เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแบรนด์เราสุขภาพดีแค่ไหน?
ในหลายๆ ธุรกิจมักจะนึกถึงยอดขายที่จะทำให้รู้สึกว่าแบรนด์เรายังมีลูกค้าซึ่งก็ส่งผลต่อสุขภาพของแบรนด์ได้เช่นเดียวกัน แต่แท้ที่จริงแล้วแบรนด์คุณอาจจะสุขภาพไม่ดีก็ได้ เหมือนร่างกายคนถ้าไม่ไปตรวจสุขภาพเราก็จะไม่รู้ว่าข้างในร่างกายเป็นอย่างไร ทั้งๆ ที่ภายนอกเรายังรู้สึกปกติอยู่ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเกิดปัญหา และอาจส่งผลให้ปัญหานั้นลามใหญ่โตซึ่งต้องใช้ทั้งเงินและเวลาในการแก้ไข การวิจัยตรวจสอบสุขภาพแบรนด์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์ควรจะทำอย่างต่อเนื่อง เปรียบเหมือนการเอ๊กซเรย์แบรนด์…เพราะหากรู้ก่อนย่อมสามารถแก้ปัญหาได้เร็วกว่า จากภาพข้างต้นหากทุกแท่งมีฐานที่กว้าง การันตีได้เลยว่าแบรนด์คุณสุขภาพดี เพราะการลงงบไปกับสื่อหรือการสร้างประสบการณ์นั้นสามารถได้ใจลูกค้าจนเกิดความเป็น Superfans ได้ (ความเป็น Superfans ของแบรนด์ คือ ขั้นสุดที่แบรนด์ควรไปให้ถึงและเก็บให้ได้มากที่สุด หรือที่เราเรียกว่า สาวกของแบรนด์) รูปแบบการตรวสอบสุขภาพแบรนด์ โดยทั่วไปสามารถพบได้ 3 รูปแบบ 1.การวิจัยเพื่อตรวจสอบรายปี เหมาะสำหรับแบรนด์/ องค์กรที่มีการลงงบการตลาด การทำแคมเปญต่างๆ ในช่วงระหว่างปี เพื่อให้เราสามารถรู้ได้ว่ารู […]
โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาแบรนด์ Aro
Objective : ลูกค้าต้องการพัฒนา Brand Perception และ พัฒนา Master Desgn ของบรรจุภัณฑ์แบรนด์ Aro ซึ่งเป็น House Brand ของ Makro มีความสงสัยว่าสินค้าคุณภาพดีและราคาถูกแต่ทำไมยอดขายถึงไม่ดี โดยสินค้ามีครอบคลุมตั้งแต่ Food ไปจนถึง Non-food Methodology : ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความพรีเมี่ยมมากขึ้นเลยเพิ่มสีดำเข้าไป มีการคำนวณว่าต้องใช้สีดำมากหรือน้อยแค่ไหนถึงจะกำลังดี มีการทำวิจัยเชิงปริมาณที่หน้าสาขา Makro โดยส่วนใหญ่สัมภาษณ์กับลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ Key Finding : ค้นพบว่าลูกค้ายังมี Perception ที่มองว่าแบรนด์ Aro เป็น สินค้าราคาถูก เป็นสินค้าที่ไม่มีคุณภาพเลยทำให้รู้สึกผิดไม่กล้าซื้อมาใช้ จึงเลือกซื้อสินค้าประเภททิชชู่กับไม้จิ้มฟันซะส่วนใหญ่ Outcome : มีการปรับภาพลักษณ์เดิมให้ดูพรีเมี่ยมมากขึ้นด้วยการใช้สีดำที่มีปริมาณกำลังดี เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ เพิ่มลวดลายลงในบรรจุภัณฑ์และตัดสินค้าที่เป็น Non-Food ที่ห่างไกลมากๆ ออกไป เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ และใช้แบรนด์ชื่อ Pro Choice แทน
โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการตลาดสินค้า ทาโร่ แซนด์วิช ชีส
