From “DIY” to “FIX”: ความยั่งยืนนำมาสู่แฟชั่นที่ซ่อมตัวเองได้
แฟชั่นเป็นอุตสาหกรรมที่โดนพูดถึงเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาอย่างยาวนาน หากเจาะลงไปที่ผลิตภัณฑ์อย่างรองเท้า จะเห็นได้ว่ามีการเกิดขึ้นของนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้การผลิตส่งผลกระทบที่ต่ำลง หนึ่งในนั้นคือการ แยกชิ้นส่วนได้ ก่อนหน้านี้เราจะเจอการ ‘แยกชิ้นส่วน’ เพื่อการใช้งานที่สามารถปรับเปลี่ยนตามสไตล์ตัวเรา
(วีดีโอจากแบรนด์ ZIPZ SHOES)
อย่างแบรนด์ Zipz Shoes ที่สามารถเชื่อมชิ้นส่วนพื้น และส่วนบนด้วยซิป ทำให้สามารถสลับสับเปลี่ยนชิ้นส่วนสองชิ้นเพื่อให้ Mix & Match ได้ตามต้องการ แต่ความโดดเด่นนี้เป็นเรื่อง Customization อาจเชื่อมโยงสู่ความยั่งยืนเนื่องจากการบริโภคที่น้อยลงสาเหตุจากปรับเปลี่ยนเพื่อการใช้งานได้มากขึ้น
(ภาพจากแบรนด์ ZIPZ SHOES)
ถ้าหากมอง การแยกชิ้นส่วนเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมีตัวอย่างจากโปรเจคที่น่าสนใจอย่าง Disassembly Lab ที่เป็นการออกแบบรองเท้าที่ใช้ฟังก์ชันถอดประกอบ มีสองชิ้นส่วนคือ พื้นรองเท้า TPU และโครงส่วนบนจากการพิมพ์ 3 มิติ แล้วจึงปิดด้วย Upper ผิวสุดท้ายตามแต่การออกแบบ เชื่อมติดกันด้วยเส้นยาง และหมุดยึด จะเห็นได้ว่า การถอดแยกชิ้นส่วนช่วยยืดอายุของรองเท้า ทำให้สามารถซ่อมแซม ฟื้นฟู เปลี่ยนได้ และรีไซเคิลได้ ซึ่งอุปสรรคของการแยกส่วนที่พบเจอได้ในรองเท้าทั่วไปคือ กาว ซึ่งไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และวัสดุสังเคราะห์ซึ่งย่อยสลายตามธรรมชาติไม่ได้ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของรองเท้าในปัจจุบัน
(ภาพจาก Yanko Design)
แต่เรื่องวัสดุชั้นบนอาจไม่เป็นปัญหาใหญ่เพราะมีผู้ผลิต และแบรนด์สินค้าหลายเจ้าที่พัฒนาวัสดุ Biodegradable ที่ย่อยสลายได้ หรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ป้อนเข้าสู่ตลาดหลายแบรนด์ขึ้น ตัวอย่างเช่น แบรนด์ M0.0NSHOT จาก Allbird ที่ใช้ Upper จาก Regenerative Wool หรือ ขนสัตว์จากฟาร์มฟื้นฟูในนิวซีแลนด์ ซึ่งฟังก์ชันถอดประกอบอาจไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จของการทำให้ผลิตภัณฑ์ยั่งยืนขึ้น แต่เป็นก้าวแรกของการเปิดประสบการณ์ซ่อมแซมได้ด้วยตนเอง และจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น หากทำควบคู่กับการให้ความรู้จากแบรนด์ ส่งผลให้อายุการใช้งานนานขึ้น ยั่งยืนต่อโลกมากขึ้น
(ภาพจาก allbirds)
กัณฑ์ฉัตร สมเหมาะ
ผู้เขียน
ที่มา: