Baramizi Lab logo

FOOD TREND: Drinks Society

FOOD TREND: Drinks Society

เครื่องดื่มที่มีวิถีการดื่มมาช้านาน

คุณคิดว่าเป็นเครื่องดื่มอะไรกันบ้างคะ?

หลายคนกล่าวว่า “แอลกอฮอล์” เป็นสิ่งไม่ดี แต่ในทางกลับกันเราจะเห็นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กันมาอย่างช้านาน อย่างในซีรี่ย์เกาหลีย้อนยุคเราจะเห็นว่า ในฉากที่มีพระราชาก็ยังดื่มแอลกอฮอล์หรือที่เรียกว่า “สาเก” และในยุคปัจจุบันคนเกาหลีก็นิยมดื่มโซจูกับอาหารหลากหลายประเภทและดื่มในงานสังสรรค์ต่างๆ อีกด้วย

ไม่แม้แต่ชาวเกาหลี ไม่ว่าจะประเทศไหนๆ ก็นิยมดื่มแอลกอฮอล์กันทั่วหน้า แม้แต่คนไทยเราในสังคมปัจจุบันที่นิยมดื่มกันมาก โดยเฉพาะหลังเลิกงานและในวันหยุดพักผ่อนที่จะเห็นตามร้านอาหาร ร้านคาเฟ่ มีผู้คนมานั่งชิลทานอาหาร ฟังเพลง พร้อมสั่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อีกด้วย

เนื่องด้วยคนไทยส่วนมากที่นับถือศาสนาพุทธได้รับความเชื่อในเรื่องของการถือศีล 5 นั้น ซึ่งมีข้อที่ 5 คือ การละจากอบายมุขที่รวมถึงสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย  เหตุนี้คนไทยจึงนิยมพูดต่อๆ กันว่า “แอลกอฮอล์เป็นสิ่งไม่ดี เป็นอบายมุข ให้โทษมากกว่าให้คุณ” เห็นได้จากโฆษณาเชิญชวน “เลิกเหล้าเข้าพรรษา” และโฆษณา “เมาไม่ขับ” ซึ่งแสดงให้เห็นแต่โทษหลังจากดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป

 

อยากให้คุณลองคิดว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น มันให้โทษกับเราเพียงอย่างเดียวหรือเปล่า? (ถ้ามองแค่ในมุมของคำว่า “เครื่องดื่ม”)

แอลกอฮอล์ที่นิยมดื่มกัน คือ “เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl alcohol) หรือ เอทานอล (Ethanol)” ประกอบด้วยกลุ่มธาตุอะตอมของไฮโดรคาร์บอนและกลุ่มไฮดรอกซิล ซึ่งก็เป็นเหมือนสารๆ หนึ่งที่มีฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการมึนเมาได้ แต่ก็ไม่ได้ใช้สำหรับแค่การมึนเมาเพียงอย่างเดียว

 

แอลกอฮอล์ถูกนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภทในปัจจุบัน เช่น ใช้ในผลิตภัณฑ์ยา เครื่องสำอาง อาหาร และใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมต่างๆ 

ด้วยวิถีโลกที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันผู้บริโภคมีวิธีการดื่มแอลกอฮอล์ที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพด้วยเช่นกัน แลดูขัดแย้งกันใช่ไหม ระหว่าง “สุขภาพ” กับ “แอลกอฮอล์” แต่ว่าเป็นแบบนั้นจริงๆ  นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการดื่มเพื่อโลกเราด้วย  ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องหันมาใส่ใจในขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์มากขึ้นไปอีก ยกตัวอย่างเช่น 

  1. ผู้บริโภคมีแนวโน้มการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่ลดลง แต่เพิ่มประสบการณ์การดื่มมากขึ้น ผู้ประกอบการจึงหันมาผลิตเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์น้อยลง แต่เพิ่มสัดส่วนของสารอื่นมากขึ้น คุณรู้จัก “ตันซันซูโซดา (Tan San Su)” ในเซเว่นหรือไม่? นี่เป็นตัวอย่างของการนำภาพลักษณ์ของโซจู หรือแอลกอฮอล์มาสร้างเครื่องดื่มที่ไร้แอลกอฮอล์เพื่อเอาใจวัยรุ่นและคนที่ไม่อยากดื่มแอลกอฮอล์อีกแบบหนึ่ง
  1. ผู้บริโภคสนับสนุนการดื่มผลิตภัณฑ์ที่มาจากท้องถิ่น ด้วยการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมากมาย ทำให้ส่งผลต่อภาษีและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น คนจึงหันมาสนับสนุนวัตถุดิบหรือสินค้าในประเทศมากกว่านอกประเทศ  แต่อย่างไรก็ตาม สินค้านั้นๆ ก็ต้องมีคุณภาพที่ดีด้วยเช่นกัน
  1. ผู้บริโภคสนับสนุนการดื่มที่มีส่วนผสมของสมุนไพรหรือให้คุณค่าทางสุขภาพ โดยผู้ประกอบการก็ได้สร้างผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใส่ความแปลกใหม่เข้าไปมากขึ้น เช่น เพิ่มส่วนผสมของกัญชา เพิ่มรสชาติชานม เช่น สาเกชานมไข่มุก การเติมกลิ่นผลไม้และใส่น้ำตาลลดลง หรือในต่างประเทศ เช่น Ouzo แอลกอฮอล์องุ่นจากกรีซที่มีส่วนผสมยี่หร่าช่วยย่อยอาหารและเจริญอาหารได้ดีขึ้น

