Baramizi Lab logo

จากเทรนด์สัตว์เลี้ยงหรูสู่เทรนด์การรับเลี้ยงหมาจรจัด

จากเทรนด์สัตว์เลี้ยงหรูสู่เทรนด์การรับเลี้ยงหมาจรจัด

Pet Humanization คือตลาดขนาดใหญ่

กระแส Pet Humanization หรือการที่ผู้คนให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงเหมือนลูก ช่วยลดความเหงา และสร้างเม็ดเงินให้ระบบเศรฐกิจจำนวนมาก เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงทั่วโลกคาดว่าจะเติบโตจาก 126.66 พันล้านดอลลาร์ในปี 2567 เป็น 193.65 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2575 โดยมี CAGR อยู่ที่ 5.45% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์  ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) คาดมูลค่าตลาดสัตว์เลี้ยงของไทยในปี 67 จะมีมูลค่าราว 7.5 หมื่นล้านบาท เทรนด์นี้เป็นแนวโน้มที่น่าจับตาในอนาคต ข้อมูลจาก CRC VoiceShare พบว่าคนไทย เลี้ยงสุนัข 63%, แมว 49% และสัตว์ Exotic 12%

การเพาะพันธุ์สัตว์เลี้ยงหรู ส่งผลต่อสุขภาพของน้อง

แต่มีแนวโน้มที่น่าจับตาจากต่างประเทศในเรื่องการพูดถึงการรับเลี้ยงสัตว์บางสายพันธุ์ที่มีโครงสร้างร่างกายที่อาจเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตของน้องๆ เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นจากสายพันธุ์แท้ อย่างเช่น ในประเทศเยอรมนีร่างกฎหมายห้ามเพาะพันธุ์สุนัขที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งมีการพูดถึงสุนัขพันธุ์ ดัชชุน ที่รูปร่างยาวเหมือนใส้กรอก สร้างความน่ารัก แต่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพน้องหมาเอง หรือในเรื่องการพัฒนาสายพันธุ์ อย่างเช่น British Veterinary Association และ PETA ได้เตือนเรื่องการรับเลี้ยงสุนัขพันธุ์ French Bulldogs ด้วยหน้าตาแบนเล็กที่น่ารัก แต่สิ่งนี้อาจส่งผลแย่ต่อระบบหายใจ เป็นอีกหนึ่งความท้าทายเมื่อความต้องการสมาชิกใหม่ในครอบครัวถูกตั้งคำถามด้วยสวัสดิภาพของสายพันธุ์

เทรนด์ใหม่สุนัขรับเลี้ยง

แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็มีพฤติกรรมใหม่เกิดขึ้นคือการรับสัตว์ไร้บ้านมาเลี้ยงมากขึ้น ข้อมูลจาก DOGS TRUST (UK) จำนวนสุนัขที่ถูกรับเลี้ยงเพิ่มขึ้น 5% ในขณะที่จำนวนแมวที่ถูกรับเลี้ยงเพิ่มขึ้น 2% และข้อมูลจาก Shelter Animals Count (USA) มีสุนัขมากกว่า 1.5 ล้านตัวถูกรับเลี้ยงในปี 2566 ในการสำรวจของ Forbes Advisor กับเจ้าของสุนัข 10,000 ราย ส่วนใหญ่รายงานว่าพวกเขารับสุนัขของตนมาจากผู้เพาะพันธุ์ (36%) ตามมาด้วยการรับสุนัขจากสถานสงเคราะห์ (23%) ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เห็นถึงการการรับเลี้ยงสัตว์เลี้ยงทยอยเพิ่มความนิยมขึ้น อาจทำให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ที่เล็งเห็นช่องว่างของประสบการณ์ และพฤติกรรม จากสถานรับเลี้ยงถึงบ้านหลังใหม่ได้

การจัดการเรื่องปัญหาหมาจรในประเทศไทย

ฐานข้อมูลเพื่อการขึ้นทะเบียนสุนัข-แมว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกรมปศุสัตว์ พบข้อมูลล่าสุดเมื่อปี 2562 ประเทศไทยมีสุนัขที่ไม่มีเจ้าของอยู่ 109,123 ตัว ขณะที่อธิบดีกรมปศุสัตว์ เคยคาดการณ์ไว้ว่า ในปี พ.ศ.2570 ประเทศไทยจะมีสุนัขและแมวจรจัด ประมาณ 1,920,000 ตัว และในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมากถึง 5 ล้านตัว จากรายงานประจำปี 2022 ของ Soi Dog Foundation มีสัตว์จำนวน 196,106 ตัวที่ได้รับการทำหมันหรือทำหมันจากการดำเนินการของมูลนิธิ ซึ่งสุนัขกว่า 100,000 ตัวมาจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล

