Baramizi Lab logo

เจาะ Insight Gen Alpha

เจาะ Insight Gen Alpha

Generation Alpha คือกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 2010 ถึง 2025 โดยพวกเขาเป็นรุ่นแรกที่เกิดในศตวรรษที่ 21 และเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายทั้งทางเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และฐานะทางการเงิน พวกเขาถูกเรียกว่า “มินิมิลเลนเนียล” และด้วยอัตราการเกิดที่มากกว่า 2.5 ล้านคนต่อสัปดาห์ ทำให้กลุ่มนี้เติบโตแซงหน้า Gen Z อย่างรวดเร็วในฐานะเจเนอเรชั่นที่ใหญ่ที่สุดและมีความหลากหลายที่สุดในโลก โดยคาดว่าภายในปี 2025 จะมีกลุ่มเจนอัลฟ่าทั่วโลกถึง 2 พันล้านคน แม้ว่าปัจจุบันพวกเขาเหล่านี้จะยังเป็นเด็กก็ตาม

เจนอัลฟ่าได้รับอิทธิพลอย่างมากจากเทคโนโลยีและผู้สร้างเนื้อหากลุ่ม Gen Z ที่มีอิทธิพลต่อสื่อของพวกเขา นอกจากนี้ เหตุการณ์ต่าง ๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้มีผลกระทบอย่างมากต่อบุคลิกและค่านิยมของพวกเขา ทำให้พวกเขาได้รับการขนานนามว่าเป็น “Gen C” หรือ “Generation COVID” เนื่องจากชีวิตของพวกเขาได้รับผลกระทบจากโรคระบาดใหญ่ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และจิตวิทยา เหตุการณ์เหล่านี้จะทิ้งร่องรอยยาวนานไว้กับเจเนอเรชั่นนี้ ทำให้พวกเขามีความสำคัญต่อครอบครัวมากขึ้น และมองว่าการทำงานจากที่บ้านเป็นเรื่องปกติ 

เมื่อพูดถึงพฤติกรรมการบริโภคของเจเนอเรชั่นอัลฟ่า พวกเขามีแนวโน้มจะให้ความสำคัญกับการซื้อสินค้าจากบริษัทที่มีความเป็นดิจิทัลสูง เนื่องจากพวกเขาใช้เวลาหน้าจอมากกว่ารุ่นก่อน ๆ และมีความเชี่ยวชาญในการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว ประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งการระบาดของโรคและมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมในช่วงที่ผ่านมาได้เร่งให้เจนอัลฟ่าพึ่งพาแพลตฟอร์มดิจิทัลในการสื่อสารกับผู้คนมากขึ้น ซึ่งต่อไปนี้คือสิ่งที่จะอธิบาย ลักษณะสำคัญของคนเจนนี้ได้เป็นอย่างดี

  • มีการศึกษาที่สูงขึ้น: คาดว่าจะเป็นคนรุ่นที่มีการศึกษาสูงที่สุดเนื่องจากเข้าถึงเทคโนโลยีและข้อมูลได้ง่ายทำให้เรียนรู้เกี่ยวกับโลกได้ลึกซึ้งมากกว่าคนรุ่นก่อน 
  • การบูรณาการเทคโนโลยี: บูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น โดยที่ AI เป็นส่วนสำคัญของความเป็นจริง มีทักษะด้านเทคโนโลยีที่เหนือกว่าพ่อแม่และไม่เคยได้สัมผัสโลกที่ไม่มีเทคโนโลยี
  • การเรียนรู้ส่วนบุคคล: คุ้นเคยกับการเข้าถึงข้อมูลในทันที ดังนั้นการบรรยายและรูปแบบการเรียนรู้แบบเก่าๆ นั้นจะเริ่มล้าสมัยสำหรับพวกเขา และชอบประสบการณ์การเรียนรู้ส่วนบุคคลและการศึกษาออนไลน์
  • การโต้ตอบทางโซเชียลมีเดีย: ใช้โซเชียลมีเดียเป็นรูปแบบหลักในการโต้ตอบกับผู้อื่นแต่ก็เป็นดาบสองคมสำหรับสิ่งนี้ คือ ความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว การกลั่นแกล้งทางออนไลน์และการได้รับการยอมรับทางสังคม
  • การให้ความสำคัญกับการเป็นเจ้าของ: ไม่สนับสนุนเศรษฐกิจแบบแบ่งปันซึ่งแตกต่างจากเจนก่อนหน้าค่อนข้างมาก คนเจนนี้ชอบที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินมากกว่าเช่าเอา
  • เคร่งศาสนาน้อยลง: ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะท้าทายกฎเกณฑ์ต่างๆ ทางสังคมมากกว่าคนรุ่นก่อนๆ จึงทำให้มีความเชื่อทางศาสนาน้อยลง และท้าทายบรรทัดฐานทางสังคมมากขึ้น
  • เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา: ความรู้สึกนึกคิดของพวกเขาเปลี่ยนแปลงอยู่เกือบตลอดเวลา พวกเขามีแนวโน้มที่จะเป็นปัจเจกชนมากกว่าคนรุ่นก่อนหน้า ทำให้ไม่สามารถคาดเดาได้
  • พลวัตของสถานที่ทำงาน: จะเป็นกลุ่มแรงงานที่ใหญ่ที่สุด สนับสนุนเทคโนโลยีมากกว่าการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ แนวทางการทำงานและการแก้ปัญหาของพวกเขาจะแตกต่างจากคนรุ่นอื่นๆ  ด้วยการเติบโตมาพร้อมกับแหล่งความคิดที่หลากหลายและเปิดกว้างกว่า 