Objective : ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการตลาดของสินค้า เนื่องจากทีมมาร์เก็ตติ้งมีโจทย์ในการออกสินค้าใหม่เป็นประจำซึ่งหนึ่งในนั้นก็ คือ ทาโร่แซนด์วิชชีสที่ได้รับการตอบรับที่ดีในช่วง 2-3 เดือนแรกก่อนยอดจะตกลงและคงที่ต่อเนื่อง เลยอยากวิจัยเพื่อเข้าใจสาเหตุที่ยอดตก ทั้งนี้ทางทีมเองก็แอบมีไอเดียสำหรับสินค้าใหม่เลยอยากให้วิเคราะห์เจาะลึกว่าควรปล่อยวางขายตอนไหนและตอบโจทย์ลูกค้าหรือไม่ Methodology : มีการใช้ Face to face Interview ทั้ง Qualitative กับ Quantitative Research และมีการชิมผลิตภัณฑ์ด้วย Key Finding : ค้บพบว่าความเห็นส่วนใหญ่คือ สินค้ามีราคาแพง ปริมาณน้อยทำให้รู้สึกไม่คุ้มค่า สินค้ามีชีสแน่นมาก คนที่ชอบกินชีสมากหรือน้อยจะมีผลต่อการชื่นชอบต่างกันอย่างไร สามารถ แบ่งส่วนตลาดกลุ่มเป้าหมายด้วย ทัศนคติที่มีต่อการทานของว่าง (Snack Attitude) และ Occassion การซื้อขนมโดยอันดับแรก คือ ซื้อมาเพื่อแบ่งปัน อันดับสอง คือ ซื้อมากินเพื่อความสุข นอกจากนี้ยังค้นพบว่าแฟนคลับของสินค้าตัวนี้ค่อนข้าง Niche ที่ยอดขายดีในช่วงแรกๆ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ออกมาใหม่ Outcome : พบโอกาสจากกลุ่มลูกค้าที่เป็น Cheese Lover […]
โครงการวิจัยเพื่อศึกษาการแบ่งส่วนตลาดนักท่องเที่ยวภายในประเทศไทยด้วยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
Objective : งานวิจัยการศึกษาการแบ่งส่วนตลาดนักท่องเที่ยวภายในประเทศไทยด้วยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เป็นการเที่ยวแบบสร้างสรรค์เรื่องราวและเสพเรื่องราว หาวิธีการทำอย่างไรถึงจะเกิดนักท่องเที่ยวแนวนี้โดยโฟกัสตลาดในประเทศ ทำอย่างไรจึงจะกระตุ้นการเดินทางได้มากขึ้นและทำให้การท่องเที่ยวมีมูลค่าสูงมากขึ้น พร้อมคาดการณ์พฤติกรรมการท่องเที่ยวหลังโควิด Methodology : ศึกษาพฤติกรรมท่องเที่ยวชาวไทยทั่วประเทศโดยเก็บกลุ่มตัวอย่างทั้งเชิงคุณภาพ 120 และเชิงปริมาณ 6,150 ตัวอย่าง อิงจังหวัดตามตัวแทนประเทศร่วมกว่า 30 กว่าจังหวัด มีการใช้ Face to Face interview เรื่องราวที่ดึงดูดความสนใจในการท่องเที่ยวโดยใช้ Qualitative และใช้ User Co-creation เพื่อสร้างเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ๆ Key Finding : ค้นพบนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ชอบท่องเที่ยวแบบเสพเรื่องราวซึ่งทำให้มีแนวโน้มการเกิดนักท่องเที่ยวผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งบางคนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน คือ พักนานกว่า จ่ายมากกว่าและยอมเดินทางไกลมากขึ้น แบ่งออกเป็นกลุ่มท่องเที่ยว 9 กลุ่ม ดังนี้ Challenge mind & local heart Expert Traveler Self Defining More story experience Inspir […]
