแบบใหม่นี้ ถูกเสนอโดยบรรดา host ที่จัดกิจกรรมปกติอยู่แล้ว แต่เนื่องจากไม่มีการท่องเที่ยว จึงทำให้ host ทั้งหลายติดต่อ Airbnb มาเพื่อให้จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวทางออนไลน์แทน และ Airbnb เห็นด้วยซะงั้น จนนำไปสู่ธุรกิจรูปแบบใหม่ในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้

 

Credit: https://news.airbnb.com/th/airbnb-launch-online-experience/

 

4. Audi ใน Australia เปิดตัวภาพยนตร์ยาวถึงสี่ชั่วโมงที่พาคุณไปขับรถเที่ยวบนSocial Network

Audi สร้างภาพยนต์ยาว 4 ชั่วโมงชื่อว่า “The Drive” และเปิดตัวภาพยนตร์โปรโมทรถ Audi A6 Sedan ยาวถึงสี่ชั่วโมช่องทางออนไลน์เพื่อให้ผู้คนที่ถูก lockdown จากไวรัสโควิดได้รับรู้ถึงการเดินทางอีกครั้ง โดยภาพยนต์เรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นด้วยมุมกล้องหลายมุม ทำให้รู้สึกถึงบรรยากาศการของการขับท่องเที่ยวรถจริงๆ “The Drive” เป็นแนวคิดที่จะช่วยให้ผู้ชมภาพยนต์ได้สัมผัสความสุขจากการเดินทางบนถนน และหวังว่าจะช่วยให้คนออสเตรเลียได้รับความสุขและสงบทางจิตใจในช่วงเวลาที่เกิดสถานการณ์ Covid ในครั้งนี้


Credit: https://www.thedrum.com/creative-works/project/we-are-social-audi-the-drive

 

5. Coronavirus: Virtual pub ใน Australia กำลังเปิดรับพนักงานบาร์เพื่อต้อนรับสมาชิกผ่าน Social Network

อดีตเจ้าของที่ได้จัดตั้งผับออนไลน์ขึ้นทาง facebook โดยการทำงานคือ Jo Bowtell จะเปิดโหมด Live และไมค์ไว้ทั้งคืนโดยมีสมาชิกโพสต์ภาพและเครื่องดื่มของตนเอง และมันได้รับความนิยมอย่างมากเพราะมีคนหลากหลายอายุมาเข้าร่วมด้วย ทั้งวัยรุ่นรวมไปถึงคนแก่ และในทุกๆคืนก็จะมีการแสดงต่าง  ไม่ว่าจะเป็นดนตรีและตลก มันเหมือนกับการไปผับแต่แค่ใช้ชีวิตอยู่ที่ห้องนั่งเล่น และตอนนี้ผับออนไลน์และกำลังรับสมัครคนดูแลเพราะมีคนเข้าใช่บริการมากถึง 12,000 คน

 

Credit: https://www.bbc.com/news/uk-england-derbyshire-52061947


จาก Case Study  ที่กล่าวมาทั้งหมดเราจะพบว่าหลายๆสถานที่ได้หันมาใช้นวัตกรรมทางด้าน Virtual และ Social Network สร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวรูปแบบเสมือนจริงและเก็บรายได้จากการเข้าชมในรูปแบบ ทั้ง Donate  และเสียค่าเข้าชมในราคาที่คนทั่วไปสามารถที่จะจ่ายได้ ซึ่งวิธีการนี้น่าสนใจตรงที่หลังจากสถานการณ์โควิดผ่านพ้นไปแล้ว คนที่เที่ยวแบบ Virtual และ Social Network อาจจะอย่างสัมผัสประสบการณ์แบบ Reality มากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เราอยากให้สถานการณ์นี้สิ้นสุดในเร็ววันนี้จะได้ออกไปเที่ยวกันจริงๆ ซะที


🔥 Trend Fast Track เทรนด์สดใหม่เสิร์ฟร้อน 🔥 โดย Baramizi Lab ศูนย์วิจัยคอนเซปต์แห่งอนาคตและการออกแบบ เราได้ทำการ Spot กรณีศึกษา (Case Study) จากข่าวสารแหล่งต่างๆ และศึกษาเทรนด์การออกแบบประสบการณ์เด็ดๆ อะไรที่แบรนด์พร้อมใจกันสร้าง และ Launchออกมาทั่วโลกในแต่ละสัปดาห์

____________________________________________________________________________

FutureLabResearch ResearchForBusiness FutureTrendResearch

TrendFastTrack2020

WisdomDrivetheFuture

RECOMMEND

อินโฟกราฟิกแสดงการใช้ Big Data และ Thick Data ของ Netflix เพื่อเข้าใจพฤติกรรมการดูซีรีส์แบบรวดเดียวจบ
read more
19.06.2025 4

