Baramizi Lab logo

เจาะ Insight Gen Alpha

เจาะ Insight Gen Alpha

Generation Alpha คือกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 2010 ถึง 2025 โดยพวกเขาเป็นรุ่นแรกที่เกิดในศตวรรษที่ 21 และเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายทั้งทางเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และฐานะทางการเงิน พวกเขาถูกเรียกว่า “มินิมิลเลนเนียล” และด้วยอัตราการเกิดที่มากกว่า 2.5 ล้านคนต่อสัปดาห์ ทำให้กลุ่มนี้เติบโตแซงหน้า Gen Z อย่างรวดเร็วในฐานะเจเนอเรชั่นที่ใหญ่ที่สุดและมีความหลากหลายที่สุดในโลก โดยคาดว่าภายในปี 2025 จะมีกลุ่มเจนอัลฟ่าทั่วโลกถึง 2 พันล้านคน แม้ว่าปัจจุบันพวกเขาเหล่านี้จะยังเป็นเด็กก็ตาม

เจนอัลฟ่าได้รับอิทธิพลอย่างมากจากเทคโนโลยีและผู้สร้างเนื้อหากลุ่ม Gen Z ที่มีอิทธิพลต่อสื่อของพวกเขา นอกจากนี้ เหตุการณ์ต่าง ๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้มีผลกระทบอย่างมากต่อบุคลิกและค่านิยมของพวกเขา ทำให้พวกเขาได้รับการขนานนามว่าเป็น “Gen C” หรือ “Generation COVID” เนื่องจากชีวิตของพวกเขาได้รับผลกระทบจากโรคระบาดใหญ่ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และจิตวิทยา เหตุการณ์เหล่านี้จะทิ้งร่องรอยยาวนานไว้กับเจเนอเรชั่นนี้ ทำให้พวกเขามีความสำคัญต่อครอบครัวมากขึ้น และมองว่าการทำงานจากที่บ้านเป็นเรื่องปกติ 

เมื่อพูดถึงพฤติกรรมการบริโภคของเจเนอเรชั่นอัลฟ่า พวกเขามีแนวโน้มจะให้ความสำคัญกับการซื้อสินค้าจากบริษัทที่มีความเป็นดิจิทัลสูง เนื่องจากพวกเขาใช้เวลาหน้าจอมากกว่ารุ่นก่อน ๆ และมีความเชี่ยวชาญในการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว ประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งการระบาดของโรคและมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมในช่วงที่ผ่านมาได้เร่งให้เจนอัลฟ่าพึ่งพาแพลตฟอร์มดิจิทัลในการสื่อสารกับผู้คนมากขึ้น ซึ่งต่อไปนี้คือสิ่งที่จะอธิบาย ลักษณะสำคัญของคนเจนนี้ได้เป็นอย่างดี

  • มีการศึกษาที่สูงขึ้น: คาดว่าจะเป็นคนรุ่นที่มีการศึกษาสูงที่สุดเนื่องจากเข้าถึงเทคโนโลยีและข้อมูลได้ง่ายทำให้เรียนรู้เกี่ยวกับโลกได้ลึกซึ้งมากกว่าคนรุ่นก่อน 
  • การบูรณาการเทคโนโลยี: บูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น โดยที่ AI เป็นส่วนสำคัญของความเป็นจริง มีทักษะด้านเทคโนโลยีที่เหนือกว่าพ่อแม่และไม่เคยได้สัมผัสโลกที่ไม่มีเทคโนโลยี
  • การเรียนรู้ส่วนบุคคล: คุ้นเคยกับการเข้าถึงข้อมูลในทันที ดังนั้นการบรรยายและรูปแบบการเรียนรู้แบบเก่าๆ นั้นจะเริ่มล้าสมัยสำหรับพวกเขา และชอบประสบการณ์การเรียนรู้ส่วนบุคคลและการศึกษาออนไลน์
  • การโต้ตอบทางโซเชียลมีเดีย: ใช้โซเชียลมีเดียเป็นรูปแบบหลักในการโต้ตอบกับผู้อื่นแต่ก็เป็นดาบสองคมสำหรับสิ่งนี้ คือ ความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว การกลั่นแกล้งทางออนไลน์และการได้รับการยอมรับทางสังคม
  • การให้ความสำคัญกับการเป็นเจ้าของ: ไม่สนับสนุนเศรษฐกิจแบบแบ่งปันซึ่งแตกต่างจากเจนก่อนหน้าค่อนข้างมาก คนเจนนี้ชอบที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินมากกว่าเช่าเอา
  • เคร่งศาสนาน้อยลง: ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะท้าทายกฎเกณฑ์ต่างๆ ทางสังคมมากกว่าคนรุ่นก่อนๆ จึงทำให้มีความเชื่อทางศาสนาน้อยลง และท้าทายบรรทัดฐานทางสังคมมากขึ้น
  • เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา: ความรู้สึกนึกคิดของพวกเขาเปลี่ยนแปลงอยู่เกือบตลอดเวลา พวกเขามีแนวโน้มที่จะเป็นปัจเจกชนมากกว่าคนรุ่นก่อนหน้า ทำให้ไม่สามารถคาดเดาได้
  • พลวัตของสถานที่ทำงาน: จะเป็นกลุ่มแรงงานที่ใหญ่ที่สุด สนับสนุนเทคโนโลยีมากกว่าการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ แนวทางการทำงานและการแก้ปัญหาของพวกเขาจะแตกต่างจากคนรุ่นอื่นๆ  ด้วยการเติบโตมาพร้อมกับแหล่งความคิดที่หลากหลายและเปิดกว้างกว่า 

