Baramizi Lab logo

วิจัยอนาคต

read more
30.09.2024 48

วัฒนธรรมกินเจ กับตลาดโปรตีนทางเลือก (Alternative Protein)

เทศกาลกินเจปีนี้ตรงกับช่วงวันที่ 3 ต.ค. – 11 ต.ค. 2567 เป็นระยะเวลา 9 วัน ที่คนไทยจำนวนหนึ่งเลือกที่จะ “กินเจ” คืองดบริโภคเนื้อสัตว์ โดยกินเจมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย ทั้งกินเจเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น, กินเจเพื่อทำบุญ และกินเจเพื่อละเว้นกรรม (ที่เกิดจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต) โดยประมาณการ เม็ดเงินค่าใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ช่วงเทศกาลกินเจน่าจะมีมูลค่าหลายพันล้านบาท อย่างไรก็ตาม นอกจากเทศกาลกินเจที่เกิดขึ้นแล้วจบในช่วงไม่กี่วันในหนึ่งปี เรายังมีไลฟ์สไตล์การงดบริโภคเนื้อสัตว์ที่กินประจำตลอดทั้งปี โดยมีหลากหลายชื่อเรียก ไม่ว่าจะเป็น กินเจ (ที่กินได้หลายแบบ) กินมังสวิรัติ กินแบบวีแกน เหล่านี้มีข้อบังคับการกินที่แตกต่างกันไป ข้อมูลจากชุดข้อมูลวิจัยเทรนด์ Future Food Business Trends 2025 โดยศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซ็ปต์แห่งอนาคต บารามีซี่ แล็บ มีข้อมูลว่า มีคนไทยไม่กินเนื้อสัตว์ 7.8% ของประชากรทั้งหมด จากข้อมูลตลาดดังกล่าวทำให้มองเห็นโอกาสของธุรกิจโปรตีนทางเลือก (Alternative Protein) คือการกินโปรตีนทางเลือกเข้ามาแทนโปรตีนแบบดั้งเดิมที่ผลิตจากระบบปศุสัตว์ ซึ่งอาจประกอบไปด้วยโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว […]

read more
18.09.2024 84

อุตสาหกรรมเกมขาขึ้น กับโอกาสของประเทศไทย

ในช่วงไม่นานมานี้ คอเกมส์น่าจะกำลังเพลิดเพลินอยู่กับเกมส์ Black Myth: Wukong เกม Action RPG ฟอร์มยักษ์ที่ดัดแปลงจากวรรณกรรมคลาสสิคชื่อดังของจีน “ไซอิ๋ว” (Journey to the West)  ล่าสุด ทา Stream DBได้ระบุว่า Black Myth: Wukong กวาดยอดผู้เล่นได้กว่า 1 ล้านคน หลังเปิดให้เล่นภายในระยะเวลาเพียง 30 กว่านาที ถือว่าได้รับความนิยมสูง ตอกย้ำกระแสและความน่าสนใจของเกมนี้ได้เป็นอย่างดี ตลาดเกมส์ทั่วโลกกำลังเติบโต 2.1% จากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว ตลาดเกมส์จะสร้างรายได้ 187.7 พันล้าน $ ในปี 2024 โดยเกมส์คอมพิวเตอร์มีมูลค่า 43.2 พันล้าน $ มีสัดส่วนที่ 23% เกมส์จากเครื่องเล่นเกมส์ (Console) 51.98 พันล้าน $ ด้วยสัดส่วน 28%  ในขณะที่เกมส์มือถือขนาด 92.6 พันล้าน $  กินส่วนแบ่ง 49% อีกหนึ่งสัญญาณที่เป็นตัวชี้วัดการเติบโตของอุตสาหกรรมเกม คือ ‘โพนี่ หม่า’ ซีอีโอ ‘เทนเซ็นต์’ คืนบัลลังก์ ‘มหาเศรษฐีอันดับหนึ่ง’ ของจีนอีกครั้ง! ด้วยทรัพย์สินสุทธิสูงถึง 44,000 ล้านดอลลาร์ (มั่งคั่ง 1.4 ล้านล้านบาท) แซงหน้า “จงซานซาน” เจ้าของแบรนด์น้ำแร่ หนงฟู่ (Nongfu Spring) ที่หล่นไปอยู่ดันดับ 2 ซึ่งปัจจัยหนึ่งคือ […]