ความลับพฤติกรรม ‘ดูซีรีย์รวดเดียวจบ’ ที่ Netflix ไขได้จากการทำวิจัยกับคนดู

Big Data ผสาน Thick Data ปลดล็อกนวัตกรรมด้วยข้อมูลสองมิติ ครั้งหนึ่ง Netflix กำลังทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุดของโลกสตรีมมิ่ง ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังของ Big Data อันมหาศาล อัลกอริทึมอัจฉริยะสามารถแนะนำซีรีส์ และภาพยนตร์ที่ตรงใจผู้ชมได้อย่างน่าทึ่ง วิเคราะห์ทุกการคลิก ทุกการหยุดพัก และทุกยอดวิว พวกเขารู้ว่าผู้คนดูอะไร และ เมื่อไหร่ แต่ท่ามกลางข้อมูลเหล่านั้น มีพฤติกรรมหนึ่งผุดขึ้นมาอย่างโดดเด่นแต่ยังคงเป็นปริศนานั้นคือ “Binge-Watching” หรือการดูซีรีส์รวดเดียวจบแบบมาราธอน เเต่เพียงเเค่ข้อมูลที่บอก ‘อะไร’ อย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จขนาดนั้น จึงเป็นที่มาของ Thick Data มันคือข้อมูลเชิงคุณภาพที่ให้ความเข้าใจถึงแรงจูงใจ ความเชื่อ และประสบการณ์ส่วนบุคคล ในกรณีของ Netflix อะไรคือแรงขับเคลื่อนเบื้องหลังการที่ผู้คนเลือกที่จะใช้เวลาสุดสัปดาห์ไปกับการดูซีรีส์อย่างไม่หยุดหย่อน? อะไรคือสิ่งที่กระตุ้นอารมณ์และแรงจูงใจเบื้องลึก? Netflix ได้เชิญทีมวิจัยเข้าไปทำ Ethnographic Research โดยเข้าไปในบ้านของผู้ชมจริง เพื่อสังเกตการณ์พฤติกรรมการดูซีรีส์ในบริบทธรรมชาติ พวกเขาเฝ้าดูคู […]

What is a Unmet Need
read more
09.06.2025 185

What is a Unmet Need? (ความต้องการที่ซ่อนอยู่คืออะไร)

What is a Unmet Need? (ความต้องการที่ซ่อนอยู่คืออะไร) นวัตกรรมที่เปลี่ยนโลกมักไม่ได้เริ่มจากเทคโนโลยีล้ำยุคเสมอไป แต่มักเริ่มจากคำถามง่ายๆ ว่า “ความต้องการลึกๆ ของลูกค้าคืออะไร” ความต้องการลึกๆ หรือที่เรียกว่า Unmet Need ในเชิงทฤษฎีการออกแบบ และนวัตกรรมความต้องการของผู้ใช้งานสามารถแบ่งออกเป็นหลายระดับตั้งแต่ความต้องการพื้นฐานที่ผู้ใช้อธิบายได้อย่างชัดเจน ไปจนถึงความต้องการที่ยังไม่สามารถระบุ หรือรับรู้ได้ด้วยตนเองซึ่งเรียกว่า Hidden Needs หรือ Unmet Needs ความต้องการเหล่านี้มักอยู่ในระดับที่ลึกกว่าการแสดงออกทั่วไป เป็นสิ่งที่ฝังอยู่ในพฤติกรรม ความรู้สึก หรือสภาพแวดล้อมที่ผู้ใช้อาศัยอยู่ แนวคิดนี้เชื่อมโยงกับการออกแบบที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centered Design) และแนวทาง Outcome-Driven Innovation ของ Ulwick (2005) ซึ่งชี้ว่า ความเข้าใจใน “งานที่ผู้ใช้อยากให้เสร็จ (Jobs to Be Done)” นั้นต้องลึกซึ้งกว่าคำพูดหรือแบบสอบถามทั่วไป เพราะผู้ใช้จำนวนมากไม่สามารถบอกความต้องการที่แท้จริงของตนออกมาได้อย่างตรงไปตรงมา (Latent or Unarticulated Needs) ตัวอย่างของ Hidden Needs ได้แก่ ความรู้สึกไม่ […]

read more
06.06.2025 196

ทุกคนเคยสงสัยกันไหมคะว่า “สร้างแบรนด์ได้ดี” วัดจากอะไร?

