Baramizi Lab logo

ธุรกิจยุคใหม่ต้องใช้ข้อมูลทำงาน!

ธุรกิจยุคใหม่ต้องใช้ข้อมูลทำงาน!

ธุรกิจยุคใหม่ต้องใช้ข้อมูลทำงาน! วลีที่พูดที่ไหนก็คงเห็นด้วยที่นั่น งั้นเราไม่ต้อง Start with Why! กันแล้ว😁เราไป “How” กันเลยดีมั้ยคะ #บทความโดย ปรมา ทิพย์ธนทรัพย์ (หัวหน้าทีมนักวิจัยแห่งศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต บารามีซี่ แล็บ)

เชื่อว่าผู้บริหาร นักการตลาด และผู้ประกอบการในยุคนี้เราถูกปลูกฝังจนจำขึ้นใจว่าในการทำธุรกิจ ทำการตลาด และการสร้างแบรนด์ในยุคนี้ และทุกคนก็น่าจะมีการลงมือปฏิบัติบ้างไม่มากก็น้อยแน่นอน วันนี้ Baramizi Lab ขอนำประสบการณ์ที่ทำงานด้านนี้โดยตรงร่วมกับหน่วยงานขนาดใหญ่/เล็ก ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมาแบ่งปันกันค่ะ

1. ธุรกิจ/หน่วยงานจะใช้ข้อมูลทำอะไรได้บ้าง? (Using Occasion) หน่วยงานรัฐและองค์กรธุรกิจ

ใช้ข้อมูลได้ทั้งหมด 3 โอกาสใหญ่ๆ ค่ะ

1.1 โอกาสในการค้นหาโอกาสในการพัฒนาอะไรใหม่ๆ ที่ทำให้ธุรกิจเติบโต

โอกาสนี้สำคัญมากเลยค่ะถ้าคุณเป็นธุรกิจที่ยังถวิลหาการเติบโตอยู่ ซึ่งในยุคนี้การเติบโตได้นั้นจำเป็นต้องคิดอะไรใหม่ๆ ที่เข้ามาตอบพื้นที่ความต้องการที่ว่างอยู่ (Whitespace Area) ข้อมูลที่ได้จะสำคัญต่อการนำไปตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ โจทย์การหาโอกาสพัฒนาอะไรใหม่ๆ เป็นโจทย์ที่ Baramizi Lab ได้รับบ่อยที่สุดและถนัดที่สุดเลยค่ะ โจทย์ที่เจอมีหลากหลายระดับของความใหม่

– Brand & Business Transformation โจทย์ใหญ่สุดที่อยู่คู่กับ Baramizi Lab มายาวนานเพราะรากของ Baramizi Lab เกิดจาก Baramizi Group ที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านการสร้างแบรนด์และพัฒนาธุรกิจ โจทย์นี้ท้าทาย เราต้องหาอะไรใหม่ๆ ในหลายระดับให้กับแบรนด์ตั้งแต่ โอกาสในการกำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ การค้นหาโอกาสการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ การสร้างสินค้าและบริการใหม่ๆ เพื่อมาประกอบเป็นวัตถุดิบสำคัญของการกำหนดกลยุทธ์ในการ Transform แบรนด์เพื่อคว้าโอกาสในโลกอนาคตต่อไป โจทย์สำคัญแบบนี้การวิจัยต้องเป็นไปในลักษณะ Foresight เพื่อหาอนาคต

– New Innovation Creation การค้นหาไอเดียสร้างสรรค์ Innovation ใหม่ๆ ให้กับองค์กร โจทย์นี้หลายองค์กรใช้ Design Thinking เข้ามาเป็น Process ให้คนในองค์กรคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมซึ่งในกระบวนการมีขั้นตอนที่ต้อง Empathize ซึ่งก็จะทำให้ได้ข้อมูล “Insight” และ “Pain Point” แต่จริงๆ แล้วตัวช่วยที่สำคัญอีกตัวที่จะช่วยให้สามารถ Ideate ได้ดีมากๆ คือข้อมูลวิจัยเทรนด์