โครงการพัฒนา Brand Experience Design ของ Kitchen Studio
Objective : Kitchen Studio เป็นแบรนด์ในเครือของบุญถาวรที่พัฒนาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับห้องครัว ต้องการทำ Customer Journey, Prototype design, Brand experience design และ Detail Identity อยากพัฒนาแบรนด์ให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่อยากปรับปรุงครัวและอยากหาวิธีการให้คนอยากรีโนเวทห้องครัวให้มากขึ้น ค้นหาเหตุผลว่าทำไมเขาถึงควรรีโนเวทและหาวิธีกระตุ้นให้เขาตัดสินใจโดยนึกถึง Kitchen Studio เป็นที่แรก การเจาะกลุ่มเป้าหมายจึงเป็นคนที่รีโนเวทครัวทั่วไป มีทั้งคนที่จบด้วยการจ้างรับเหมาหรือใช้แบรนด์สำเร็จรูป Methodology : หา Insignt วิจัยเชิงคุณภาพโดยการทำ Focus group เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างที่ต้องการมองหาครัวสามารถสัมผัสกับประสบการณ์ของร้านค้าที่ตอโจทย์ รวมถึงมีการวิจัยแบบ Home visit คนที่พึ่งรีโนเวทครัวมาใหม่ๆ Key Finding : ค้นพบเหตุผลที่คนรีโนเวทครัวเพราะครัวเป็นจุดศูนย์รวมความสัมพันธ์ภายในบ้าน เป็นพื้นที่ที่มีกิจกรรมร่วมกัน มีโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นและค้นพบ segmentation ของคนทำครัวทั้ง 5 แบบ ได้แก่ Heavy cooker & eater ชอบทำอาหารทานเองทุกวันและมีอุปกรณ์ครัวครบครัน Normal cook […]
ธุรกิจยุคใหม่ต้องใช้ข้อมูลทำงาน!
ธุรกิจยุคใหม่ต้องใช้ข้อมูลทำงาน! วลีที่พูดที่ไหนก็คงเห็นด้วยที่นั่น งั้นเราไม่ต้อง Start with Why! กันแล้ว😁เราไป “How” กันเลยดีมั้ยคะ #บทความโดย ปรมา ทิพย์ธนทรัพย์ (หัวหน้าทีมนักวิจัยแห่งศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต บารามีซี่ แล็บ) เชื่อว่าผู้บริหาร นักการตลาด และผู้ประกอบการในยุคนี้เราถูกปลูกฝังจนจำขึ้นใจว่าในการทำธุรกิจ ทำการตลาด และการสร้างแบรนด์ในยุคนี้ และทุกคนก็น่าจะมีการลงมือปฏิบัติบ้างไม่มากก็น้อยแน่นอน วันนี้ Baramizi Lab ขอนำประสบการณ์ที่ทำงานด้านนี้โดยตรงร่วมกับหน่วยงานขนาดใหญ่/เล็ก ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมาแบ่งปันกันค่ะ 1. ธุรกิจ/หน่วยงานจะใช้ข้อมูลทำอะไรได้บ้าง? (Using Occasion) หน่วยงานรัฐและองค์กรธุรกิจ ใช้ข้อมูลได้ทั้งหมด 3 โอกาสใหญ่ๆ ค่ะ 1.1 โอกาสในการค้นหาโอกาสในการพัฒนาอะไรใหม่ๆ ที่ทำให้ธุรกิจเติบโต โอกาสนี้สำคัญมากเลยค่ะถ้าคุณเป็นธุรกิจที่ยังถวิลหาการเติบโตอยู่ ซึ่งในยุคนี้การเติบโตได้นั้นจำเป็นต้องคิดอะไรใหม่ๆ ที่เข้ามาตอบพื้นที่ความต้องการที่ว่างอยู่ (Whitespace Area) ข้อมูลที่ได้จะสำคัญต่อการนำไปตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ โจทย์การหาโอกาสพัฒนาอะไรใหม่ๆ […]