กรณีศึกษาของ Gluta Story ผู้นำเทรนด์การเลี้ยงหมาจรจัด

กรณีศึกษาของ Gluta Story เป็นการเล่าเรื่องราวของ “กลูต้า” สุนัขตัวแรกที่คุณยอร์ชและคุณส้มเก็บมาเลี้ยง และตามมาด้วยน้องหมาแมวอีกหลายชีวิตที่เข้ามาในครอบครัวสัตว์เลี้ยงที่อบอุ่นนี้ พวกเขาได้เผยแพร่เรื่องราวเหล่านี้ลงในโลกออนไลน์ ตั้งแต่เว็บไซต์พันทิป, เพจเฟซบุ๊ก จนถึงช่องยูทูปที่ปัจจุบันมีผู้ติดตามถึง 1.3 ล้านคน  Gluta Story มีผู้ติดตามหลายคนเปิดเผยว่า Gluta Story เป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขารับเลี้ยงสุนัขจรจัดที่ซึ่งมีความน่ารักไม่แพ้กัน จึงเรียกได้ว่า Gluta Story จึงเป็นผู้ Set เทรนด์ การรับเลี้ยงหมาจรในประเทศไทย

แม้ในต้นปี 2024 ที่ผ่านมา น้อง กลูต้า จะจากไปด้วยวัย 18 ปี และล่าสุด กอลลั่ม สนุขคู่ใจที่ถูกรับเลี้ยงมาในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ก็บ๊ายบายไปเจอเพื่อนที่ดาวหมาแล้ว

แต่สิ่งที่ทิ้งไว้คือการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ด้านการรับเลี้ยงหมาแมวจรในประเทศไทยให้เปิดกว้างมากขึ้น และยังคงสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ส่งต่อความน่ารักของสมาชิกหมาแมวอีกมากมายในบ้าน  Gluta Story แห่งนี้ ให้บรรดาทาสหมา ทาสแมวได้มีความสุขไปตามๆ กัน

 

ผู้เขียน: กัณฑ์ฉัตร สมเหมาะ

ผู้เขียน: พลวัฒน์ จูเจริญ

 

รูปภาพจาก

https://www.facebook.com/GlutaStory

ที่มา:

https://www.infoquest.co.th/2024/383330

https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1117864

https://www.forbes.com/advisor/pet-insurance/pet-adoption-statistics/

https://www.dogster.com/lifestyle/pet-adoption-statistics-uk

https://www.thaipbs.or.th/news/content/314447

https://www.fortunebusinessinsights.com/industry-reports/pet-food-market-100554

https://pub.soidog.org/end-of-year-reports/2022

RECOMMEND

อินโฟกราฟิกแสดงการใช้ Big Data และ Thick Data ของ Netflix เพื่อเข้าใจพฤติกรรมการดูซีรีส์แบบรวดเดียวจบ
read more
19.06.2025 4

ความลับพฤติกรรม ‘ดูซีรีย์รวดเดียวจบ’ ที่ Netflix ไขได้จากการทำวิจัยกับคนดู

Big Data ผสาน Thick Data ปลดล็อกนวัตกรรมด้วยข้อมูลสองมิติ ครั้งหนึ่ง Netflix กำลังทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุดของโลกสตรีมมิ่ง ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังของ Big Data อันมหาศาล อัลกอริทึมอัจฉริยะสามารถแนะนำซีรีส์ และภาพยนตร์ที่ตรงใจผู้ชมได้อย่างน่าทึ่ง วิเคราะห์ทุกการคลิก ทุกการหยุดพัก และทุกยอดวิว พวกเขารู้ว่าผู้คนดูอะไร และ เมื่อไหร่ แต่ท่ามกลางข้อมูลเหล่านั้น มีพฤติกรรมหนึ่งผุดขึ้นมาอย่างโดดเด่นแต่ยังคงเป็นปริศนานั้นคือ “Binge-Watching” หรือการดูซีรีส์รวดเดียวจบแบบมาราธอน เเต่เพียงเเค่ข้อมูลที่บอก ‘อะไร’ อย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จขนาดนั้น จึงเป็นที่มาของ Thick Data มันคือข้อมูลเชิงคุณภาพที่ให้ความเข้าใจถึงแรงจูงใจ ความเชื่อ และประสบการณ์ส่วนบุคคล ในกรณีของ Netflix อะไรคือแรงขับเคลื่อนเบื้องหลังการที่ผู้คนเลือกที่จะใช้เวลาสุดสัปดาห์ไปกับการดูซีรีส์อย่างไม่หยุดหย่อน? อะไรคือสิ่งที่กระตุ้นอารมณ์และแรงจูงใจเบื้องลึก? Netflix ได้เชิญทีมวิจัยเข้าไปทำ Ethnographic Research โดยเข้าไปในบ้านของผู้ชมจริง เพื่อสังเกตการณ์พฤติกรรมการดูซีรีส์ในบริบทธรรมชาติ พวกเขาเฝ้าดูคู […]