นอกจากความแตกต่างที่เห็นได้ชัดจากลักษณะของคนเจเนเรชั่นอัลฟ่าแล้วนั้น คำพูดหรือแสลงของคนเจนนี้ก็แตกต่างกับคนรุ่นก่อนๆ และกำลังเป็นเทรนด์หนึ่งที่ถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ คือศัพท์ฮิตติดปากของเจนอัลฟ่า (Gen Alpha, Generation Alpha) ยกตัวอย่าง เช่น

  • Skibidi หมายถึง สถานการณ์ที่ไม่ค่อยดี สิ่งชั่วร้าย หรืออะไรที่มีความหมายเชิงลบ
  • Rizz หมายถึง ความสามารถพิเศษ โดยเฉพาะในด้านความมีเสน่ห์ ความเจ๋ง หรืออะไรก็ตามที่บ่งบอกถึงสไตล์ การดึงดูดให้คนหลงใหล หรือความฮอต
  • Ohio หมายถึง นำมาใช้กับเรื่องที่แปลก ไม่ว่าจะเป็นความแปลกประหลาด หรือความน่ากลัว
  • Sigma หมายถึง คนที่โดดเด่น เป็นผู้นำ และมีลักษณะที่ดูสันโดษเบาๆ มีความหมาป่าเดียวดาย มีความเท่และป๊อปปูลาร์

สิ่งเหล่านี้ได้บ่งบอกเกี่ยวกับพฤติกรรมและลักษณะของเจเนเรชั่นอัลฟ่าที่แตกต่างไปจากคนรุ่นก่อนๆ เพราะบทบาทจากเทคโนโลยีที่เข้ามามีอิทธิพลในชีวิตประจำวันตั้งแต่ยังเด็กทำให้มุมมองที่มีต่อโลกกว้างขวางเป็นอย่างมาก ร่วมถึงการที่ต้องเติบโตในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ทำให้คนในรุ่นนี้ที่แนวโน้มที่ชอบปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นผ่านเทคโนโลยีมากกว่า และในอนาคตอันใกล้นี้เจเนเรชั่นนี้จะกลายเป็นกลุ่มคนที่เยอะที่สุดและมีอิทธิพลต่อทุกภาคส่วนอย่างแน่นอน

ผู้เขียน

นางสาวจินต์ศุจี มณฑิราลัยพร

 

ที่มา

https://talkatalka.com/blog/gen-alpha-insight/ 

https://plus.thairath.co.th/topic/everydaylife/104587

RECOMMEND

read more
30.09.2024 48

วัฒนธรรมกินเจ กับตลาดโปรตีนทางเลือก (Alternative Protein)