 

เห็นแล้วใช่ไหมว่า การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้มีแค่โทษ แต่คนรุ่นใหม่ได้นำมาช่วยเพิ่มประสบการณ์ด้านรสชาติ การผ่อนคลาย และสุขภาพมากขึ้น รวมถึงผู้ประกอบการเองก็พยายามปรับผลิตภัณฑ์ของตนให้ผู้บริโภคซื้อด้วยเช่นกัน

ด้วยคู่แข่งที่มากขึ้น แต่จะมีสักกี่เจ้าที่สามารถอยู่รอดในอุตสาหกรรมได้บ้าง  ดังนั้น “ความแตกต่าง” ยังคงใช้ได้ผล

 

ติดตามและร่วมรับคลังความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารแห่งอนาคตไปกับทีม Baramizi Lab

____________________________________________________________________________

RECOMMEND

Superfansindex.com
read more
13.09.2024 33

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแบรนด์เราสุขภาพดีแค่ไหน?

ในหลายๆ ธุรกิจมักจะนึกถึงยอดขายที่จะทำให้รู้สึกว่าแบรนด์เรายังมีลูกค้าซึ่งก็ส่งผลต่อสุขภาพของแบรนด์ได้เช่นเดียวกัน แต่แท้ที่จริงแล้วแบรนด์คุณอาจจะสุขภาพไม่ดีก็ได้ เหมือนร่างกายคนถ้าไม่ไปตรวจสุขภาพเราก็จะไม่รู้ว่าข้างในร่างกายเป็นอย่างไร ทั้งๆ ที่ภายนอกเรายังรู้สึกปกติอยู่  เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเกิดปัญหา และอาจส่งผลให้ปัญหานั้นลามใหญ่โตซึ่งต้องใช้ทั้งเงินและเวลาในการแก้ไข การวิจัยตรวจสอบสุขภาพแบรนด์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์ควรจะทำอย่างต่อเนื่อง เปรียบเหมือนการเอ๊กซเรย์แบรนด์…เพราะหากรู้ก่อนย่อมสามารถแก้ปัญหาได้เร็วกว่า จากภาพข้างต้นหากทุกแท่งมีฐานที่กว้าง การันตีได้เลยว่าแบรนด์คุณสุขภาพดี เพราะการลงงบไปกับสื่อหรือการสร้างประสบการณ์นั้นสามารถได้ใจลูกค้าจนเกิดความเป็น Superfans ได้ (ความเป็น Superfans ของแบรนด์ คือ ขั้นสุดที่แบรนด์ควรไปให้ถึงและเก็บให้ได้มากที่สุด หรือที่เราเรียกว่า สาวกของแบรนด์)  รูปแบบการตรวสอบสุขภาพแบรนด์  โดยทั่วไปสามารถพบได้ 3 รูปแบบ 1.การวิจัยเพื่อตรวจสอบรายปี  เหมาะสำหรับแบรนด์/ องค์กรที่มีการลงงบการตลาด การทำแคมเปญต่างๆ ในช่วงระหว่างปี เพื่อให้เราสามารถรู้ได้ว่ารู […]

read more
11.09.2024 39

ตลาด Sustainable Fashion กับการเติบโต 22.9% ต่อปี

Sustainable Fashion หรือ แฟชั่นแบบยั่งยืนที่เคยเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ในอุตสาหกรรมแฟชั่นโดยรวม กำลังได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วเนื่องจากผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและจริยธรรมมากขึ้น ในปี 2024 ตลาดแฟชั่นยั่งยืนระดับโลกมีมูลค่า 8.1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2024 และคาดว่าจะเติบโตถึง 33.1 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2033 ด้วยอัตรา CAGR 22.9% ในช่วงคาดการณ์ปี 2024 – 2033 แม้ว่าจะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ผลกระทบของแฟชั่นยั่งยืนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากแบรนด์และผู้ค้าปลีกรายใหญ่ต่างนำแนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนเข้ามาใช้ในธุรกิจของตน การเพิ่มขึ้นของแบรนด์แฟชั่นยั่งยืน ร่วมกับการนำโครงการริเริ่มสีเขียวมาใช้โดยบริษัทที่จัดตั้งขึ้นแล้ว กำลังผลักดันตลาดให้ก้าวไปข้างหน้า พร้อมแรงหนุนจากความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม อุตสาหกรรมแฟชั่นยั่งยืนมีโอกาสอีกมากมาย เช่น ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคที่ต้องการความโปร่งใสในกระบวนการผลิตและการจัดหาวั […]