– New Innovation Launch เมื่อเกิดคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ได้แล้ว การจะนำนวัตกรรมเข้าตลาดก็เป็นเรื่องที่ท้าทาย จะทำยังไงให้ผู้บริโภคเป้าหมายยอมรับและเข้าใจว่ามันจะทำให้ชีวิตพวกเขาดีขึ้นกว่าเดิม จะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคยอมรับการเปลี่ยนพฤติกรรม การวิจัยในโจทย์ลักษณะแบบนี้คือการที่ต้องเข้าใจพฤติกรรมปัจจุบันของกลุ่มเป้าหมายมากๆ และทดสอบความเป็นไปได้ของการยอมรับพฤติกรรมใหม่ๆ และความเต็มใจที่จะจ่าย

– New Product & New Service Development ค้นหาโอกาสการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ตลอดจนการนำพาสินค้าใหม่เข้าตลาด

– New Brand Creation การสร้างแบรนด์สินค้าและค้นหาโอกาสในการเข้าตลาดของแบรนด์สินค้าใหม่ น่าจะยังมีโจทย์ในการค้นหาอะไรใหม่ๆ อีกมากถ้าคุณผู้อ่านมีโจทย์อะไรที่น่าสนใจ เอามาแลกเปลี่ยนกันได้นะคะ

1.2 โอกาสในการค้นหาแนวทางการกระตุ้นการขาย/ การใช้บริการของกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเรื่อง

โจทย์นี้เชื่อว่าเกิดขึ้นในหลายๆ องค์กร Baramizi Lab ก็ได้รับโจทย์ลักษณะนี้บ่อยๆ ค่ะ

– โจทย์การพัฒนาต้นแบบร้านค้าใหม่ (Retail Prototype) ธุรกิจที่มีหน้าร้านส่วนใหญ่ต้องให้ความสำคัญกับประสบการณ์หน้าร้าน เพราะหน้าร้านคือ Touch Point สำคัญของการสร้างแบรนด์ที่ทำหน้าที่เป็นทั้งพื้นที่ขายและพื้นที่สื่อสารไปในตัว โจทย์สำคัญที่เราเคยได้รับการท้าทาย เซ่น ต้นแบบร้าน Barbq Plaza ใหม่, ต้นแบบโซน Kitchen Studio ของบุญถาวร, ต้นแบบร้าน Jaymart, ต้นแบบร้าน SCG Home, TCDC Common (ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบสาขา Communication Design @ Ideo สามย่าน) เป็นต้น

– โจทย์การพัฒนากลยุทธ์ทางการออกแบบ (Design Strategy) เป็นการวิจัยการออกแบบ (Design Research) เพื่อสร้างสรรค์โจทย์ทางการออกแบบ (Design Brief) เพื่อให้นักออกแบบสามารถมีทิศทางในการออกแบบที่ตรงโจทย์ ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย และบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ

– โจทย์การปรับภาพลักษณ์แบรนด์สินค้าใหม่ด้วยการออกแบบ Packaging (Product Experience)

– โจทย์การพัฒนาการออกแบบบริการ (Service Design) – โจทย์การสร้างสรรค์แคมเปญทางการสื่อสารแบรนด์ (Communication Experience)

– โจทย์การเจาะลึกทำความเข้าใจสถานการณ์ยอดขายตกและค้นหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการขาย โจทย์ที่เฉพาะเจาะจงที่เกี่ยวพันกับการพัฒนาองค์ประกอบต่างๆ ของธุรกิจมีอะไรได้อีกบ้างลองแชร์กันนะคะว่า Baramizi Lab เคยทำมั้ย หรือนำมาปรึกษากันได้ค่ะว่าเจอโจทย์แบบนี้ควรหาข้อมูลแบบไหนดี

1.3 โอกาสในการประเมิน/ วัดผลการดำเนินงานของทีมทำงาน

โจทย์กลุ่มนี้สำคัญกับธุรกิจไม่แพ้กันกับโจทย์กลุ่มอื่นๆ การติดตามประเมินผลนอกจากจะทำให้องค์กรไหวตัวทัน ปรับตัวปรับกลยุทธ์ได้ไวแล้วการเก็บข้อมูลในโจทย์นี้จะทำให้องค์กรเกิดองค์ความรู้เฉพาะขององค์กรเองในการดำเนินงานในสายธุรกิจของตน และนอกจากนี้พอองค์กรเริ่มเติบใหญ่ขึ้น การมีข้อมูลประเภทการประเมินนี้ยังสามารถใช้สร้าง KPI หรือตัวชี้วัดให้กับทีมทำงานทีมต่างๆ รวมถึงเป็น KPI ของการสร้างแบรนด์ (Brand KPI) ได้อีกด้วย โจทย์ย่อยในกลุ่มนี้ เช่น