Baramizi Lab
read more
17.09.2024 161

อนาคตของอุตสาหกรรมเนื้อหมู: แนวโน้มและโอกาสที่น่าตื่นเต้น

ในปี 2025 อุตสาหกรรมปศุสัตว์จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะในวงการเนื้อหมู ซึ่งเป็นผลมาจากการวิจัยร่วมกันระหว่าง Baramizi Lab และ Zoetis บริษัทเวชภัณฑ์สัตว์ระดับโลก การวิจัยนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้อุตสาหกรรมอาหารเติบโต แต่ยังเปิดโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างแบรนด์สำหรับธุรกิจสินค้าเกษตรและสินค้าแปรรูปจากเนื้อหมูอีกด้วย 1. ผู้บริโภคทานเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ ผู้บริโภคในปัจจุบันให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น อุตสาหกรรมเนื้อหมูจึงต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น เนื้อหมูที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ และมีสารอาหารอย่างโอเมกา 3 ตัวอย่างเช่น ไส้กรอกโอเมกา 3 จาก Wampler’s farm ที่ช่วยเพิ่มคุณค่าด้วยกรดไขมันโอเมกา 3 ของ DHA และ EPA ซึ่งสนับสนุนการพัฒนาของหัวใจและสมอง หรือแพลตฟอร์ม Hakko Hub ที่สนับสนุนการหมักเนื้อสัตว์ ทำให้เนื้อสัตว์ย่อยง่ายขึ้น และเพิ่มความเข้มข้นของวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบี และธาตุเหล็ก 2. ผู้บริโภคทานเพื่อรับประสบการณ์แปลกใหม่ รสชาติและรูปลักษณ์ที่แปลกใหม่กำลังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค วงการอาหารจึงพัฒนาสินค้าและประสบการณ์ให้ครอบคลุมชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่น ก […]

read more
11.09.2024 193

ตลาด Sustainable Fashion กับการเติบโต 22.9% ต่อปี

Sustainable Fashion หรือ แฟชั่นแบบยั่งยืนที่เคยเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ในอุตสาหกรรมแฟชั่นโดยรวม กำลังได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วเนื่องจากผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและจริยธรรมมากขึ้น ในปี 2024 ตลาดแฟชั่นยั่งยืนระดับโลกมีมูลค่า 8.1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2024 และคาดว่าจะเติบโตถึง 33.1 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2033 ด้วยอัตรา CAGR 22.9% ในช่วงคาดการณ์ปี 2024 – 2033 แม้ว่าจะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ผลกระทบของแฟชั่นยั่งยืนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากแบรนด์และผู้ค้าปลีกรายใหญ่ต่างนำแนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนเข้ามาใช้ในธุรกิจของตน การเพิ่มขึ้นของแบรนด์แฟชั่นยั่งยืน ร่วมกับการนำโครงการริเริ่มสีเขียวมาใช้โดยบริษัทที่จัดตั้งขึ้นแล้ว กำลังผลักดันตลาดให้ก้าวไปข้างหน้า พร้อมแรงหนุนจากความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม อุตสาหกรรมแฟชั่นยั่งยืนมีโอกาสอีกมากมาย เช่น ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคที่ต้องการความโปร่งใสในกระบวนการผลิตและการจัดหาวั […]

read more
11.09.2024 213

ทิศทาง Food delivery ทั้งไทยและต่างประเทศ

ตลาด Food Delivery ในไทยปี 2567 ยังมีเทรนด์ที่ลดลงต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้มีการประเมินว่าในปี 2567 มูลค่าตลาด Food Delivery จะอยู่ที่ประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท  หรือหดตัว 1.0% จากปี 2566 แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการสั่งอาหารเฉลี่ยต่อครั้งน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น (Price per Order) ประมาณ 2.8% จากค่าเฉลี่ยในปี 2566 หรือ มีราคาเฉลี่ยประมาณ 185 บาทต่อครั้งของการสั่ง ซึ่งจะมีผลตามมาต่อทั้งจำนวนครั้งและปริมาณการสั่งให้ลดลง ปัจจุบัน ตลาด Food Delivery ในหลายประเทศกำลังเผชิญกับแนวโน้มขาลงไม่ต่างจากประเทศไทย แม้ว่าจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเห็นการเติบโตชะลอตัวเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงและต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น ส่งผลให้บริการต้องปรับราคาให้สูงขึ้นเพื่อรักษากำไร ขณะที่ในญี่ปุ่น การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการจัดส่งและการแข่งขันจากผู้เล่นหลายราย ทำให้บริษัทฟู้ดเดลิเวอรี่ต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดและกำไร  การเติบโตของตลาด Food Delivery ทั่วโลก รายได้ในตลาดบริการจัดส่งอาหารออนไลน์คาดว่าจะสูงถึง 1.22 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567 แล […]

