ทำไม HYBRID DATA จึงสำคัญในการสร้างพลังของแบรนด์ การมี DATA ในมือเปรียบเหมือนการมีอาวุธสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ!!!
การมี Data ในมือเปรียบเหมือนการมีอาวุธสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ!!!
โจทย์ใหญ่ๆ ทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้น เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ
Exploration Program เพื่อการขุดค้น ค้นหาสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เพื่อให้เกิด Wow หรือการสร้างของใหม่ที่ลูกค้าไม่เคยเจอ ผ่านการค้นหาให้เจอ Unmet Needs ที่แม้ตัวลูกค้าเองก็ไม่สามารถบอกได้เอง และโจทย์อีกแนวทางคือ
Evaluation Program หรือการตรวจสอบสิ่งที่มีอยู่ เช่น ความชอบไม่ชอบ การวัดผล ประเมินในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว
(สามารถฟังเนื้อหา 2 โปรแกรมนี้เพิ่มเติมได้ที่ Podcast ในรายการ Future Research Podcast ผ่านช่องทาง Spotify)
และเพื่อให้การเก็บ Data นั้นเป็นประโยชน์ (Meaningful Data) เพื่อเพิ่มพลังแบรนด์ การวางโครงสร้างของการจัดทำข้อมูล จึงเป็นสิ่งสำคัญ จากภาพด้านล่างนี้
จะเห็นได้ว่าการจะได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ (ในขั้นตอนที่ 4) ซึ่งเป็นข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาธุรกิจ ในขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือ กระบวนการ Data Analysis&Traslation ที่เราต้องมีกรอบการวิจัยที่ชัดเจน และทฤษฎีที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้การเก็บข้อมูลจากแหล่งที่มาต่างๆ (ในขั้นตอนที่ 1) มีทิศทางในการเก็บและสอดรับกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเก็บ และด้วยโลกยุคแห่ง Digital ที่ผู้คนสามารถรับสื่อต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ได้มากขึ้น จึงทำให้การเก็บข้อมูลต่างๆ ได้มีการผสมผสานเครื่องมือการเก็บข้อมูลแบบ #HybridData ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ทั้งรูปแบบเดิม และรูปแบบใหม่ ซึ่งเราสามารถจำแนกแหล่งที่มาของ Data ได้ดังนี้
แหล่งที่มาของ Data
รูปแบบที่ 1 คือ การเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคด้วยคําถามที่มีโครงสร้าง หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นการเก็บเพราะมีโจทย์ทางธุรกิจ ซึ่งเราสามารถแบ่งย่อยรูปแบบการเก็บได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ และการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ
รูปแบบที่ 2 คือการเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่วิ่งอยู่อย่างต่อเนื่องและเป็นอิสระจากบนโลกสังคมออนไลน์ เช่น ข้อมูลจาก Social Listening ที่สามารถเก็บข้อมูลได้บนโลกออนไลน์ที่มี data จำนวนมาก โดยมีข้อดีคือ การเห็นภาพรวมเชิงทิศทางที่เกิดขึ้นทันที ค้นพบความสนใจแบบธรรมชาติ และยังสามารถทำการเปรียบเทียบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รูปแบบที่ 3 แหล่งข้อมูลการติดตาม Movement ด้าน Future Trend และ Future Insight โดยเก็บจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิต่างๆ ที่ให้มุมมองด้านเทรนด์และแนวโน้มความต้องการใหม่ๆ ของผู้บริโภค
รูปแบบที่ 4 ข้อมูลติดตามพฤติกรรมจาก paltform ของแบรนด์เอง เช่น การวางแผนเก็บข้อมูลพฤติกรรมของ User ในหนึ่ง Platform โดยมีการวางแผนอย่างรอบคอบว่าจะเก็บผ่านอะไร และนำอะไรไปใช้ เช่น Customer Service การซื้อขายใน Application หรือ เว็ปไซต์ การใช้งาน Device ตลอดจนการใช้จ่ายต่างๆ
(อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเก็บ Data และตัวอย่างผลลัพทธ์ Data)
(เนื้อหาจากการสัมมนาออนไลน์ Branding Tech รับชม VDO สัมมนาออนไลน์)