– การตรวจสอบสุขภาพแบรนด์ประจำปี (Brand Health Check) ตรวจสอบไปที่ผู้บริโภคในตลาดในภาพกลางเพื่อประเมินประสิทธิภาพการสื่อสารเข้าถึงผู้บริโภค – การประเมินความพึงพอใจจากการได้รับบริการ (Customer Satisfaction Survey) การประเมินค่า NPS (Net Promoter Score) และการประเมิน Brand Superfans Index หลายองค์กรใช้มาตรวัดเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดของทีมทำงาน

– Campaign Evaluation การประเมินพลลัพธ์หลังการ Launch Campaign การประเมินผลสม่ำเสมอในการดำเนินงานและใช้ผลข้อมูลที่ได้ในการพัฒนาการทำงานและคิดค้นกลยุทธ์ขับเคลื่อนหรือแก้เกมเสมอเป็นนิสัยที่ดีที่จะทำให้องค์กรมีความยืดหยุ่นต่อการรับมือกับโลกอนาคต

2. ธุรกิจ/หน่วยงานจะหาข้อมูลมาตอบโจทย์โอกาสการใช้งานเหล่านั้นได้ยังไง? (Research Methodology)

วิธีการได้มาซึ่งข้อมูลเดี๋ยวนี้ก็มีตัวเลือกที่มากมายแบ่งที่มาของข้อมูลในยุคนี้ได้เป็นประมาณ 4 ที่มาค่ะ ได้แก่

     2.1 การเก็บข้อมูลไปที่กลุ่มเป้าหมายโดยตรง คือ การเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกมาจากกลุ่มเป้าหมายโดยตรงซึ่งนับเป็นวิธีแบบ Traditional ซึ่งต้องบอกว่ายังคงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงอยู่ค่ะ แต่เดี๋ยวนี้ก็มีเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลยุคใหม่ที่มีประโยชน์มากๆ เหมือนกันในข้อนี้จึงอาจจะแบ่งย่อยด้วยมิติของทันสมัยของเครื่องมือ

2.1.1 เครื่องมือดั้งเดิม: วิธีการเก็บข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน ได้แก่ การทำ Focus Group (สนทนากลุ่ม), การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) หรือขยับขึ้นเป็นวิธีที่สร้างความมีส่วนร่วมมากขึ้นชวนให้ผู้เข้าร่วมได้คิดสร้างสรรค์ได้วิธีการ User Co-creation นอกจากนี้ยังมีวิธีการที่ใช้การสังเกตการณ์ ส่วนการเก็บข้อมูลแบบเชิงปริมาณ วิธีการที่นิยมใช้ เช่น การเก็บแบบสอบถาม หรือการสัมภาษณ์แบบต่อหน้า (Face-to-face Interview) ซึ่งการกระจายกลุ่มตัวอย่างจะขึ้นกับขอบเขตที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ วิธีการที่ใช้งานกันมีวนเวียนอยู่เท่านี้ แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ คอนเทนต์ที่นักวิจัยจะใส่เข้าไปเพื่อดึงประเด็นสำคัญออกมาจากกลุ่มตัวอย่างให้ได้ ที่ Baramizi Lab เรามีหลักการ Future Lab Research Methodology ที่จะมีจุดเน้นในการสร้างคอนเทนต์ที่จะใช้ในการล้วง Insight & Unmet Needs จากกลุ่มเป้าหมายทำให้ได้ข้อมูลที่เต็มไปด้วยโอกาสแห่งอนาคต

2.1.2 เครื่องมือสมัยใหม่: ความสมัยใหม่ในการวิจัยเชิงคุณภาพน่าจะเป็นการใช้อุปกรณ์ใหม่เข้าช่วย อาทิ การสัมภาษณ์ผ่านโปรแกรมประชุมทางไกล การใช้อุปกรณ์ Track ลูกตาเพื่อศึกษาตำแหน่งการมองหรืออื่นๆ ด้านการวิจัยเชิงปริมาณเครื่องมือสมัยที่ถูกนำมาใช้มาก ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งมีข้อดีด้านงบประมาณที่ลดลงและสามารถเชื่อมต่อการแสดงผลได้แบบ Real-Time และนอกจากจะมีเครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามออนไลน์แล้วในยุคนี้ยังมีบริการสะสมถังของกลุ่มเป้าหมาย (Panelist) ที่จะสามารถทำให้ปล่อยแบบสอบถามออนไลน์ได้อย่างรวดเร็วและได้สัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างตามที่กำหนด

