Baramizi Lab logo

Art (Toy) Economy เศรษฐกิจ – ศิลปะ – ของเล่น

Art (Toy) Economy เศรษฐกิจ – ศิลปะ – ของเล่น

ตั้งแต่การบูมของงานศิลปะในรูปแบบ Non-Fungible Tokens (NFT) ในปี 2564 และราคาร่วงไปในช่วงปี 2565 ไปจนถึงการถือกำเนิดของอาร์ตทอย (Art Toy) ที่ค่อยๆ เติบโตขึ้นจนเริ่มมีฐานที่แข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เรามองเห็นความเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการของอุตสาหกรรมศิลปะ ที่ถึงแม้จะเปลี่ยนรูปแบบไป แต่เราน่าจะสามารถเห็นระบบนิเวศที่แข็งแรง ปรากฏการณืนี้ที่ทำให้รู้ว่าในฝั่ง Supply เรามีศิลปินที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และอยากปล่อยของ ในขณะเดียวกันในฝั่ง Demand เราก็มีผู้บริโภคที่พร้อมที่จะเข้าสะสม ตั้งแต่นิทรรศการเสมือนจริงไปจนถึงตุ๊กตาสะสม โลกศิลปะนำเสนอทั้งโอกาสที่น่าตื่นเต้นและความท้าทายสำหรับศิลปิน นักสะสม และชุมชนศิลปะในวงกว้าง

การเติบโตของตลาด Art Toy ทั่วโลก

จากการวิจัยล่าสุด ขนาดตลาดของเล่นศิลปะทั่วโลกมีมูลค่า 200 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2566 และคาดว่าจะขยายตัวที่ CAGR ที่ 15% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ปี 2567-2573 และมีมูลค่าถึง 1,000 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2573 โดยตลาดอาร์ตทอยที่ใหญ่ที่สุด อยู่ในทวีปเอเชีย อเมริกาเหนือ และยุโรป ตามลำดับ สำหรับทวีปเอเชีย จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นศูนย์กลางการผลิตและสะสมอาร์ตทอยโดยเฉพาะจีนที่มีรายงานว่ามีบริษัทขนาดใหญ่กว่า 87 แห่งในเมืองตงก่วน ผลิตของเล่นประเภทอาร์ตทอย สร้างมูลค่าผลผลิตทางอุตสาหกรรมกว่า 16,660 ล้านหยวน (2,479 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เติบโตจากปีก่อนหน้า 29.80% 

การเติบโตของตลาด Art toy ทำให้มีการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในจำนวนนักสะสมและผู้ที่ชื่นชอบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของเล่นศิลปะ  รวมไปถึงปัจจัยขับเคลื่อนตลาดสำหรับตลาดของเล่นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยหลายประการ ยกตัวอย่างเช่น

  • ของสะสมรุ่นลิมิเต็ด : ของเล่นศิลปะค่อนข้างน่าสะสมเนื่องจากมักผลิตในจำนวนจำกัดหรือในปริมาณน้อย นักสะสมที่พร้อมจะจ่ายสำหรับสินค้าหายากจะถูกดึงดูดให้สนใจสิ่งเหล่านี้เนื่องจากความหายากและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
  • Collaboration : Art toy ได้รับความสนใจจากความร่วมมือระหว่างนักออกแบบ ศิลปิน และบริษัทที่มีชื่อเสียงในหลากหลายอุตสาหกรรม ความร่วมมือเหล่านี้มักผลิตผลิตภัณฑ์รุ่นจำกัดซึ่งดึงดูดความสนใจในวงกว้าง
  • ชุมชนนักสะสมที่เพิ่มขึ้น : มีนักสะสมและผู้สนใจที่สนใจเกี่ยวกับ Art toy เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ความรู้สึกเป็นเจ้าของผลงานช่วยสร้างผลลัพธ์เชิงบวกและทำให้ผู้คนสนใจในตลาด Art toy มากขึ้น