นอกจากความแตกต่างที่เห็นได้ชัดจากลักษณะของคนเจเนเรชั่นอัลฟ่าแล้วนั้น คำพูดหรือแสลงของคนเจนนี้ก็แตกต่างกับคนรุ่นก่อนๆ และกำลังเป็นเทรนด์หนึ่งที่ถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ คือศัพท์ฮิตติดปากของเจนอัลฟ่า (Gen Alpha, Generation Alpha) ยกตัวอย่าง เช่น

  • Skibidi หมายถึง สถานการณ์ที่ไม่ค่อยดี สิ่งชั่วร้าย หรืออะไรที่มีความหมายเชิงลบ
  • Rizz หมายถึง ความสามารถพิเศษ โดยเฉพาะในด้านความมีเสน่ห์ ความเจ๋ง หรืออะไรก็ตามที่บ่งบอกถึงสไตล์ การดึงดูดให้คนหลงใหล หรือความฮอต
  • Ohio หมายถึง นำมาใช้กับเรื่องที่แปลก ไม่ว่าจะเป็นความแปลกประหลาด หรือความน่ากลัว
  • Sigma หมายถึง คนที่โดดเด่น เป็นผู้นำ และมีลักษณะที่ดูสันโดษเบาๆ มีความหมาป่าเดียวดาย มีความเท่และป๊อปปูลาร์

สิ่งเหล่านี้ได้บ่งบอกเกี่ยวกับพฤติกรรมและลักษณะของเจเนเรชั่นอัลฟ่าที่แตกต่างไปจากคนรุ่นก่อนๆ เพราะบทบาทจากเทคโนโลยีที่เข้ามามีอิทธิพลในชีวิตประจำวันตั้งแต่ยังเด็กทำให้มุมมองที่มีต่อโลกกว้างขวางเป็นอย่างมาก ร่วมถึงการที่ต้องเติบโตในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ทำให้คนในรุ่นนี้ที่แนวโน้มที่ชอบปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นผ่านเทคโนโลยีมากกว่า และในอนาคตอันใกล้นี้เจเนเรชั่นนี้จะกลายเป็นกลุ่มคนที่เยอะที่สุดและมีอิทธิพลต่อทุกภาคส่วนอย่างแน่นอน

ผู้เขียน

นางสาวจินต์ศุจี มณฑิราลัยพร

 

ที่มา

https://talkatalka.com/blog/gen-alpha-insight/ 

https://plus.thairath.co.th/topic/everydaylife/104587

RECOMMEND

อินโฟกราฟิกแสดงการใช้ Big Data และ Thick Data ของ Netflix เพื่อเข้าใจพฤติกรรมการดูซีรีส์แบบรวดเดียวจบ
read more
19.06.2025 4