     2.2 การเก็บข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ การศึกษาผ่านข้อมูลต่างๆ ที่มีคนทำไว้แล้ว เช่น ข้อมูลวิจัยในอดีต, ข้อมูลวิจัยเทรนด์, กรณีศึกษา, ข้อมูลคู่แข่งที่มีการเผยแพร่ในช่องทางออนไลน์ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์เป็นอย่างมากกับโจทย์ของการค้นหาอะไรใหม่ๆ โดยเฉพาะข้อมูลวิจัยเทรนด์ที่เหมือนทำหน้าที่เปิดให้เห็นประตูสู่อนาคตหลายๆ บานให้เห็นโอกาสที่เป็นไปได้ทั้งหมด

     2.3 การเก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้วยโลกในยุคปัจจุบันการติดต่อสื่อสารและกิจกรรมต่างๆ ของผู้คนย้ายไปอยู่ในโลกออนไลน์ แทบทั้งหมด อีกทั้งมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ถูกพัฒนาขึ้นมากมาย ทำให้เกิดโอกาสในการได้มาซึ่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้น (แต่ไม่อาจบอกได้ว่ามาแทนที่รูปแบบ Traditional ได้นะคะ เรียกว่าเกิดโอกาสการได้มาซึ่งข้อมูลแบบใหม่ที่เครื่องมือดั้งเดิมทำไม่ได้ แต่ในฟังก์ชั่นการใช้ข้อมูลของธุรกิจ ข้อมูลที่มาจากวิธีดั้งเดิมยังคงมีความสำคัญอยู่) สามารถแบ่งกลุ่มเทคโนโลยีที่มาใช้เก็บข้อมูลได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

2.3.1 Social Listening ต้องยกให้เป็นเครื่องมือที่เก็บข้อมูลวิจัยยุคใหม่ที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย เนื่องจากทุกวันนี่ผู้คนทั้งหมดอยู่ในโลกสังคมออนไลน์ ผู้คนในนั้นมีการ Generate ข้อมูลความในใจกันตลอดเวลา ดังนั้น การมีเครื่องมือที่สามารถกวาดเรื่องราวทั้งหมดเหล่านั้นออกมาได้ ทำให้เกิดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูล Insight ที่ทันต่อเหตุการณ์ ข้อมูลที่จะได้จากการวิจัยด้วยวิธีนี้สามารถสร้างประโยชน์ในการวิเคราะห์ได้ทั้งกับโจทย์เชิงประเมิน และโจทย์ในการค้นหาอะไรใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม เราต้องใช้ข้อมูลบนความเข้าใจที่มาว่าข้อมูลบนโลกโซเชียลไม่ใช่ความรู้สึกนึกคิดของคนทั้งหมด อาจมีคนที่เสียงดังกว่าคนทั่วไป อาจมีการโพสต์เรื่องราวที่รู้สึกมากกว่ามาตรฐานปกติไม่ว่าจะโกรธ ดีใจ หรือเศร้าเสียใจ และเงื่อนไขที่จำกัดอีกเรื่องหนึ่งคือ เงื่อนไขที่แพลตฟอร์มยอมให้เก็บข้อมูล เช่น Facebook ที่ไม่ยินยอมให้เก็บข้อมูลที่เป็นแอคเคานต์บุคคลเก็บได้เฉพาะ Fanpage เป็นต้น

