“Crown Expression” คลื่นมหาชนร่วมแสดงออกและปลดปล่อย สร้าง Soft Power ที่มีจุดร่วมของคนทั้งโลก
เพราะเทศกาลสงกรานต์บ้านเราอยู่บนกระแสเทรนด์ของ Event Tourism ที่ชื่อ “Crown Expression” แม้ฉากหน้าจะดูไทยไทย แต่เนื้อในนั้นโดนใจ Inner ที่เป็นสากล สงกรานต์บ้านเราจึงสามารถเป็น Soft Power ที่ทรงพลังระดับโลกได้
เมื่อช่วงปีที่ผ่านมา Baramizi Lab ได้ร่วมทำวิจัยกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในหัวเรื่องการศึกษาศักยภาพกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ระดับนานาชาติของประเทศไทย เราได้ทำการ Spot Event Tourism Trend ประจำปีล่าสุดเพื่อค้นหาแนวโน้มการสร้างสรรค์ประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมมาไว้เพิ่มพลังให้กับการผลักดันการท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมของประเทศไทยให้ขึ้นสู่ระดับนานาชาติได้
ด้วยกระบวนการศึกษาผ่านข้อมูลทุติยภูมิและทำการ Spot กรณีศึกษากว่า 100 กรณีศึกษาของงานกิจกรรมและเทศกาลประเภทต่างๆ ที่ทำหน้าที่ดึงดูดการท่องเที่ยวทั่วโลก เราพบเจอถึง 12 เทรนด์ที่น่าสนใจสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกิจกรรม บางแนวโน้มนั้นก็เป็นแนวโน้มที่มีมาแต่เดิมอยู่แล้วอันเนื่องจากมันสอดคล้องไปกับความต้องการดั้งเดิมของมนุษย์เราที่กระตุ้นให้เราออกเดินทางได้ บางแนวโน้มเป็นความคาดหวังที่ Emerging ใหม่จากแรงกระทบของ Megatrend บางแนวโน้มตัวมันอาจไม่ใหม่มากแต่มีรายละเอียดที่ใหม่ขึ้นมา ไว้จะมาเล่าทั้ง 12 แนวโน้มให้ฟังอีกครั้งนะคะ : )
แต่วันนี้เอาเรื่องนี้ก่อน หนึ่งในแนวโน้มที่น่าสนใจและช่วยไขความกระจ่างให้กับความฮอตฮิตของเทศกาลสงกรานต์บ้านเราคือแนวโน้มที่ชื่อว่า “Crown Expression” คือประสบการณ์ของงานอิเวนต์ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ปลดปล่อยตัวเองจากโลกความเป็นจริง สามารถแสดงออกทางด้านอารมณ์หรือร่างกายได้อย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน ห้อมล้อมด้วยคนหมู่มากในการร่วมทำกิจกรรมที่มีความหมายเดียวกัน อยากให้ทุกคนสังเกตค่ะ แนวโน้มนี้…เกิดขึ้นจาก Inner ภายในจิตใจของพวกเราที่ว่า ในการใช้ชีวิตบางทีก็มีอะไรที่อัดอั้นบ้างอะไรบ้าง (55) แล้วเราก็มีอารมณ์อยากปลดปล่อย อยากขว้างปา อยากทำลาย ยิ่งถ้าได้ทำแล้วได้แข่งขันกับคนอื่นด้วยนี่ยิ่งมันส์! แต่ๆๆๆ ในชีวิตจริง ใครจะให้เราทำอย่างนั้นกันล่ะ มันเดือดร้อนคนอื่นและสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน แล้วๆๆๆ ในขณะเดียวกันนั้น ก็มีงานกิจกรรมมหกรรมประเภทหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ทำอะไรอย่างนั้นเกิดขึ้นเต็มไปหมดรอบโลกของเรา 🤣 แต่มาในรูปแบบและที่มาที่แตกต่างกันแต่ล้วน Serve Needs หรือตอบโจทย์ความต้องการแบบเดียวกัน บางที่ก็เป็นเรื่องราวของวัฒนธรรม บางที่ก็เป็นเรื่องศาสนา บางที่ก็มาจากฤดูกาลของพืชผลทางการเกษตร หรือไม่ก็เกิดจากการรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ เริ่มต้นจากทำกันเองเชื่อกันเองในพื้นที่ของตนแล้วค่อยๆ ขยายวงใหญ่ขึ้นเติบโตขึ้นจนถึงจุดที่กลายเป็นสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้
เทรนด์ Crown Expression จากการ Spot ข้อมูลในรอบปีนี้ สามารถสรุป Key Experience สำคัญได้ 3 ประการได้แก่
1. Crowd on Public: การรวมตัวของฝูงชนในพื้นที่สาธารณะสร้างประสบการณ์ที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป
2. Splashing: การได้ขว้างปา ปลดปล่อย สิ่งต่างๆ ใส่กัน จากวัตถุดิบทางธรรมชาติใน ท้องถิ่นนั้นๆ ทำให้เกิดประสบการณ์ที่สนุกสนาน หลุดออกจากโลกที่เป็นอยู่