การเติบโตของตลาด Art toy ในไทย

จากรายงานของศูนย์สร้างสรรค์และการออกแบบแห่งประเทศไทย (TCDC) ตลาด Art toy ของไทยเติบโตขึ้นกว่า 200% ในช่วงปี 2561 ถึง 2566 เป็นสัญญาณถึงความสนใจที่เพิ่มขึ้นในงานศิลปะรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของคนในประเทศ ทั้งนี้ประเทศไทยยังมีมูลค่าการนำเข้าของเล่นเป็นจำนวนเงิน 128.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.79 จากปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่า 114.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยนำเข้าของเล่น (รวมอาร์ตทอย) สูงสุดจาก 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม สอดคล้องกับการเติบโตของเจ้าตลาด Art Toys อย่างร้าน POP Mart จากประเทศจีนที่เริ่มมาเปิดสาขาในไทย ขณะเดียวกันไทยมีมูลค่าการส่งออกที่ 251.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566 ตอกย้ำความต้องการของเล่นชิ้นพิเศษเหล่านี้ทั่วโลก นอกจากนี้ นิทรรศการและการประชุมของArt Toys เช่น Thailand Toy Expo ได้กลายเป็นกิจกรรมสำคัญที่ดึงดูดผู้เข้าชมนับพันคน และสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

โดยตลาดของเล่นศิลปะในประเทศไทยได้รับแรงหนุนจากฐานผู้บริโภคที่หลากหลาย ตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงนักสะสมผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า บุคคลที่มีอายุระหว่าง 25-34 ปี เป็นนักสะสมที่มีความกระตือรือร้นมากที่สุด โดยคิดเป็น 40% ของการซื้อของเล่นศิลปะทั้งหมดในปี 2566 นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยังมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มการมองเห็น และการเข้าถึงของArt Toysไทย โดย Instagram และ Facebook ถือเป็นช่องทางสำคัญสำหรับศิลปินและผู้ขาย

Pop Mart บริษัท Art Toy ชื่อดังจากจีน

POP MART เกิดขึ้นครั้งแรกจากการเป็นร้านค้าสินค้าไลฟ์สไตล์แนว Pop Culture ที่มีของน่ารักโดนใจวัยรุ่นจีน ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2010 โดย ‘หวาง หนิง’ (Wang Ning) นักธุรกิจชาวจีน ซึ่งเขาเองก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากร้านค้า Log-On ขายสินค้าแนวไลฟ์สไตล์ ในประเทศฮ่องกงและเติบโตอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นผู้นำในโลกของของเล่นและของสะสมจากศิลปิน

เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ป๊อบมาร์ทได้เปิดเผยผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาสแรกของปี 2024 ระบุว่ารายได้โดยรวมเพิ่มขึ้น 40%-45% โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายได้จากจีนแผ่นดินใหญ่มีการเติบโต 20%-25% ในขณะที่ผลการดำเนินงานในฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และตลาดต่างประเทศยังคงเติบโตต่อเนื่องโดยมีรายได้เพิ่มขึ้น 245%-250% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ความสำเร็จของบริษัทเห็นได้จากการเติบโตของรายได้ที่น่าประทับใจตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากความนิยมในผลิตภัณฑ์ของบริษัททั้งในประเทศและต่างประเทศ ของสะสมที่หลากหลายของ Pop Mart ได้แก่ ของเล่นกล่องสุ่ม ฟิกเกอร์ไวนิลและอื่นๆ อีกมากมาย โดยแต่ละชิ้นมีการออกแบบที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร Art toy ที่โด่งดังที่สุด ได้แก่ Molly, Labubu และ Dimoo ที่เป็นการร่วมมือกับศิลปินชื่อดังอย่าง Kasing Lung, Pucky และ Rato Kim ของเล่นเหล่านี้ได้รับการติดตามในหมู่นักสะสมและผู้ที่ชื่นชอบทั่วโลก ตอกย้ำสถานะของ Pop Mart ในฐานะผู้นำในตลาดของเล่นจากดีไซเนอร์ระดับโลก