read more
06.09.2024 228

ตลาด Sustainable Dining กับการเติบโต 6.9% ต่อปี

Sustainable Dining หรือ การรับประทานอาหารอย่างยั่งยืนหมายถึงการเลือกอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม แนวทางการรับประทานอาหารนี้เน้นที่การบริโภคอาหารที่ผลิตและเตรียมในลักษณะที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่น การรับประทานอาหารอย่างยั่งยืนอาจเกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติต่างๆ เช่น การเลือกส่วนผสมจากแหล่งท้องถิ่นและออร์แกนิก การลดขยะอาหาร การเลือกอาหารจากพืชและการสนับสนุนร้านอาหารและธุรกิจที่ยึดมั่นในแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน เป้าหมายหลักคือการสร้างระบบอาหารที่สามารถรักษาคนรุ่นต่อไปได้โดยไม่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติหมดสิ้นหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบนิเวศ โดยมูลค่าตลาดอาหารที่ยั่งยืนมีมูลค่า 1,066.2 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2023 และคาดว่าจะถึง 1,945.38 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2032 โดยเติบโตที่อัตรา CAGR 6.91% ตั้งแต่ปี 2024-2032 แนวโน้มเหล่านี้สะท้อนถึงการเคลื่อนไหวที่กว้างขึ้นสู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งขับเคลื่อนโดยความต้องการของผู้บริโภคและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เมื่อการรับประทานอาหารที่ยั่งยืนกลายเป็นกระแสหลักมากขึ้น จึงมีศัก […]

read more
06.09.2024 181

Urban Farming การทำเกษตรในเมือง

ในขณะที่เมืองทั่วโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความจำเป็นในการหาแหล่งอาหารที่ยั่งยืนก็มีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม การทำเกษตรในเมือง ซึ่งเคยเป็นเพียงแค่แนวคิดเล็กๆ กำลังกลายเป็นขบวนการที่ทรงพลังซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการที่เราคิดเกี่ยวกับการผลิตอาหารและการใช้ชีวิตในเมือง โดยการเปลี่ยนหลังคาอาคาร ที่ดินว่างเปล่า หรือแม้แต่ระเบียงเล็กๆ ให้กลายเป็นพื้นที่การเกษตรที่เจริญรุ่งเรือง การทำเกษตรในเมืองเสนอโซลูชั่นใหม่สำหรับการแก้ปัญหาที่สำคัญที่สุดที่เมืองสมัยใหม่กำลังเผชิญ การทำเกษตรในเมืองคืออะไร การทำเกษตรในเมือง หรือ Urban Farming คือ การปลูกอาหารภายในสภาพแวดล้อมของเมือง โดยมักใช้พื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ แตกต่างจากการเกษตรแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้พื้นดินในชนบทอย่างกว้างขวาง การทำเกษตรในเมืองสามารถผสมผสานเข้ากับพื้นที่ของเมืองได้ ซึ่งอาจหมายถึงทุกอย่างตั้งแต่สวนชุมชนในที่ดินว่าง ไปจนถึงฟาร์มแนวตั้งบนด้านข้างของอาคารหรือระบบไฮโดรโปนิกส์ในห้องใต้ดิน ประโยชน์ของการทำเกษตรในเมือง ความยั่งยืนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การทำเกษตรในเมืองมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความยั่งยืน การผลิตอาหารในท้องถิ่ […]