What is a Unmet Need
read more
09.06.2025 185

What is a Unmet Need? (ความต้องการที่ซ่อนอยู่คืออะไร)

What is a Unmet Need? (ความต้องการที่ซ่อนอยู่คืออะไร) นวัตกรรมที่เปลี่ยนโลกมักไม่ได้เริ่มจากเทคโนโลยีล้ำยุคเสมอไป แต่มักเริ่มจากคำถามง่ายๆ ว่า “ความต้องการลึกๆ ของลูกค้าคืออะไร” ความต้องการลึกๆ หรือที่เรียกว่า Unmet Need ในเชิงทฤษฎีการออกแบบ และนวัตกรรมความต้องการของผู้ใช้งานสามารถแบ่งออกเป็นหลายระดับตั้งแต่ความต้องการพื้นฐานที่ผู้ใช้อธิบายได้อย่างชัดเจน ไปจนถึงความต้องการที่ยังไม่สามารถระบุ หรือรับรู้ได้ด้วยตนเองซึ่งเรียกว่า Hidden Needs หรือ Unmet Needs ความต้องการเหล่านี้มักอยู่ในระดับที่ลึกกว่าการแสดงออกทั่วไป เป็นสิ่งที่ฝังอยู่ในพฤติกรรม ความรู้สึก หรือสภาพแวดล้อมที่ผู้ใช้อาศัยอยู่ แนวคิดนี้เชื่อมโยงกับการออกแบบที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centered Design) และแนวทาง Outcome-Driven Innovation ของ Ulwick (2005) ซึ่งชี้ว่า ความเข้าใจใน “งานที่ผู้ใช้อยากให้เสร็จ (Jobs to Be Done)” นั้นต้องลึกซึ้งกว่าคำพูดหรือแบบสอบถามทั่วไป เพราะผู้ใช้จำนวนมากไม่สามารถบอกความต้องการที่แท้จริงของตนออกมาได้อย่างตรงไปตรงมา (Latent or Unarticulated Needs) ตัวอย่างของ Hidden Needs ได้แก่ ความรู้สึกไม่ […]

read more
06.06.2025 196

ทุกคนเคยสงสัยกันไหมคะว่า “สร้างแบรนด์ได้ดี” วัดจากอะไร?

ทุกคนเคยสงสัยกันไหมคะว่า “สร้างแบรนด์ได้ดี” วัดจากอะไร? ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา Baramizi Group (ซึ่งประกอบด้วยนักสร้างแบรนด์ และนักวิจัยและพัฒนาแบรนด์) ได้ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล อัสสะรัตน์ ในการค้นหาคำตอบของคำถามนี้ บนความเชื่อที่ว่า “การสร้างแบรนด์ต้องวัดผลได้” ซึ่งความ ambitious ของเราคือ ไม่ใช่แค่วัดผลเป็น Index หรือเปอร์เซ็นต์ ที่เป็นเพียงตัวเลขอ้างอิงเท่านั้น แต่ต้อง วัดได้เป็น “มูลค่า” ที่จับต้องได้ในเชิงตัวเงินเพราะเมื่อใดก็ตามที่แบรนด์สามารถแปลงค่าเป็นตัวเงินได้ ก็จะทำให้ความเชื่อที่ว่า “แบรนด์คือสินทรัพย์ทางธุรกิจ” พิสูจน์ได้และแพร่หลายได้จริง ระหว่างการศึกษาวิจัย ก่อนที่จะไปถึงตัวเงินเหล่านั้น คำถามสำคัญที่ต้องตอบให้ได้ ทั้งในเชิงวิชาการและคนทำงานจริง คือ:“เราจะบอกได้อย่างไรว่าแบรนด์นี้สร้างได้ดี และให้ผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จ” คำตอบที่เรียบง่าย หลังจากการค้นคว้าทฤษฎีและงานวิจัยจำนวนมาก มีอยู่ 3 ประการด้วยกันค่ะ: 1. แบรนด์ที่ดีจะช่วยขายของได้มากขึ้น แบรนด์ที่มียอดขายสูงในปัจจุบัน เป็นข้อบ่งชี้เบื้องต้นว่าแบรนด์นั้นมีความแข็งแรง โดยเฉพาะในกรณีที่แบรนด์ขายตรงถึงผู้บร […]