สถานการณ์ Art toy creator ในไทย

วงการ Art toy ในไทยกำลังเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากการที่มีศิลปินไทยหลายท่านสร้างผลงานโด่งดังไปทั่วโลก อาทิ คุณนิศา ศรีค้าดี หรือ Molly ผู้สร้าง “Crybaby เด็กหญิงเปื้อนนํ้าตา” คุณพัชรพล แตงรี่ม หรือ Alex Face ผู้สร้าง “Mardi เด็กในชุดกระต่ายสามตา” และคุณศิรินญา สุวรรณ หรือ Poriin ผู้สร้าง “Fenni จิ้งจอกหน้าตาน่ารัก” ด้วยกระแสความนิยมที่เพิ่มขึ้น อาร์ตทอยไทยจึงมีโอกาสเติบโตสูงในตลาดโลก ศิลปินและผู้ประกอบการไทยสามารถต่อยอดความสำเร็จนี้ พัฒนาสินค้าให้ตรงใจกลุ่มลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากอาร์ตทอยไม่ได้เป็นเพียงของเล่นหรือของสะสม แต่เป็นหนึ่งในสินค้าที่ผู้ซื้อสามารถนำมาใช้ประดับตกแต่งภายในที่อยู่อาศัย ถือเป็นงานศิลปะที่บ่งบอกรสนิยม และเนื่องจากอาร์ตทอยเป็นสินค้าที่ผลิตในจำนวนที่จำกัด ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้ราคาของอาร์ตทอยสูงขึ้นจนกลายเป็นสินทรัพย์

ในอนาคต สถานการณ์สำหรับ Art toy creator ในไทยอาจมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความสนใจในการสะสมและสร้างคอลเล็กชั่นของตนเองกำลังเพิ่มขึ้นในประเทศ นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ในการสร้างและการตลาดก็เป็นจุดเด่นที่สำคัญในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม Art toy ในประเทศไทยอีกด้วย และการสร้างความร่วมมือกับศิลปินและอุตสาหกรรมอื่น ๆ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้สถานการณ์ Art toy creator ในไทยเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

ผู้เขียน : จินต์ศุจี มณฑิราลัยพร

 

ที่มา

https://www.linkedin.com/pulse/art-toy-market-size-projected-reach-usd-dv6tc#:~:text=According%20to%20the%20latest%20research,USD%2064655.92%20million%20by%202028

https://www.verifiedmarketresearch.com/product/art-toy-market/ 

https://www.metastatinsight.com/report/art-toy-market 

https://www.amarintv.com/spotlight/business-marketing/detail/64433 

https://www.smethailandclub.com/management/9512.html 

https://equalocean.com/news/2024042320816 

https://www.beartai.com/life/trends/1379569#:~:text=POP%20MART%20%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87,%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B9%8C%20%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AE%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%87

RECOMMEND

read more
30.09.2024 45

วัฒนธรรมกินเจ กับตลาดโปรตีนทางเลือก (Alternative Protein)

เทศกาลกินเจปีนี้ตรงกับช่วงวันที่ 3 ต.ค. – 11 ต.ค. 2567 เป็นระยะเวลา 9 วัน ที่คนไทยจำนวนหนึ่งเลือกที่จะ “กินเจ” คืองดบริโภคเนื้อสัตว์ โดยกินเจมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย ทั้งกินเจเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น, กินเจเพื่อทำบุญ และกินเจเพื่อละเว้นกรรม (ที่เกิดจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต) โดยประมาณการ เม็ดเงินค่าใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ช่วงเทศกาลกินเจน่าจะมีมูลค่าหลายพันล้านบาท อย่างไรก็ตาม นอกจากเทศกาลกินเจที่เกิดขึ้นแล้วจบในช่วงไม่กี่วันในหนึ่งปี เรายังมีไลฟ์สไตล์การงดบริโภคเนื้อสัตว์ที่กินประจำตลอดทั้งปี โดยมีหลากหลายชื่อเรียก ไม่ว่าจะเป็น กินเจ (ที่กินได้หลายแบบ) กินมังสวิรัติ กินแบบวีแกน เหล่านี้มีข้อบังคับการกินที่แตกต่างกันไป ข้อมูลจากชุดข้อมูลวิจัยเทรนด์ Future Food Business Trends 2025 โดยศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซ็ปต์แห่งอนาคต บารามีซี่ แล็บ มีข้อมูลว่า มีคนไทยไม่กินเนื้อสัตว์ 7.8% ของประชากรทั้งหมด จากข้อมูลตลาดดังกล่าวทำให้มองเห็นโอกาสของธุรกิจโปรตีนทางเลือก (Alternative Protein) คือการกินโปรตีนทางเลือกเข้ามาแทนโปรตีนแบบดั้งเดิมที่ผลิตจากระบบปศุสัตว์ ซึ่งอาจประกอบไปด้วยโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว […]