โครงการพัฒนาต้นแบบร้าน KFC สาขารัตนธิเบศร์
Objective : พัฒนาต้นแบบร้าน KFC สาขารัตนธิเบศร์ Action : มีการทำวิจัยด้าน Research Element Design เพื่อให้ตรงกับความต้องการของคนในประเทศไทย โดยอ้างอิง Manual Book ของทาง KFC และดูว่าสามารถแข่งขันกับ McDonald’s ได้หรือไม่ มีการทำรีเสิร์ชในร้าน KFC ทั้งสามสาขา เพื่อค้นหาว่าลูกค้าประทับใจโซนไหนภายในร้าน อาทิโซนครัชเชอร์ควรอยู่ตรงไหน จัดลำดับความสำคัญของพื้นที่แต่ละจุดเพื่อที่จะได้ลด Budget ในส่วนที่ไม่สำคัญ Result : Zoning Design ต่างๆ ตอบโจทย์ลูกค้าคนไทยและตรงตาม Manual Book ที่ได้รับมาโดยไม่มีความเห็นคิดเห็นในแง่ลบ แต่อาจจะต้องมีการปรับสัดส่วนขนาดของ Zoning ตามสถานที่ตั้งของร้าน เช่น Esplanade ซึ่งเป็นห้างที่มีไว้สำหรับเน้นดูหนังจึงควรมีโซนสำหรับคนที่รีบกินเพื่อไปดูหนัง สำหรับโซนครัชเชอร์ได้มีการจัดให้ตั้งอยู่หน้าร้านเพื่อเพิ่ม Traffic ระหว่างวันและสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
โครงการพัฒนาต้นแบบร้าน และประสบการณ์บนโต๊ะอาหารร้าน BarBQ Plaza
Objective : พัฒนาต้นแบบร้าน ประสบการณ์บนโต๊ะอาหาร และปรับภาพลักษณ์ของร้านใหม่ Action : เป็นโปรเจ็กต์ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2010 ที่เริ่มจากการทำต้นแบบร้าน จนกระทั่งถึงปี 2012 ได้มีการรีเสิร์ชแล้วเจอ Element ใหม่ๆ ทำให้ต้องมีการแก้ Direction ได้เสนอทำ Experience on the Table Research โดยเน้นคนกินปิ้งย่างกับคนไม่กินปิ้งย่าง และกลุ่มลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ที่ชอบกินปิ้งย่าง และมีโอกาสกินร้าน BBQ Plaza เพื่อดูมุมมองของพวกเขา หากกลุ่มลูกค้าเดิมมีความชอบอะไรในตัวของร้านก็จะคงส่วนนั้นเอาไว้ ได้มีการมองหา Why behind What ซึ่งเริ่มมาจากปัญหาของลูกค้าที่กลัวหัวเหม็นเพราะควันปิ้งย่าง แต่ก็ไม่อยากทำท่อดูดควันแบบ Hood เพราะจะทำให้เสียบรรยากาศ บังหน้าคนที่มาร่วมโต๊ะและทำให้ไม่มีความเป็น Most Enjoyable Meal มีการแก้ไขปัญหาที่ลูกค้าบอกว่าแบรนด์ดูไม่จริงใจเพราะเอาผักยัดใต้หมู เนื้อดูไม่พรีเมี่ยมเพราะจานเมลานินสีชมพูและแก้กระทะเดิมเพราะไม่สะดวกต่อการกินและก่อให้เกิดอันตรายกับเด็กได้ Result : BBQ plaza ได้มีการเดินท่อดูดควันไว้ใต้พื้นของร้านแล้วใช้ที่ดูดควันแบบติดโต๊ะแทนทำให้ยังคงความเป็น Most Enjoyab […]
🎯 ติดอาวุธให้การขับเคลื่อนธุรกิจ ด้วยการมี DATA ในมือ 🎯 เพิ่มพลังให้กับแบรนด์และธุรกิจของคุณ ด้วยโจทย์การทำข้อมูลเพื่อ “ค้นหา” และ “ตรวจสอบ”