2.3.2 อุปกรณ์เพื่อการเก็บข้อมูลเชิงพฤติกรรม (ทั้งพฤติกรรมออนไลน์และออฟไลน์) กลุ่มนี้ในปัจจุบันน่าจะขอมัดรวมรูปแบบเทคโนโลยีที่หลากหลายไว้ด้วยกันก่อน อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลเชิงพฤติกรรมนี้ มีตั้งแต่ พฤติกรรมการเข้าใช้แพลตฟอร์มกรณีมีเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มเป็นของตัวเองซึ่งโดยทั่วไปทุกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในออนไลน์ย่อมทิ้ง Footprint ไว้อยู่แล้วเมื่อมีการเก็บและทำการวิเคราะห์ก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้, พฤติกรรมการซื้อสินค้า เช่น ระบบ CRM ต่างๆ ที่มีการเก็บข้อมูลลูกค้าและสมาชิกอย่างต่อเนื่อง นำมาสู่การวิเคราะห์ Segmentation ได้, พฤติกรรมในพื้นที่สโตร์ เช่น อุปกรณ์ประเภทกล้องที่จับพฤติกรรมที่เกิดขึ้น, พฤติกรรมการมองข้อมูลต่างๆ (ใช้อุปกรณ์ประเภทกล้องเช่นกัน) เหล่านี้ล้วนเริ่มมีตัวเลือกเข้ามาให้แบรนด์ธุรกิจได้เลือกใช้งานอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ข้อมูลทุกท่านต้องไม่ลืมว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องรู้วัตถุประสงค์การใช้ข้อมูลของเราและให้ความสำคัญกับสิ่งนั้นมากกว่าให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีหรือความใหม่ของอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูล

3. ธุรกิจ/หน่วยงานได้ข้อมูลมาแล้วต้องใช้ข้อมูลยังไง?

โดยปกติผู้ที่มีโจทย์ในการใช้ข้อมูลและกำหนดโจทย์อย่างแม่นยำจนได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการแล้วก็ย่อมดึงข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ตามที่วางแผน แต่จากประสบการณ์ของ Baramizi Lab เราพบว่าอาจมีข้อมูลบางกลุ่มที่ผู้ใช้งานยังไม่คุ้นเคยมากนักแต่เป็นประโยชน์ เช่น ข้อมูลวิจัยเทรนด์ ที่สามารถใช้ประโยชน์ในกระบวนการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ขององค์กรได้, ข้อมูลประเภท Psychological Segmentation ที่เสนอข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มเป้าหมายที่ถูกแบ่งส่วนตลาดด้วยปัจจัยทางจิตวิทยา, ข้อมูลด้าน Needs และ Unmet Needs ของกลุ่มเป้าหมาย เหล่านี้เป็นข้อมูลที่เหมาะสำหรับการใช้งานสร้างสรรค์กลยุทธ์ การนำกระบวนการเวิร์คช็อปการใช้ข้อมูลเข้ามาดำเนินการภายในองค์กรและใช้ข้อมูลป้อนให้ผู้เข้าร่วมมีทางเลือกในการคิดสร้างสรรค์ที่แม่นยำ กระบวนการเวิร์คช็อปที่นำมาใช้ อาทิ Trend Gymnasium Workshop, Brand Future Vision Workshop กิจกรรมเหล่านี้นอกเหนือจากเป็นการทำให้ทีมได้ใช้ข้อมูลอย่างเต็มที่แล้วยังเป็นการแนะแนวทางกระบวนการทำงานที่ทีมสามารถทำซ้ำเพื่อสร้างกิจกรรมทำงานร่วมกันจนเป็นกิจวัตรในองค์กรได้อีกด้วย

หวังว่าบทความในตอนนี้จะช่วยให้คุณผู้อ่านเกิดมุมมองในการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรยุคใหม่ที่ใช้ข้อมูลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนะคะ

 

ผู้เขียน

คุณปรมา ทิพย์ธนทรัพย์

หัวหน้าทีมนักวิจัยแห่งศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต บารามีซี่ แล็บ

RECOMMEND

การคาดการณ์อนาคตธุรกิจด้วย Strategic Foresight: กรณีศึกษา IKEA และ Shell
read more
09.07.2025 30