3. Release and Move on: การได้ปลดปล่อยและทิ้งสิ่งที่เกิดขึ้นภายในงาน เพื่อเริ่มต้นสิ่งใหม่ในโอกาสต่อไป
เทศกาลสงกรานต์เข้าข่ายแนวโน้มนี้เต็มๆ เลยค่ะ ถอดรหัสความเจ๋งของเทศกาลที่ทำให้เป็น Soft Power ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกมาได้ น่าจะประกอบด้วยองค์ประกอบ ดังนี้ 1) มีรากมีที่มาที่อิงกับวัฒนธรรมและวันสำคัญของคนไทยทั้งประเทศ 2) รูปแบบของกิจกรรมมาในรูปแบบของการได้ปลดปล่อย (+ทำลายล้าง 55) ได้แข่งขันต่อสู้ (เล็กๆ) 3) เป็นวัฒนธรรมร่วมที่คนทั้งประเทศตอบรับอย่างแข่งขันและพร้อมมีส่วนร่วม แต่ก็ยังเกิดวัฒนธรรมย่อยที่มีอัตลักษณ์เฉพาะของตัวเองแตกต่างกันไป ทำให้เกิดความหลากหลายที่น่าสนใจ องค์ประกอบข้อ 3) นี้ ส่วนตัวในตอนที่วิเคราะห์โจทย์วิจัยที่เกี่ยวกับประเด็นของงานท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมระดับนานาชาติคิดว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด
นอกจากเทศกาลสงกรานต์ของบ้านเราแล้ว ยังมีงานกิจกรรมและเทศกาลอื่นๆ ที่น่าสนใจในเทรนด์นี้ คอนเทนต์นี้เราพาไปลองเที่ยวชมกันค่ะ 😁☺️
Burning Man
งานเทศกาลที่เน้นเรื่องชุมชน ศิลปะ การแสดงออก และการพึ่งพาตนเอง จัดขึ้นทุกปีทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ชื่อของงานมาจากพิธีการเผาหุ่นจำลองไม้ขนาดใหญ่ที่เป็นสัญลักษณ์ซึ่งเรียกว่า The Man การเผานี้จะเกิดขึ้นในคืนสุดท้ายของงานเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการได้ปลดปล่อยและทิ้งสิ่งที่เกิดขึ้นภายในงานเพื่อเริ่มต้นสิ่งใหม่ในโอกาสต่อไป โดยภายในงานผู้คนที่เข้าร่วมจะใช้ไลฟ์สไตล์แบบสุดโต่ง เช่น การแสดงงานศิลปะที่มีความเฉพาะตัว การใช้ชีวิตด้วยการแลกเปลี่ยนสิ่งของไม่มีการใช้เงิน เทศกาล Burning Man จัดตั้งโดย Burning Man Project ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
Holi Festival
เทศกาลโฮลี มีการจัดขึ้น 2 วันในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งเทศกาลนี้เรียกอีกอย่างว่า “เทศกาลแห่งสีสัน” ผู้คนมากมายจะออกมาเฉลิมฉลองด้วยการสาดสีหรือป้ายสีซึ่งมีลักษณะเป็นฝุ่นผงใส่กันอย่างสนุกสนาน ฝุ่นผงสีจะทำมาจากธรรมชาติ อาทิ ดอกทองกวาว บีทรูท และขมิ้น เป็นต้น การสาดสีจะเล่นกันเฉพาะช่วงเช้าจนถึงเที่ยงวันเท่านั้นจากนั้นผู้คนจะแยกย้ายไปพักผ่อนแล้วเมื่อตกเย็นจะออกมาพบปะสังสรรค์กันแจกขนมหวานและสวมกอดกัน
La Tomatina
เทศกาลดั้งเดิมของสเปนที่จัดขึ้นในเมือง Buñol ทางตะวันออก โดยผู้เข้าร่วมจัดปามะเขือเทศใส่กัน ผู้คนมากถึง 20,000 คนจะจ่ายเงินคนละ 12 ยูโร เพื่อเข้าร่วมเทศกาล เพียงเวลาไม่นานพื้นที่ถนนก็ชุ่มไปด้วยเนื้อสีแดง งานนี้จัดขึ้นในวันพุธสุดท้ายของเดือนสิงหาคมของทุกปี งานเทศกาลนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากการต่อสู้แย่งชิงอาหารระหว่างเด็กๆ ในท้องถิ่นในปี 1945 ในเมืองที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคที่ผลิตมะเขือเทศ
Crown Expression แนวโน้มสำคัญที่โดนใจผู้คนถ้าลองต่อยอดดูเราอาจจะสร้างสรรค์ Event Tourism ที่เป็น Soft Power เพิ่มเติมพลังการดึงดูดผู้คนสร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็งได้อีกมากมายอย่างแน่นอนค่ะ 🥰🥰
อาจจะใส่ไว้ตั้งแต่ข้อความกลุ่มแรกก่อนแตกเข้ารายภาพ
บทความวิเคราะห์โดย
ปรมา ทิพย์ธนทรัพย์ (โจ้ง)
Baramizi Lab Director
ข้อมูลวิจัยเทรนด์โดย Trend Researcher Team ของ Baramizi Lab
โครงการศึกษาศักยภาพกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ระดับนานาชาติของประเทศไทย
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://burningman.org
https://www.holifestival.org/#google_vignette