read more
26.08.2024 205

ตลาด Personalized Nutrition กับอัตราการเติบโต 10.78% ต่อปี

Personalized Nutrition หรือ โภชนาการส่วนบุคคล เป็นแนวทางใหม่ที่ปรับคำแนะนำด้านโภชนาการและการแทรกแซงให้เหมาะกับองค์ประกอบทางพันธุกรรม ไลฟ์สไตล์ ไมโครไบโอม และข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล โดยคำนึงถึงปัจจัยทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมเฉพาะตัวที่ส่งผลต่อสุขภาพและความสมบูรณ์แข็งแรงของแต่ละบุคคล ปัจจุบันตลาดโภชนาการส่วนบุคคลทั่วโลกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยขับเคลื่อนด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ ความตระหนักรู้ของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น และการเพิ่มขึ้นของแพลตฟอร์มสุขภาพดิจิทัล จากการวิจัยตลาดของ Zion พบว่าขนาดตลาดโภชนาการส่วนบุคคลทั่วโลกมีมูลค่า 15,330 ล้านดอลลาร์ในปี 2023 และคาดว่าจะเติบโตถึง 38,520 ล้านดอลลาร์ในปี 2032 โดยมีอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้นประมาณ 10.78% ตั้งแต่ปี 2024 ถึง 2032   เมื่อมองไปยังอนาคต ธุรกิจด้านโภชนาการส่วนบุคคลมีแนวโน้มที่จะซับซ้อนยิ่งขึ้นด้วยการผสานรวมกับปัญญาประดิษฐ์และช่วยให้สามารถให้คำแนะนำด้านโภชนาการที่แม่นยำมากขึ้น ประโยชน์ของโภชนาการส่วนบุคคลนั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะมอบผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้น การป้องกันโรคและความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายของแต่ละบุคคลตอบสนองต่ออาหาร […]

read more
20.08.2024 238

สถานการณ์ E-commerce ในประเทศไทย

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาด E-commerce ในประเทศไทยได้เติบโตอย่างรวดเร็วและกลายเป็นหนึ่งในกลุ่มตลาดที่มีความเคลื่อนไหวสูงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเติบโตนี้ได้รับแรงผลักดันจากการเพิ่มขึ้นของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์มือถือ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่หันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้นในการจับจ่ายใช้สอย ที่มีผลต่อเนื่องมากจากช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาดนั่นเอง โดยข้อมูลจาก Statista คาดการณ์ว่ารายได้ในตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยจะสูงถึง 19.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2024 และคาดว่ารายได้จะแสดงอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR 2024-2029) ที่ 10.89% ส่งผลให้มีปริมาณตลาดที่คาดการณ์ไว้ที่ 32.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2029   หนึ่งในแอปพลิเคชั่น e-commerce ที่ได้รับความนิยมสูงในประเทศไทยคือ Shopee แอปนี้เป็นที่รู้จักดีในฐานะตลาดออนไลน์ที่มีสินค้าหลากหลายประเภทตั้งแต่แฟชั่นและเครื่องสำอางไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และของใช้ในบ้าน Shopee ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วด้วยการนำเสนอโปรโมชั่นที่ดึงดูดใจและประสบการณ์การช็อปปิ้งที่สะดวกสบาย อีกหนึ่งแอปพลิเคชั่นที่มีบทบาทส […]

read more
16.08.2024 191

โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาแบรนด์ Aro

Objective : ลูกค้าต้องการพัฒนา Brand Perception และ พัฒนา Master Desgn ของบรรจุภัณฑ์แบรนด์ Aro ซึ่งเป็น House Brand ของ Makro มีความสงสัยว่าสินค้าคุณภาพดีและราคาถูกแต่ทำไมยอดขายถึงไม่ดี โดยสินค้ามีครอบคลุมตั้งแต่ Food ไปจนถึง Non-food  Methodology : ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความพรีเมี่ยมมากขึ้นเลยเพิ่มสีดำเข้าไป มีการคำนวณว่าต้องใช้สีดำมากหรือน้อยแค่ไหนถึงจะกำลังดี มีการทำวิจัยเชิงปริมาณที่หน้าสาขา Makro โดยส่วนใหญ่สัมภาษณ์กับลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ Key Finding : ค้นพบว่าลูกค้ายังมี Perception ที่มองว่าแบรนด์ Aro เป็น สินค้าราคาถูก เป็นสินค้าที่ไม่มีคุณภาพเลยทำให้รู้สึกผิดไม่กล้าซื้อมาใช้ จึงเลือกซื้อสินค้าประเภททิชชู่กับไม้จิ้มฟันซะส่วนใหญ่ Outcome : มีการปรับภาพลักษณ์เดิมให้ดูพรีเมี่ยมมากขึ้นด้วยการใช้สีดำที่มีปริมาณกำลังดี  เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ เพิ่มลวดลายลงในบรรจุภัณฑ์และตัดสินค้าที่เป็น Non-Food ที่ห่างไกลมากๆ ออกไป เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ และใช้แบรนด์ชื่อ Pro Choice แทน