เทศกาลกินเจปีนี้ตรงกับช่วงวันที่ 3 ต.ค. – 11 ต.ค. 2567 เป็นระยะเวลา 9 วัน ที่คนไทยจำนวนหนึ่งเลือกที่จะ “กินเจ” คืองดบริโภคเนื้อสัตว์ โดยกินเจมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย ทั้งกินเจเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น, กินเจเพื่อทำบุญ และกินเจเพื่อละเว้นกรรม (ที่เกิดจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต) โดยประมาณการ เม็ดเงินค่าใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ช่วงเทศกาลกินเจน่าจะมีมูลค่าหลายพันล้านบาท อย่างไรก็ตาม นอกจากเทศกาลกินเจที่เกิดขึ้นแล้วจบในช่วงไม่กี่วันในหนึ่งปี เรายังมีไลฟ์สไตล์การงดบริโภคเนื้อสัตว์ที่กินประจำตลอดทั้งปี โดยมีหลากหลายชื่อเรียก ไม่ว่าจะเป็น กินเจ (ที่กินได้หลายแบบ) กินมังสวิรัติ กินแบบวีแกน เหล่านี้มีข้อบังคับการกินที่แตกต่างกันไป ข้อมูลจากชุดข้อมูลวิจัยเทรนด์ Future Food Business Trends 2025 โดยศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซ็ปต์แห่งอนาคต บารามีซี่ แล็บ มีข้อมูลว่า มีคนไทยไม่กินเนื้อสัตว์ 7.8% ของประชากรทั้งหมด จากข้อมูลตลาดดังกล่าวทำให้มองเห็นโอกาสของธุรกิจโปรตีนทางเลือก (Alternative Protein) คือการกินโปรตีนทางเลือกเข้ามาแทนโปรตีนแบบดั้งเดิมที่ผลิตจากระบบปศุสัตว์ ซึ่งอาจประกอบไปด้วยโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว […]

read more
18.09.2024 84

อุตสาหกรรมเกมขาขึ้น กับโอกาสของประเทศไทย

ในช่วงไม่นานมานี้ คอเกมส์น่าจะกำลังเพลิดเพลินอยู่กับเกมส์ Black Myth: Wukong เกม Action RPG ฟอร์มยักษ์ที่ดัดแปลงจากวรรณกรรมคลาสสิคชื่อดังของจีน “ไซอิ๋ว” (Journey to the West)  ล่าสุด ทา Stream DBได้ระบุว่า Black Myth: Wukong กวาดยอดผู้เล่นได้กว่า 1 ล้านคน หลังเปิดให้เล่นภายในระยะเวลาเพียง 30 กว่านาที ถือว่าได้รับความนิยมสูง ตอกย้ำกระแสและความน่าสนใจของเกมนี้ได้เป็นอย่างดี ตลาดเกมส์ทั่วโลกกำลังเติบโต 2.1% จากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว ตลาดเกมส์จะสร้างรายได้ 187.7 พันล้าน $ ในปี 2024 โดยเกมส์คอมพิวเตอร์มีมูลค่า 43.2 พันล้าน $ มีสัดส่วนที่ 23% เกมส์จากเครื่องเล่นเกมส์ (Console) 51.98 พันล้าน $ ด้วยสัดส่วน 28%  ในขณะที่เกมส์มือถือขนาด 92.6 พันล้าน $  กินส่วนแบ่ง 49% อีกหนึ่งสัญญาณที่เป็นตัวชี้วัดการเติบโตของอุตสาหกรรมเกม คือ ‘โพนี่ หม่า’ ซีอีโอ ‘เทนเซ็นต์’ คืนบัลลังก์ ‘มหาเศรษฐีอันดับหนึ่ง’ ของจีนอีกครั้ง! ด้วยทรัพย์สินสุทธิสูงถึง 44,000 ล้านดอลลาร์ (มั่งคั่ง 1.4 ล้านล้านบาท) แซงหน้า “จงซานซาน” เจ้าของแบรนด์น้ำแร่ หนงฟู่ (Nongfu Spring) ที่หล่นไปอยู่ดันดับ 2 ซึ่งปัจจัยหนึ่งคือ […]

Baramizi Lab
read more
17.09.2024 161

อนาคตของอุตสาหกรรมเนื้อหมู: แนวโน้มและโอกาสที่น่าตื่นเต้น

ในปี 2025 อุตสาหกรรมปศุสัตว์จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะในวงการเนื้อหมู ซึ่งเป็นผลมาจากการวิจัยร่วมกันระหว่าง Baramizi Lab และ Zoetis บริษัทเวชภัณฑ์สัตว์ระดับโลก การวิจัยนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้อุตสาหกรรมอาหารเติบโต แต่ยังเปิดโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างแบรนด์สำหรับธุรกิจสินค้าเกษตรและสินค้าแปรรูปจากเนื้อหมูอีกด้วย 1. ผู้บริโภคทานเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ ผู้บริโภคในปัจจุบันให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น อุตสาหกรรมเนื้อหมูจึงต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น เนื้อหมูที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ และมีสารอาหารอย่างโอเมกา 3 ตัวอย่างเช่น ไส้กรอกโอเมกา 3 จาก Wampler’s farm ที่ช่วยเพิ่มคุณค่าด้วยกรดไขมันโอเมกา 3 ของ DHA และ EPA ซึ่งสนับสนุนการพัฒนาของหัวใจและสมอง หรือแพลตฟอร์ม Hakko Hub ที่สนับสนุนการหมักเนื้อสัตว์ ทำให้เนื้อสัตว์ย่อยง่ายขึ้น และเพิ่มความเข้มข้นของวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบี และธาตุเหล็ก 2. ผู้บริโภคทานเพื่อรับประสบการณ์แปลกใหม่ รสชาติและรูปลักษณ์ที่แปลกใหม่กำลังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค วงการอาหารจึงพัฒนาสินค้าและประสบการณ์ให้ครอบคลุมชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่น ก […]