read more
18.09.2024 82

อุตสาหกรรมเกมขาขึ้น กับโอกาสของประเทศไทย

ในช่วงไม่นานมานี้ คอเกมส์น่าจะกำลังเพลิดเพลินอยู่กับเกมส์ Black Myth: Wukong เกม Action RPG ฟอร์มยักษ์ที่ดัดแปลงจากวรรณกรรมคลาสสิคชื่อดังของจีน “ไซอิ๋ว” (Journey to the West)  ล่าสุด ทา Stream DBได้ระบุว่า Black Myth: Wukong กวาดยอดผู้เล่นได้กว่า 1 ล้านคน หลังเปิดให้เล่นภายในระยะเวลาเพียง 30 กว่านาที ถือว่าได้รับความนิยมสูง ตอกย้ำกระแสและความน่าสนใจของเกมนี้ได้เป็นอย่างดี ตลาดเกมส์ทั่วโลกกำลังเติบโต 2.1% จากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว ตลาดเกมส์จะสร้างรายได้ 187.7 พันล้าน $ ในปี 2024 โดยเกมส์คอมพิวเตอร์มีมูลค่า 43.2 พันล้าน $ มีสัดส่วนที่ 23% เกมส์จากเครื่องเล่นเกมส์ (Console) 51.98 พันล้าน $ ด้วยสัดส่วน 28%  ในขณะที่เกมส์มือถือขนาด 92.6 พันล้าน $  กินส่วนแบ่ง 49% อีกหนึ่งสัญญาณที่เป็นตัวชี้วัดการเติบโตของอุตสาหกรรมเกม คือ ‘โพนี่ หม่า’ ซีอีโอ ‘เทนเซ็นต์’ คืนบัลลังก์ ‘มหาเศรษฐีอันดับหนึ่ง’ ของจีนอีกครั้ง! ด้วยทรัพย์สินสุทธิสูงถึง 44,000 ล้านดอลลาร์ (มั่งคั่ง 1.4 ล้านล้านบาท) แซงหน้า “จงซานซาน” เจ้าของแบรนด์น้ำแร่ หนงฟู่ (Nongfu Spring) ที่หล่นไปอยู่ดันดับ 2 ซึ่งปัจจัยหนึ่งคือ […]

Baramizi Lab
read more
17.09.2024 158

อนาคตของอุตสาหกรรมเนื้อหมู: แนวโน้มและโอกาสที่น่าตื่นเต้น

ในปี 2025 อุตสาหกรรมปศุสัตว์จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะในวงการเนื้อหมู ซึ่งเป็นผลมาจากการวิจัยร่วมกันระหว่าง Baramizi Lab และ Zoetis บริษัทเวชภัณฑ์สัตว์ระดับโลก การวิจัยนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้อุตสาหกรรมอาหารเติบโต แต่ยังเปิดโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างแบรนด์สำหรับธุรกิจสินค้าเกษตรและสินค้าแปรรูปจากเนื้อหมูอีกด้วย 1. ผู้บริโภคทานเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ ผู้บริโภคในปัจจุบันให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น อุตสาหกรรมเนื้อหมูจึงต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น เนื้อหมูที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ และมีสารอาหารอย่างโอเมกา 3 ตัวอย่างเช่น ไส้กรอกโอเมกา 3 จาก Wampler’s farm ที่ช่วยเพิ่มคุณค่าด้วยกรดไขมันโอเมกา 3 ของ DHA และ EPA ซึ่งสนับสนุนการพัฒนาของหัวใจและสมอง หรือแพลตฟอร์ม Hakko Hub ที่สนับสนุนการหมักเนื้อสัตว์ ทำให้เนื้อสัตว์ย่อยง่ายขึ้น และเพิ่มความเข้มข้นของวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบี และธาตุเหล็ก 2. ผู้บริโภคทานเพื่อรับประสบการณ์แปลกใหม่ รสชาติและรูปลักษณ์ที่แปลกใหม่กำลังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค วงการอาหารจึงพัฒนาสินค้าและประสบการณ์ให้ครอบคลุมชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่น ก […]

Superfansindex.com
read more
13.09.2024 218

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแบรนด์เราสุขภาพดีแค่ไหน?