ความลับพฤติกรรม ‘ดูซีรีย์รวดเดียวจบ’ ที่ Netflix ไขได้จากการทำวิจัยกับคนดู

Big Data ผสาน Thick Data ปลดล็อกนวัตกรรมด้วยข้อมูลสองมิติ ครั้งหนึ่ง Netflix กำลังทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุดของโลกสตรีมมิ่ง ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังของ Big Data อันมหาศาล อัลกอริทึมอัจฉริยะสามารถแนะนำซีรีส์ และภาพยนตร์ที่ตรงใจผู้ชมได้อย่างน่าทึ่ง วิเคราะห์ทุกการคลิก ทุกการหยุดพัก และทุกยอดวิว พวกเขารู้ว่าผู้คนดูอะไร และ เมื่อไหร่ แต่ท่ามกลางข้อมูลเหล่านั้น มีพฤติกรรมหนึ่งผุดขึ้นมาอย่างโดดเด่นแต่ยังคงเป็นปริศนานั้นคือ “Binge-Watching” หรือการดูซีรีส์รวดเดียวจบแบบมาราธอน เเต่เพียงเเค่ข้อมูลที่บอก ‘อะไร’ อย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จขนาดนั้น จึงเป็นที่มาของ Thick Data มันคือข้อมูลเชิงคุณภาพที่ให้ความเข้าใจถึงแรงจูงใจ ความเชื่อ และประสบการณ์ส่วนบุคคล ในกรณีของ Netflix อะไรคือแรงขับเคลื่อนเบื้องหลังการที่ผู้คนเลือกที่จะใช้เวลาสุดสัปดาห์ไปกับการดูซีรีส์อย่างไม่หยุดหย่อน? อะไรคือสิ่งที่กระตุ้นอารมณ์และแรงจูงใจเบื้องลึก? Netflix ได้เชิญทีมวิจัยเข้าไปทำ Ethnographic Research โดยเข้าไปในบ้านของผู้ชมจริง เพื่อสังเกตการณ์พฤติกรรมการดูซีรีส์ในบริบทธรรมชาติ พวกเขาเฝ้าดูคู […]

What is a Unmet Need
read more
09.06.2025 185

What is a Unmet Need? (ความต้องการที่ซ่อนอยู่คืออะไร)

What is a Unmet Need? (ความต้องการที่ซ่อนอยู่คืออะไร) นวัตกรรมที่เปลี่ยนโลกมักไม่ได้เริ่มจากเทคโนโลยีล้ำยุคเสมอไป แต่มักเริ่มจากคำถามง่ายๆ ว่า “ความต้องการลึกๆ ของลูกค้าคืออะไร” ความต้องการลึกๆ หรือที่เรียกว่า Unmet Need ในเชิงทฤษฎีการออกแบบ และนวัตกรรมความต้องการของผู้ใช้งานสามารถแบ่งออกเป็นหลายระดับตั้งแต่ความต้องการพื้นฐานที่ผู้ใช้อธิบายได้อย่างชัดเจน ไปจนถึงความต้องการที่ยังไม่สามารถระบุ หรือรับรู้ได้ด้วยตนเองซึ่งเรียกว่า Hidden Needs หรือ Unmet Needs ความต้องการเหล่านี้มักอยู่ในระดับที่ลึกกว่าการแสดงออกทั่วไป เป็นสิ่งที่ฝังอยู่ในพฤติกรรม ความรู้สึก หรือสภาพแวดล้อมที่ผู้ใช้อาศัยอยู่ แนวคิดนี้เชื่อมโยงกับการออกแบบที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centered Design) และแนวทาง Outcome-Driven Innovation ของ Ulwick (2005) ซึ่งชี้ว่า ความเข้าใจใน “งานที่ผู้ใช้อยากให้เสร็จ (Jobs to Be Done)” นั้นต้องลึกซึ้งกว่าคำพูดหรือแบบสอบถามทั่วไป เพราะผู้ใช้จำนวนมากไม่สามารถบอกความต้องการที่แท้จริงของตนออกมาได้อย่างตรงไปตรงมา (Latent or Unarticulated Needs) ตัวอย่างของ Hidden Needs ได้แก่ ความรู้สึกไม่ […]

read more
06.06.2025 196

ทุกคนเคยสงสัยกันไหมคะว่า “สร้างแบรนด์ได้ดี” วัดจากอะไร?

ทุกคนเคยสงสัยกันไหมคะว่า “สร้างแบรนด์ได้ดี” วัดจากอะไร? ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา Baramizi Group (ซึ่งประกอบด้วยนักสร้างแบรนด์ และนักวิจัยและพัฒนาแบรนด์) ได้ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล อัสสะรัตน์ ในการค้นหาคำตอบของคำถามนี้ บนความเชื่อที่ว่า “การสร้างแบรนด์ต้องวัดผลได้” ซึ่งความ ambitious ของเราคือ ไม่ใช่แค่วัดผลเป็น Index หรือเปอร์เซ็นต์ ที่เป็นเพียงตัวเลขอ้างอิงเท่านั้น แต่ต้อง วัดได้เป็น “มูลค่า” ที่จับต้องได้ในเชิงตัวเงินเพราะเมื่อใดก็ตามที่แบรนด์สามารถแปลงค่าเป็นตัวเงินได้ ก็จะทำให้ความเชื่อที่ว่า “แบรนด์คือสินทรัพย์ทางธุรกิจ” พิสูจน์ได้และแพร่หลายได้จริง ระหว่างการศึกษาวิจัย ก่อนที่จะไปถึงตัวเงินเหล่านั้น คำถามสำคัญที่ต้องตอบให้ได้ ทั้งในเชิงวิชาการและคนทำงานจริง คือ:“เราจะบอกได้อย่างไรว่าแบรนด์นี้สร้างได้ดี และให้ผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จ” คำตอบที่เรียบง่าย หลังจากการค้นคว้าทฤษฎีและงานวิจัยจำนวนมาก มีอยู่ 3 ประการด้วยกันค่ะ: 1. แบรนด์ที่ดีจะช่วยขายของได้มากขึ้น แบรนด์ที่มียอดขายสูงในปัจจุบัน เป็นข้อบ่งชี้เบื้องต้นว่าแบรนด์นั้นมีความแข็งแรง โดยเฉพาะในกรณีที่แบรนด์ขายตรงถึงผู้บร […]