Superfansindex.com
read more
13.09.2024 221

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแบรนด์เราสุขภาพดีแค่ไหน?

ในหลายๆ ธุรกิจมักจะนึกถึงยอดขายที่จะทำให้รู้สึกว่าแบรนด์เรายังมีลูกค้าซึ่งก็ส่งผลต่อสุขภาพของแบรนด์ได้เช่นเดียวกัน แต่แท้ที่จริงแล้วแบรนด์คุณอาจจะสุขภาพไม่ดีก็ได้ เหมือนร่างกายคนถ้าไม่ไปตรวจสุขภาพเราก็จะไม่รู้ว่าข้างในร่างกายเป็นอย่างไร ทั้งๆ ที่ภายนอกเรายังรู้สึกปกติอยู่  เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเกิดปัญหา และอาจส่งผลให้ปัญหานั้นลามใหญ่โตซึ่งต้องใช้ทั้งเงินและเวลาในการแก้ไข การวิจัยตรวจสอบสุขภาพแบรนด์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์ควรจะทำอย่างต่อเนื่อง เปรียบเหมือนการเอ๊กซเรย์แบรนด์…เพราะหากรู้ก่อนย่อมสามารถแก้ปัญหาได้เร็วกว่า จากภาพข้างต้นหากทุกแท่งมีฐานที่กว้าง การันตีได้เลยว่าแบรนด์คุณสุขภาพดี เพราะการลงงบไปกับสื่อหรือการสร้างประสบการณ์นั้นสามารถได้ใจลูกค้าจนเกิดความเป็น Superfans ได้ (ความเป็น Superfans ของแบรนด์ คือ ขั้นสุดที่แบรนด์ควรไปให้ถึงและเก็บให้ได้มากที่สุด หรือที่เราเรียกว่า สาวกของแบรนด์)  รูปแบบการตรวสอบสุขภาพแบรนด์  โดยทั่วไปสามารถพบได้ 3 รูปแบบ 1.การวิจัยเพื่อตรวจสอบรายปี  เหมาะสำหรับแบรนด์/ องค์กรที่มีการลงงบการตลาด การทำแคมเปญต่างๆ ในช่วงระหว่างปี เพื่อให้เราสามารถรู้ได้ว่ารู […]

read more
11.09.2024 193

ตลาด Sustainable Fashion กับการเติบโต 22.9% ต่อปี

Sustainable Fashion หรือ แฟชั่นแบบยั่งยืนที่เคยเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ในอุตสาหกรรมแฟชั่นโดยรวม กำลังได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วเนื่องจากผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและจริยธรรมมากขึ้น ในปี 2024 ตลาดแฟชั่นยั่งยืนระดับโลกมีมูลค่า 8.1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2024 และคาดว่าจะเติบโตถึง 33.1 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2033 ด้วยอัตรา CAGR 22.9% ในช่วงคาดการณ์ปี 2024 – 2033 แม้ว่าจะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ผลกระทบของแฟชั่นยั่งยืนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากแบรนด์และผู้ค้าปลีกรายใหญ่ต่างนำแนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนเข้ามาใช้ในธุรกิจของตน การเพิ่มขึ้นของแบรนด์แฟชั่นยั่งยืน ร่วมกับการนำโครงการริเริ่มสีเขียวมาใช้โดยบริษัทที่จัดตั้งขึ้นแล้ว กำลังผลักดันตลาดให้ก้าวไปข้างหน้า พร้อมแรงหนุนจากความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม อุตสาหกรรมแฟชั่นยั่งยืนมีโอกาสอีกมากมาย เช่น ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคที่ต้องการความโปร่งใสในกระบวนการผลิตและการจัดหาวั […]

Subscription

เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เทรนด์และวิจัยต่อเนื่อง