โจทย์ที่ 1: Exploration Program – ติดอาวุธจากการทำชุด Data เพื่อการค้นหาโอกาสใหม่ๆ การสำรวจข้อมูล โดยอาศัย “FutureLab Research” เพื่อดึงหาความต้องการเชิงลึก (Unmet Needs) ที่ซ่อนอยู่ แม้กระทั่งข้อมูลที่ตัวผู้บริโภค ทั้งกลุ่มว่าที่ลูกค้าและลูกค้ากลุ่มเดิมของเราก็อาจจะไม่เคยรู้ถึงความต้องการในสินค้าหรือบริการนั้นๆ หากธุรกิจและแบรนด์ต้องการค้นหาไอเดียใหม่ๆ สำหรับปรับปรุง พัฒนาการออกแบบสินค้าและบริการ รวมไปถึงหาทิศทางในการสื่อสาร หรือสร้างบรรยากาศของแบรนด์ ต้องอาศัย “Exploration Program” โจทย์ 2: Evaluation Program – เพิ่มความแข็งแรงด้วยการทำชุด Data เพื่อตรวจสอบสิ่งที่ทำไปแล้ว วิธีนี้เป็นการตรวจสอบหรือวัดระดับสิ่งที่แบรนด์และธุรกิจได้ดำเนินการไปแล้ว รวมทั้งทำความเข้าใจกระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภคในช่วงเวลาที่ผ่านมา เช่น ความชอบ ไม่ชอบ ของลูกค้าด้วย ถ้าธุรกิจของคุณอยากขับเคลื่อนด้วย DATA เพราะธุรกิจยุคใหม่ ต้องใช้ข้อมูลทำงาน สามารถติดต่อการทำวิจัยเพื่อหาอนาคต Future Lab Research กับบารามีซี่ แล็บ ได้ที่ช่องทางติดต่อ FACEBOOK :Baramizi Lab LINE OA : https://lin.ee/1JZO7Nc Email : cont […]
ตอนนี้ FUTURE LAB อย่าง BARAMIZI LAB ทำงานอะไรอยู่บ้าง? WHAT WE’RE DOING? และมีผลงานอะไรบ้างตอนนี้?
รู้สึกแปลกใจมั้ยคะว่า เอ…ศูนย์วิจัย เทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคตหรือเราเรียกอย่างย่อๆ ว่า Future Lab ทำงานอะไรบ้าง ใครกันนะที่ต้องใช้บริการ ศูนย์วิจัยฯ ประเภทนี้ 😆😆ตอนนี้งานที่ Baramizi Lab กำลังดูแลมีทั้งงานภาครัฐ ภาคเอกชนค่ะ หน้าที่ของเราคือการวิจัยเจาะลึกเพื่อค้นหาโอกาสใหม่ๆ ให้ธุรกิจและการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นงานที่เรารู้สึกเป็นเกียรติมากที่ได้กับโอกาสจากลูกค้าให้ได้ดูแลงานลักษณะนี้ เพราะมันล้วนมีความสำคัญต่ออนาคตของแบรนด์และบางโปรเจกต์ก็สัมพันธ์กับอนาคตของประเทศ โดยงานวิจัยที่ Baramizi Lab ทำจะแบ่งออกเป็น 1.โครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนากลยุทธ์สินค้า Future Lab Research for Strategic Roadmap Design โครงการนี้น่าตื่นเต้นมากค่ะเพราะ Future Lab ต้องทำหน้าที่ดึงศักยภาพ องค์ความรู้ และประสบการณ์ของทั้งททท.และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงการการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้ออกมาเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาแนวทางการทำงานด้านสินค้า และ ธุรกิจท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และต้องนำมาซึ่งการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนให้กับสินค้าการท่องเที่ยวที่พวกเราชาวไทยควรพัฒนาให้รับกับเทรนด์ความเปลี่ยนแปลงของโลกและค […]