‘ปักหมุด’ อนาคตของธุรกิจ ผ่านแว่น IKEA และ Shell

มองอนาคต 3 รูปแบบ: อนาคตที่น่าจะเป็น อนาคตเป็นไปได้ และ อนาคตที่อยากให้เป็น ผ่าน 2 กรณีศึกษา บริษัทชั้นนำต่างๆ ในโลกธุรกิจไม่ได้เพียงสร้างผลกำไรในปัจจุบัน แต่กำลัง “ลงทุน” ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง การลงทุนในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแค่ตัวเลขทางการเงิน แต่คือการทุ่มเททรัพยากร ทั้งเวลา, บุคลากร, และการวิจัย เพื่อทำความเข้าใจ และสร้างธุรกิจให้พร้อมในวันข้างหน้า เครื่องมือสำคัญที่บริษัทเหล่านี้ใช้คือ “การคาดการณ์อนาคตเชิงกลยุทธ์” (Strategic Foresight) และเครื่องมือในการใช้งานก็คือ “The Futures Cone” (กรวยแห่งอนาคต) ซึ่งช่วยให้มองเห็นภาพอนาคตที่หลากหลาย ตั้งแต่ อนาคตที่น่าจะเกิดขึ้น (Probable), อนาคตที่เป็นไปได้ (Plausible), ไปจนถึงการเลือกสร้างอนาคตที่อยากให้เป็น (Preferable) แม้จะดูคล้ายการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ที่ทำหน้าที่ ป้องกัน (Defensive) มูลค่าของธุรกิจในปัจจุบันจากภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น หรือการวิจัยและพัฒนา (R&D) ซึ่งเป็นการ ต่อยอด (Incremental) สร้างมูลค่าใหม่โดยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิม หรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่อยู่ใกล้เคียงกับธุรกิจหลั […]

index วัดผลการสร้างแบรนด์
read more
04.07.2025 153

วัดผลการสร้างแบรนด์ยังไงให้ได้ผลลัพธ์ที่ทุกคนยอมรับ?

ก่อนจะพูดถึงกลยุทธ์หรือเครื่องมือไหนๆ อยากชวนคุณติดกระดุมเม็ดแรกให้ถูกก่อนนะคะ  สำหรับเจ้าของธุรกิจที่มองว่า “แบรนด์” เป็น “สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้” และนั่นคือมุมมองที่ทำให้หลายคนยัง “ลังเล” ว่าจะลงทุนสร้างแบรนด์ดีไหม แค่ลังเล อาจทำให้คุณพลาดโอกาสสำคัญไปโดยไม่รู้ตัว ✅ การลงทุนกับการสร้างแบรนด์คือสิ่งที่ถูกต้อง ✅ การสร้างแบรนด์ไม่จำเป็นต้องใช้งบเสมอไป เพราะการสร้างแบรนด์คือการควบคุมทุกจุดสัมผัสของลูกค้าให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพียงแค่มีเข็มทิศที่แม่นยำ และควบคุมทุกประสบการณ์ให้ไปในทิศทางนั้น หากมีงบ ก็สามารถเพิ่มพลังความสร้างสรรค์ให้แตกต่างจนลูกค้าจดจำได้ไม่รู้ลืม 🅾️ แต่สิ่งที่หลายคนยังไม่มั่นใจคือ “จะวัดผลแบรนด์อย่างไร?” ยอดขายขึ้นหมายถึงแบรนด์ดีหรือไม่? ถ้ายอดขายไม่ขึ้น แปลว่าแบรนด์แย่หรือเปล่า? เราเข้าใจความสับสนตรงนี้ดีค่ะ เพราะแม้แต่คนที่อยู่ในวงการแบรนด์มานาน ยังต้องกลับมาตั้งคำถามนี้กับตัวเองอยู่บ่อย ๆ Baramizi Lab กับการพัฒนาเครื่องมือวัดแบรนด์ Baramizi Lab (ซึ่งหมวกหนึ่งคือนักวิจัยเพื่อการพัฒนาแบรนด์) เข้าใจหัวอกหัวใจนักสร้างแบรนด์ทุกคนใน […]

Future of Cheese
read more
03.07.2025 304

Future of Cheese: ถอดรหัสกระแสอาหารโลกผ่านมุมมองชีส

ขนาดตลาดชีสโลกและไทย: โอกาสเติบโตที่ไม่ควรมองข้าม ตลาดชีสโลกกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่า 93.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2024 และคาดการณ์ว่าจะเติบโตด้วยอัตรา CAGR 5.08% จากปี 2025-2033 เพื่อไปสู่มูลค่า 153.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2033 ในขณะที่แหล่งข้อมูลอื่นคาดการณ์ว่าตลาดจะเติบโตไปสู่ 210.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2030 Global cheese market size projections showing steady growth from 2024 to 2030, with various forecasting models สำหรับตลาดไทย ชีสกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากมูลค่า 2,146.5 ล้านบาทในปี 2563 เติบโตเป็น 4,924.1 ล้านบาทในปี 2567 ซึ่งคิดเป็นการเติบโต 7.6% ในปีที่ผ่านมา การเติบโตนี้สะท้อนอัตรา CAGR 23.07% ระหว่างปี 2020-2024 แสดงให้เห็นถึงความนิยมที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วของชีสในตลาดไทย Thai cheese market showing dramatic growth from 2020 to 2024, with market value more than doubling สาเหตุที่ทำให้เกิดเทรนด์ชีส 1. อิทธิพลของโซเชียลมีเดีย การเติบโตของเทรนด์ชีสได้รับอิทธิพลอย่างมากจากโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะ TikTok ที่มี hashtag #cottagecheese ได้รับการดูมากกว่า 500 […]

