Prompt Beauty: มาตรฐานความงามใหม่ในยุคแห่งปัญญาประดิษฐ์
เมื่อไม่นานมานี้เกิดการประกวดความงาม AI ครั้งแรก หรือ Miss AI จัดขึ้นโดย World AI Creator Awards (WAICA) โดยความร่วมมือกับ Fanvue ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเนื้อหาด้าน AI เงินรางวัลของงานนี้มีมูลค่ารวม 20,000 ดอลลาร์ (ประมาณเจ็ดแสนบาท) ทำให้เกิดเป็นที่ตั้งคำถามว่า ความงามจาก AI Generative เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งมีตัวอย่างในปี 2559 การประกวดความงามที่ตัดสินโดย AI รายการ Beauty.AI ที่สนับสนุนโดย Microsoft สร้างกระแสลบที่เกิดขึ้นจากการขาดความหลากหลายในข้อมูล ซึ่งนำไปสู่อัลกอริทึมที่สนับสนุนคนผิวขาวมากกว่าคนผิวสี
แนวคิดหลักเกณฑ์การตัดสินการประกวด
กลับมาสู่ Miss AI โดย WAICA แนวคิดหลักการประกวด ประกอบด้วย 3 สิ่ง คือ
📍 Beauty: ผู้เข้าประกวดจะถูกตัดสินแบบการประกวดดั้งเดิม เช่น ความงาม, บุคลิก และการตอบคำถาม
📍Tech: คะแนนสำหรับทักษะและการใช้เครื่องมือ AI เช่น การ Prompt, Output หรือรายละเอียดในตัวภาพ
📍Social Clout: ประเมินตามจำนวนการมีส่วนร่วม, อัตราการเติบโตของผู้ชม และวิธีการใช้งานร่วมแพลตฟอร์ม
อาจพูดได้ว่าสาวงาม AI แทบจะสมบูรณ์แบบ เพราะทุกอย่างถูกวางแผน และสร้างขึ้น โดยครอบคลุมทั้งรูปร่างหน้าตา ความคิดความอ่านและประเด็นที่สำคัญ คือ ช่องทางการสื่อสาร และสร้างรายได้ ที่เห็นได้จากการใส่ข้อมูลเพื่อส่งผู้เข้าประกวด ชุดคำถามส่วนนี้มีจำนวนมากกว่าส่วนอื่น สิ่งเหล่านี้ทำให้สาวงาม AI มีทุกอย่างที่ตอบโจทย์สิ่งที่จะทำ เช่น เราสามารถสร้างสาวงามผิวสี ลูกครึ่งยุโรป-เอเชีย ที่มีเชื้อสายกลุ่มชาติพันธุ์ เพียงเท่านี้ก็สามารถสร้าง Personality ที่เป็นกระบอกเสียงของ Social Issue ได้อย่างมากมายมหาศาลแล้ว
Virtual เหมือนกัน ต่างกันที่จุดประสงค์ในการสื่อสาร?
แม้ผลลัพธ์จะเป็นการได้ สาวงามที่สร้างขึ้นมา 100% เรื่องความบุคลิกภาพและการสื่อสารคงไม่เป็นปัญหา แต่การทำงาน และช่องทางหารายได้นั้น แตกต่างอะไรจาก Virtual Influencer ที่ได้รับความนิยมให้เป็นตัวแทนของแบรนด์ต่างๆ มากขึ้น เมื่อหน้าตาก็สร้างได้เหมือนกัน น้ำเสียงก็กำหนดได้ จุดตัดสินเล็กๆ อาจเอกลักษณ์ของกองประกวดที่ผลิตตัวแทนสาวงาม (AI) เพื่อภารกิจในการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งอย่างจริงจัง ซึ่งต้องยอมรับว่า แม้ผลลัพธ์จะเป็นการสร้างบุคลิกภาพขึ้นมาแต่ ภาพจำของกองประกวด และ สตูดิโอ ก็มีความต่างกันทั้งเป้าหมาย และวิธีการที่เห็นได้ชัด ซึ่งหากมองตัวอย่าง Virtual Influencer ที่สื่อสารประเด็นที่มากกว่าข้อความจากแบรนด์ อย่าง “Shudu” Digital Supermodel ผิวสี การปรากฎตัวของเธอสร้างภาพจำใหม่ของ Beauty Standard ได้เป็นอย่างดี หรือนอกวงการความงาม ตัวอย่าง “อิงมา” Virtual Human ของไทยที่เป็นกระบอกเสียงเรื่องโรคไข้เลือดออก ตัวอย่างเหล่านี้หากนำไปพัฒนากองประกวด หรือตัวผู้ประกวด AI อาจเพิ่มคุณค่าของเนื้อหาและเป็นตัวเลือกในการใช้ Virtual Influencer ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ “On demand Presenter” ที่สดใหม่ ปรับใช้ได้ตามวัตถุประสงค์
การเข้ามาของ Miss AI อาจสร้างผลกระทบกับอุตสาหกรรมนางงาม และอินฟลูเอนเซอร์แบบดั้งเดิม ถึงแม้ความนิยมของการประกวดนางงามจะมีแนวโน้มลดลง จากคุณค่า และมุมมองที่เปลี่ยนไปในบริบทปัจจุบัน ซ้ำยังต้องมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น แม้มองในรายละเอียดที่ตัวกิจกรรม, รูปแบบการสื่อสาร หรือ ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากการประกวดแบบดั้งเดิมจะทำได้ดีกว่า AI แต่สิ่งที่สำคัญอย่าง ความเร็ว และ บุคลิกภาพที่สดใหม่ ปรับเปลี่ยนได้ ก็เป็นส่วนที่สำคัญที่สร้างอำนาจตัดสินใจระหว่าง มนุษย์ หรือ AI ผู้เข้าประกวดจากฝั่งไหนจะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่ากัน
ผู้เขียน: กัณฑ์ฉัตร สมเหมาะ
ที่มา:
https://wwd.com/eye/people/shudu-digital-fashion-model-avatar-1202683320/
https://www.tnnthailand.com/news/tech/117304/
https://www.nytimes.com/2023/01/23/learning/are-beauty-pageants-still-relevant.html