ทุกคนเคยสงสัยกันไหมคะว่า “สร้างแบรนด์ได้ดี” วัดจากอะไร? ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา Baramizi Group (ซึ่งประกอบด้วยนักสร้างแบรนด์ และนักวิจัยและพัฒนาแบรนด์) ได้ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล อัสสะรัตน์ ในการค้นหาคำตอบของคำถามนี้ บนความเชื่อที่ว่า “การสร้างแบรนด์ต้องวัดผลได้” ซึ่งความ ambitious ของเราคือ ไม่ใช่แค่วัดผลเป็น Index หรือเปอร์เซ็นต์ ที่เป็นเพียงตัวเลขอ้างอิงเท่านั้น แต่ต้อง วัดได้เป็น “มูลค่า” ที่จับต้องได้ในเชิงตัวเงินเพราะเมื่อใดก็ตามที่แบรนด์สามารถแปลงค่าเป็นตัวเงินได้ ก็จะทำให้ความเชื่อที่ว่า “แบรนด์คือสินทรัพย์ทางธุรกิจ” พิสูจน์ได้และแพร่หลายได้จริง ระหว่างการศึกษาวิจัย ก่อนที่จะไปถึงตัวเงินเหล่านั้น คำถามสำคัญที่ต้องตอบให้ได้ ทั้งในเชิงวิชาการและคนทำงานจริง คือ:“เราจะบอกได้อย่างไรว่าแบรนด์นี้สร้างได้ดี และให้ผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จ” คำตอบที่เรียบง่าย หลังจากการค้นคว้าทฤษฎีและงานวิจัยจำนวนมาก มีอยู่ 3 ประการด้วยกันค่ะ: 1. แบรนด์ที่ดีจะช่วยขายของได้มากขึ้น แบรนด์ที่มียอดขายสูงในปัจจุบัน เป็นข้อบ่งชี้เบื้องต้นว่าแบรนด์นั้นมีความแข็งแรง โดยเฉพาะในกรณีที่แบรนด์ขายตรงถึงผู้บร […]

read more
19.05.2025 169

Rising Global South : ชายขอบวิวัฒน์ในประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศกำลังพัฒนา (Global South) กำลังนิยามการเติบโตทางเศรษฐกิจ, ความเป็นอยู่ที่ดี และการต่อสู้กับสภาพภูมิอากาศในแบบของตนเอง ประเทศเหล่านี้กำลังแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงด้วยความสามารถในการปรับตัวสูง, การนำเทคโนโลยีมาใช้ และพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจในประเทศของตนเอง คำว่า “Global South” คือกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา มีลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่คล้ายคลึงกัน โดยมักมีรายได้ต่ำและความเหลื่อมล้ำสูง การชี้วัดด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เพียงอย่างเดียวไม่ได้สะท้อนถึงความเป็นอยู่ที่ดีเสมอไป ประเทศเหล่านี้กำลังสร้างโอกาสอันเป็นเอกลักษณ์สำหรับการเติบโตผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรม, หลีกเลี่ยงกระบวนการที่ล้าสมัย และสร้างวิธีการใหม่ในการก้าวหน้าเช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), และเทคโนโลยีดิจิทัล ประเทศกำลังพัฒนาจึงอยู่ในตำแหน่งที่แข็งแกร่งที่จะนำทางในการสร้างศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีและส่งเสริมผู้ประกอบการในเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น บล็อกเชนและแพลตฟอร์มดิจิทัล ช่วยให้สามารถสร้างระบบที่ครอบคลุมได้ เช่น โครงการพลังงานหมุนเวียนหรือโครงสร้างพื้นฐานที่ผลิตโดยชุมชนได้ […]

SuperfansIndex
read more
09.04.2025 205

ลูกค้าหายไปไหน? เข้าใจ Insight เพื่อรักษาฐานลูกค้าให้อยู่กับแบรนด์ได้นานขึ้น

คุณเคยเจอลูกค้าประเภทที่ซื้อครั้งเดียวแล้ว “หายเงียบ” ไปเลยไหม? หลายครั้งที่ลูกค้าไม่พึงพอใจ แต่ไม่เคยบอกตรง ๆ พวกเขาอาจเลือกที่จะไม่กลับมาใช้บริการอีก และเปลี่ยนไปหาแบรนด์อื่นแทน โดยที่คุณไม่มีโอกาสได้รับฟังความคิดเห็น หรือรู้ว่าควรปรับปรุงตรงไหน การเข้าใจเสียงของลูกค้าอย่างแท้จริงจึงเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างแบรนด์ที่แข็งแรงและยั่งยืน ทำไมการรักษาลูกค้าเก่าถึงสำคัญกว่าการหาลูกค้าใหม่? งานวิจัยจาก Harvard Business Review เผยว่า: ต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่ สูงกว่าการรักษาลูกค้าเดิมถึง 5 เท่า ลูกค้าเก่า มีแนวโน้มกลับมาใช้บริการซ้ำ มากกว่าลูกค้าใหม่ถึง 3 เท่า กว่า 50% ของลูกค้าเก่า พร้อมที่จะแนะนำแบรนด์ให้กับคนรอบข้าง ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า “ลูกค้าเก่า” ไม่ได้มีคุณค่าเพียงแค่ยอดขายในปัจจุบัน แต่ยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตในระยะยาว ทำไมแค่ Engagement ถึงไม่เพียงพอ? หลายธุรกิจเชื่อว่าแค่การสร้าง Engagement กับลูกค้า เช่น การมีคอนเทนต์ดีๆ การตอบแชทเร็ว หรือการมีโปรโมชั่น ก็น่าจะเพียงพอแล้วในการสร้างความสัมพันธ์ แต่ในความเป็นจริง Engagement ไม่ได้สะท้อนระดับความพึงพอใจของลูกค้าเส […]

Subscription

เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เทรนด์และวิจัยต่อเนื่อง