แนวโน้มตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV Trends)
read more
02.07.2025 340

แนวโน้มตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV Trends) ปี 2025-2026

สรุปภาพรวมตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ในปี 2024 ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกทะลุ 17 ล้านคัน คิดเป็นกว่า 20% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ทั้งหมดทั่วโลก และคาดว่าในปี 2025 ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าจะเติบโตอย่างรวดเร็ว มียอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 22 ล้านคัน เติบโตสูงกว่า 25% เมื่อเทียบกับปีก่อน ราคาชุดแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้ามีความสามารถในการแข่งขันใกล้เคียงกับรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ขณะเดียวกัน โครงสร้างพื้นฐานด้านการชาร์จไฟฟ้าก็ขยายตัวอย่างรวดเร็ว สนับสนุนการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในวงกว้างมากขึ้น 1. ยอดขายและส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก ยอดขายในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าปี 2024 สูงกว่า 17 ล้านคัน เติบโต 25% เมื่อเทียบกับปี 2023 คิดเป็นกว่า 20% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ทั้งหมดทั่วโลก จีนเป็นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่สุด จำหน่ายรถ EV กว่า 11 ล้านคัน คิดเป็นเกือบ 50% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ในประเทศ และคิดเป็นเกือบสองในสามของยอดขาย EV โลก สหรัฐฯ มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าราว 1.6 ล้านคัน เติบโต 10% ยุโรปได้รับผลกระทบจากการถอนเงินอุดหนุน แต่ยังรักษาสัดส่วนยอดขายในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าไว้ที่ประมาณ 20% 2. แนวโน้มภูมิภาคและตลาดเกิด […]

ชาไทยไม่ใส่สี
read more
25.06.2025 236

เทรนด์ชาไทยไม่ใส่สี: การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย

แบรนด์ชั้นนำหลายแห่งประกาศผลิตชาไทยที่ไม่ใส่สี Sunset Yellow FCF ซึ่งเป็นสีสังเคราะห์ที่ทำให้ชาไทยดั้งเดิมมีสีส้มสดใส เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น การแข่งขันของแบรนด์ชั้นนำ คาเฟ่ อเมซอน นำหน้าเปิดขาย คาเฟ่ อเมซอน ได้ประกาศตัวเป็น “เจ้าแรก” ที่ขายชาไทยไม่ใส่สี โดยเริ่มขายเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2025 ภายใต้ชื่อ “Premium Thai Tea” ซึ่งคัดสรรใบชาอัสสัมคุณภาพดีจากจังหวัดน่าน ผ่านการเบลนด์สูตรพิเศษโดย Tea Master ให้รสชาติโทนวานิลลาหอมละมุน และหวานนุ่มแบบคาราเมลไลซ์ จำหน่ายในราคา 60 บาท ชาตรามือ เตรียมวางจำหน่ายในเดือนกรกฎาคม ชาตรามือ แบรนด์ชาไทยเก่าแก่กว่า 80 ปี เตรียมวางจำหน่าย “ชาไทยไม่ใส่สี” ภายในเดือนกรกฎาคม 2025 โดยใช้สูตรดั้งเดิมที่ตัดสีสังเคราะห์ Sunset Yellow ออกทั้งหมด พร้อมเปิดตัวเมนูใหม่ “ชาไทยสีธรรมชาติ” ในไตรมาส 3 ซึ่งใช้สีผสมอาหารจากธรรมชาติ เช่น แครอท ในการแต่งเติมสี เหตุผลเบื้องหลังการเปลี่ยนแปลง ปัญหาของสี Sunset Yellow FCF สี Sunset Yellow FCF เป็นสีผสมอาหารสังเคราะห์ที่ทำให้ชาไทยมีสีส้มสดใส อย่างไรก็ตาม สารนี้ถูกห้ามใช้หรือควบคุมการใช้ในหลายประเท […]

Subscription

เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เทรนด์และวิจัยต่อเนื่อง