read more
19.05.2025 169

Rising Global South : ชายขอบวิวัฒน์ในประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศกำลังพัฒนา (Global South) กำลังนิยามการเติบโตทางเศรษฐกิจ, ความเป็นอยู่ที่ดี และการต่อสู้กับสภาพภูมิอากาศในแบบของตนเอง ประเทศเหล่านี้กำลังแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงด้วยความสามารถในการปรับตัวสูง, การนำเทคโนโลยีมาใช้ และพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจในประเทศของตนเอง คำว่า “Global South” คือกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา มีลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่คล้ายคลึงกัน โดยมักมีรายได้ต่ำและความเหลื่อมล้ำสูง การชี้วัดด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เพียงอย่างเดียวไม่ได้สะท้อนถึงความเป็นอยู่ที่ดีเสมอไป ประเทศเหล่านี้กำลังสร้างโอกาสอันเป็นเอกลักษณ์สำหรับการเติบโตผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรม, หลีกเลี่ยงกระบวนการที่ล้าสมัย และสร้างวิธีการใหม่ในการก้าวหน้าเช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), และเทคโนโลยีดิจิทัล ประเทศกำลังพัฒนาจึงอยู่ในตำแหน่งที่แข็งแกร่งที่จะนำทางในการสร้างศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีและส่งเสริมผู้ประกอบการในเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น บล็อกเชนและแพลตฟอร์มดิจิทัล ช่วยให้สามารถสร้างระบบที่ครอบคลุมได้ เช่น โครงการพลังงานหมุนเวียนหรือโครงสร้างพื้นฐานที่ผลิตโดยชุมชนได้ […]

SuperfansIndex
read more
09.04.2025 205

ลูกค้าหายไปไหน? เข้าใจ Insight เพื่อรักษาฐานลูกค้าให้อยู่กับแบรนด์ได้นานขึ้น

คุณเคยเจอลูกค้าประเภทที่ซื้อครั้งเดียวแล้ว “หายเงียบ” ไปเลยไหม? หลายครั้งที่ลูกค้าไม่พึงพอใจ แต่ไม่เคยบอกตรง ๆ พวกเขาอาจเลือกที่จะไม่กลับมาใช้บริการอีก และเปลี่ยนไปหาแบรนด์อื่นแทน โดยที่คุณไม่มีโอกาสได้รับฟังความคิดเห็น หรือรู้ว่าควรปรับปรุงตรงไหน การเข้าใจเสียงของลูกค้าอย่างแท้จริงจึงเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างแบรนด์ที่แข็งแรงและยั่งยืน ทำไมการรักษาลูกค้าเก่าถึงสำคัญกว่าการหาลูกค้าใหม่? งานวิจัยจาก Harvard Business Review เผยว่า: ต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่ สูงกว่าการรักษาลูกค้าเดิมถึง 5 เท่า ลูกค้าเก่า มีแนวโน้มกลับมาใช้บริการซ้ำ มากกว่าลูกค้าใหม่ถึง 3 เท่า กว่า 50% ของลูกค้าเก่า พร้อมที่จะแนะนำแบรนด์ให้กับคนรอบข้าง ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า “ลูกค้าเก่า” ไม่ได้มีคุณค่าเพียงแค่ยอดขายในปัจจุบัน แต่ยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตในระยะยาว ทำไมแค่ Engagement ถึงไม่เพียงพอ? หลายธุรกิจเชื่อว่าแค่การสร้าง Engagement กับลูกค้า เช่น การมีคอนเทนต์ดีๆ การตอบแชทเร็ว หรือการมีโปรโมชั่น ก็น่าจะเพียงพอแล้วในการสร้างความสัมพันธ์ แต่ในความเป็นจริง Engagement ไม่ได้สะท้อนระดับความพึงพอใจของลูกค้าเส […]

Subscription

เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เทรนด์และวิจัยต่อเนื่อง