read more
19.05.2025 169

Rising Global South : ชายขอบวิวัฒน์ในประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศกำลังพัฒนา (Global South) กำลังนิยามการเติบโตทางเศรษฐกิจ, ความเป็นอยู่ที่ดี และการต่อสู้กับสภาพภูมิอากาศในแบบของตนเอง ประเทศเหล่านี้กำลังแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงด้วยความสามารถในการปรับตัวสูง, การนำเทคโนโลยีมาใช้ และพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจในประเทศของตนเอง คำว่า “Global South” คือกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา มีลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่คล้ายคลึงกัน โดยมักมีรายได้ต่ำและความเหลื่อมล้ำสูง การชี้วัดด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เพียงอย่างเดียวไม่ได้สะท้อนถึงความเป็นอยู่ที่ดีเสมอไป ประเทศเหล่านี้กำลังสร้างโอกาสอันเป็นเอกลักษณ์สำหรับการเติบโตผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรม, หลีกเลี่ยงกระบวนการที่ล้าสมัย และสร้างวิธีการใหม่ในการก้าวหน้าเช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), และเทคโนโลยีดิจิทัล ประเทศกำลังพัฒนาจึงอยู่ในตำแหน่งที่แข็งแกร่งที่จะนำทางในการสร้างศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีและส่งเสริมผู้ประกอบการในเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น บล็อกเชนและแพลตฟอร์มดิจิทัล ช่วยให้สามารถสร้างระบบที่ครอบคลุมได้ เช่น โครงการพลังงานหมุนเวียนหรือโครงสร้างพื้นฐานที่ผลิตโดยชุมชนได้ […]

SuperfansIndex
read more
09.04.2025 205

ลูกค้าหายไปไหน? เข้าใจ Insight เพื่อรักษาฐานลูกค้าให้อยู่กับแบรนด์ได้นานขึ้น

คุณเคยเจอลูกค้าประเภทที่ซื้อครั้งเดียวแล้ว “หายเงียบ” ไปเลยไหม? หลายครั้งที่ลูกค้าไม่พึงพอใจ แต่ไม่เคยบอกตรง ๆ พวกเขาอาจเลือกที่จะไม่กลับมาใช้บริการอีก และเปลี่ยนไปหาแบรนด์อื่นแทน โดยที่คุณไม่มีโอกาสได้รับฟังความคิดเห็น หรือรู้ว่าควรปรับปรุงตรงไหน การเข้าใจเสียงของลูกค้าอย่างแท้จริงจึงเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างแบรนด์ที่แข็งแรงและยั่งยืน ทำไมการรักษาลูกค้าเก่าถึงสำคัญกว่าการหาลูกค้าใหม่? งานวิจัยจาก Harvard Business Review เผยว่า: ต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่ สูงกว่าการรักษาลูกค้าเดิมถึง 5 เท่า ลูกค้าเก่า มีแนวโน้มกลับมาใช้บริการซ้ำ มากกว่าลูกค้าใหม่ถึง 3 เท่า กว่า 50% ของลูกค้าเก่า พร้อมที่จะแนะนำแบรนด์ให้กับคนรอบข้าง ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า “ลูกค้าเก่า” ไม่ได้มีคุณค่าเพียงแค่ยอดขายในปัจจุบัน แต่ยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตในระยะยาว ทำไมแค่ Engagement ถึงไม่เพียงพอ? หลายธุรกิจเชื่อว่าแค่การสร้าง Engagement กับลูกค้า เช่น การมีคอนเทนต์ดีๆ การตอบแชทเร็ว หรือการมีโปรโมชั่น ก็น่าจะเพียงพอแล้วในการสร้างความสัมพันธ์ แต่ในความเป็นจริง Engagement ไม่ได้สะท้อนระดับความพึงพอใจของลูกค้าเส […]

Subscription

เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เทรนด์และวิจัยต่อเนื่อง