ในหลายๆ ธุรกิจมักจะนึกถึงยอดขายที่จะทำให้รู้สึกว่าแบรนด์เรายังมีลูกค้าซึ่งก็ส่งผลต่อสุขภาพของแบรนด์ได้เช่นเดียวกัน แต่แท้ที่จริงแล้วแบรนด์คุณอาจจะสุขภาพไม่ดีก็ได้ เหมือนร่างกายคนถ้าไม่ไปตรวจสุขภาพเราก็จะไม่รู้ว่าข้างในร่างกายเป็นอย่างไร ทั้งๆ ที่ภายนอกเรายังรู้สึกปกติอยู่  เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเกิดปัญหา และอาจส่งผลให้ปัญหานั้นลามใหญ่โตซึ่งต้องใช้ทั้งเงินและเวลาในการแก้ไข การวิจัยตรวจสอบสุขภาพแบรนด์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์ควรจะทำอย่างต่อเนื่อง เปรียบเหมือนการเอ๊กซเรย์แบรนด์…เพราะหากรู้ก่อนย่อมสามารถแก้ปัญหาได้เร็วกว่า จากภาพข้างต้นหากทุกแท่งมีฐานที่กว้าง การันตีได้เลยว่าแบรนด์คุณสุขภาพดี เพราะการลงงบไปกับสื่อหรือการสร้างประสบการณ์นั้นสามารถได้ใจลูกค้าจนเกิดความเป็น Superfans ได้ (ความเป็น Superfans ของแบรนด์ คือ ขั้นสุดที่แบรนด์ควรไปให้ถึงและเก็บให้ได้มากที่สุด หรือที่เราเรียกว่า สาวกของแบรนด์)  รูปแบบการตรวสอบสุขภาพแบรนด์  โดยทั่วไปสามารถพบได้ 3 รูปแบบ 1.การวิจัยเพื่อตรวจสอบรายปี  เหมาะสำหรับแบรนด์/ องค์กรที่มีการลงงบการตลาด การทำแคมเปญต่างๆ ในช่วงระหว่างปี เพื่อให้เราสามารถรู้ได้ว่ารู […]

read more
11.09.2024 190

ตลาด Sustainable Fashion กับการเติบโต 22.9% ต่อปี

Sustainable Fashion หรือ แฟชั่นแบบยั่งยืนที่เคยเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ในอุตสาหกรรมแฟชั่นโดยรวม กำลังได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วเนื่องจากผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและจริยธรรมมากขึ้น ในปี 2024 ตลาดแฟชั่นยั่งยืนระดับโลกมีมูลค่า 8.1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2024 และคาดว่าจะเติบโตถึง 33.1 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2033 ด้วยอัตรา CAGR 22.9% ในช่วงคาดการณ์ปี 2024 – 2033 แม้ว่าจะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ผลกระทบของแฟชั่นยั่งยืนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากแบรนด์และผู้ค้าปลีกรายใหญ่ต่างนำแนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนเข้ามาใช้ในธุรกิจของตน การเพิ่มขึ้นของแบรนด์แฟชั่นยั่งยืน ร่วมกับการนำโครงการริเริ่มสีเขียวมาใช้โดยบริษัทที่จัดตั้งขึ้นแล้ว กำลังผลักดันตลาดให้ก้าวไปข้างหน้า พร้อมแรงหนุนจากความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม อุตสาหกรรมแฟชั่นยั่งยืนมีโอกาสอีกมากมาย เช่น ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคที่ต้องการความโปร่งใสในกระบวนการผลิตและการจัดหาวั […]

Subscription

เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เทรนด์และวิจัยต่อเนื่อง