read more
11.09.2024 61

ทิศทาง Food delivery ทั้งไทยและต่างประเทศ

ตลาด Food Delivery ในไทยปี 2567 ยังมีเทรนด์ที่ลดลงต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้มีการประเมินว่าในปี 2567 มูลค่าตลาด Food Delivery จะอยู่ที่ประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท  หรือหดตัว 1.0% จากปี 2566 แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการสั่งอาหารเฉลี่ยต่อครั้งน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น (Price per Order) ประมาณ 2.8% จากค่าเฉลี่ยในปี 2566 หรือ มีราคาเฉลี่ยประมาณ 185 บาทต่อครั้งของการสั่ง ซึ่งจะมีผลตามมาต่อทั้งจำนวนครั้งและปริมาณการสั่งให้ลดลง ปัจจุบัน ตลาด Food Delivery ในหลายประเทศกำลังเผชิญกับแนวโน้มขาลงไม่ต่างจากประเทศไทย แม้ว่าจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเห็นการเติบโตชะลอตัวเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงและต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น ส่งผลให้บริการต้องปรับราคาให้สูงขึ้นเพื่อรักษากำไร ขณะที่ในญี่ปุ่น การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการจัดส่งและการแข่งขันจากผู้เล่นหลายราย ทำให้บริษัทฟู้ดเดลิเวอรี่ต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดและกำไร  การเติบโตของตลาด Food Delivery ทั่วโลก รายได้ในตลาดบริการจัดส่งอาหารออนไลน์คาดว่าจะสูงถึง 1.22 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567 แล […]

read more
06.09.2024 121

ตลาด Sustainable Dining กับการเติบโต 6.9% ต่อปี

Sustainable Dining หรือ การรับประทานอาหารอย่างยั่งยืนหมายถึงการเลือกอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม แนวทางการรับประทานอาหารนี้เน้นที่การบริโภคอาหารที่ผลิตและเตรียมในลักษณะที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่น การรับประทานอาหารอย่างยั่งยืนอาจเกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติต่างๆ เช่น การเลือกส่วนผสมจากแหล่งท้องถิ่นและออร์แกนิก การลดขยะอาหาร การเลือกอาหารจากพืชและการสนับสนุนร้านอาหารและธุรกิจที่ยึดมั่นในแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน เป้าหมายหลักคือการสร้างระบบอาหารที่สามารถรักษาคนรุ่นต่อไปได้โดยไม่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติหมดสิ้นหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบนิเวศ โดยมูลค่าตลาดอาหารที่ยั่งยืนมีมูลค่า 1,066.2 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2023 และคาดว่าจะถึง 1,945.38 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2032 โดยเติบโตที่อัตรา CAGR 6.91% ตั้งแต่ปี 2024-2032 แนวโน้มเหล่านี้สะท้อนถึงการเคลื่อนไหวที่กว้างขึ้นสู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งขับเคลื่อนโดยความต้องการของผู้บริโภคและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เมื่อการรับประทานอาหารที่ยั่งยืนกลายเป็นกระแสหลักมากขึ้น จึงมีศัก […]

read more
06.09.2024 125

Urban Farming การทำเกษตรในเมือง

ในขณะที่เมืองทั่วโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความจำเป็นในการหาแหล่งอาหารที่ยั่งยืนก็มีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม การทำเกษตรในเมือง ซึ่งเคยเป็นเพียงแค่แนวคิดเล็กๆ กำลังกลายเป็นขบวนการที่ทรงพลังซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการที่เราคิดเกี่ยวกับการผลิตอาหารและการใช้ชีวิตในเมือง โดยการเปลี่ยนหลังคาอาคาร ที่ดินว่างเปล่า หรือแม้แต่ระเบียงเล็กๆ ให้กลายเป็นพื้นที่การเกษตรที่เจริญรุ่งเรือง การทำเกษตรในเมืองเสนอโซลูชั่นใหม่สำหรับการแก้ปัญหาที่สำคัญที่สุดที่เมืองสมัยใหม่กำลังเผชิญ การทำเกษตรในเมืองคืออะไร การทำเกษตรในเมือง หรือ Urban Farming คือ การปลูกอาหารภายในสภาพแวดล้อมของเมือง โดยมักใช้พื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ แตกต่างจากการเกษตรแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้พื้นดินในชนบทอย่างกว้างขวาง การทำเกษตรในเมืองสามารถผสมผสานเข้ากับพื้นที่ของเมืองได้ ซึ่งอาจหมายถึงทุกอย่างตั้งแต่สวนชุมชนในที่ดินว่าง ไปจนถึงฟาร์มแนวตั้งบนด้านข้างของอาคารหรือระบบไฮโดรโปนิกส์ในห้องใต้ดิน ประโยชน์ของการทำเกษตรในเมือง ความยั่งยืนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การทำเกษตรในเมืองมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความยั่งยืน การผลิตอาหารในท้องถิ่ […]

Subscription

เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เทรนด์และวิจัยต่อเนื่อง