อุตสาหกรรมเกมขาขึ้น กับโอกาสของประเทศไทย
ในช่วงไม่นานมานี้ คอเกมส์น่าจะกำลังเพลิดเพลินอยู่กับเกมส์ Black Myth: Wukong เกม Action RPG ฟอร์มยักษ์ที่ดัดแปลงจากวรรณกรรมคลาสสิคชื่อดังของจีน “ไซอิ๋ว” (Journey to the West) ล่าสุด ทา Stream DBได้ระบุว่า Black Myth: Wukong กวาดยอดผู้เล่นได้กว่า 1 ล้านคน หลังเปิดให้เล่นภายในระยะเวลาเพียง 30 กว่านาที ถือว่าได้รับความนิยมสูง ตอกย้ำกระแสและความน่าสนใจของเกมนี้ได้เป็นอย่างดี
ตลาดเกมส์ทั่วโลกกำลังเติบโต 2.1% จากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว ตลาดเกมส์จะสร้างรายได้ 187.7 พันล้าน $ ในปี 2024 โดยเกมส์คอมพิวเตอร์มีมูลค่า 43.2 พันล้าน $ มีสัดส่วนที่ 23% เกมส์จากเครื่องเล่นเกมส์ (Console) 51.98 พันล้าน $ ด้วยสัดส่วน 28% ในขณะที่เกมส์มือถือขนาด 92.6 พันล้าน $ กินส่วนแบ่ง 49%
อีกหนึ่งสัญญาณที่เป็นตัวชี้วัดการเติบโตของอุตสาหกรรมเกม คือ ‘โพนี่ หม่า’ ซีอีโอ ‘เทนเซ็นต์’ คืนบัลลังก์ ‘มหาเศรษฐีอันดับหนึ่ง’ ของจีนอีกครั้ง! ด้วยทรัพย์สินสุทธิสูงถึง 44,000 ล้านดอลลาร์ (มั่งคั่ง 1.4 ล้านล้านบาท) แซงหน้า “จงซานซาน” เจ้าของแบรนด์น้ำแร่ หนงฟู่ (Nongfu Spring) ที่หล่นไปอยู่ดันดับ 2 ซึ่งปัจจัยหนึ่งคือรัฐบาลจีนผ่อนปรนมาตรการควบคุมบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ที่เข้มงวดมาเกือบ 2 ปี จนทำให้บริษัทเทคโนโลยี
นี่ถือเป็นสัญญาณความเปลี่ยนแปลงที่น่าสังเกตว่าอุตสาหกรรมเกมกำลังจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากลองวิเคราะห์สัญญาณนี้ น่าสังเกตว่าปัจจัยสนับสนุนมีอะไรบ้าง วิเคราะห์แล้วได้แก่
- เทคโนโลนีที่ล้ำสมัย ไม่ว่าจะเป็นปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยพัฒนาประสบการณ์ในการเล่นเกม และสามารถสร้างประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคลได้ด้วย เทคโนโลยี AR และ BR, การเล่นเกมผ่าน Cloud
- มีเครื่องเล่นเกมส์ (Consoles) ที่ปล่อยออกมามากขึ้น ซึ่งผู้พัฒนาเกมเองก็ใช้ศักยภาพที่สอดรับกับเครื่องเล่นเกมส์อย่างเต็มที่
- ปริมาณผู้เล่นที่มากขึ้น และกำลังจะเป็นกระแสหลัก ขยายปริมาณไปยังคนรุ่นเก่า และผู้หญิงเองก็เล่นเกมมากขึ้น และด้วยเทรนด์ของเกมส์ผ่านมือถือก็ยิ่งนำให้หลายๆ เกมได้รับความนิยมขึ้นมา เช่น Genshin Impact และ Call of Duty Mobile
- E-Sport โตขึ้นเรื่อยๆ ด้วยทัวร์นาเม้น สปอนเซอร์ที่มากขึ้น นักเล่นเกมส์มืออาชีพขยายตัวมากขึ้นนำมาซึ่งการดึงดูดนักลงทุนและผู้เข้าชมรอบโลก
- Live Streaming และการสร้างคอนเทนต์ แพลตฟอร์มอย่าง Twitch และ YouTube ช่วยให้เกมส์เข้าถึงได้มากขึ้น ช่วยสร้าง Community ที่แข็งแรงขึ้นที่ ผู้เล่นเกมสามารถให้ Feedback ระหว่าง
- NFT และ Blockchain การนำเทคโนโลยีเหล่านี้เปิดโอกาสในการสร้างรายได้
- พฤติกรรมการเล่นเกมส์ที่มากขึ้นหลัง Covid-19 ที่ช่วยสร้างนักเล่นเกมส์หน้าใหม่ การทำงานทำงานแบบ Remote Work ช่วยให้นักเล่นเกมไดัมากขึ้น
ลองมาดูที่บ้านเรา อุตสาหกรรมเกมไทย มีมูลค่า 3.8 หมื่นล้านบาท/ปี คนไทยเติมเงินในเกมส์มากติดอันดับต้น ๆ ของโลก และมากที่สุดในตะวันออกเฉียงใต้เมื่อเทียบกับสัดส่วนค่าครองชีพ แต่รายได้กลับไปไม่ถึงนักพัฒนาไทย เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าเกมส่วนใหญ่มาจากต่างชาติทั้งหมด
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านเกม มี 4 แผนได้แก่
- พยายามผลักดันให้เกมไทยมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในอุตสาหกรรมฯ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยมีรายได้จากคนไทยที่มากขึ้น
- คณะอนุกรรมการฯ จึงติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่จะส่งกระทบต่ออุตสหกรรมเกม
- สร้างให้ไทยเป็นศูนย์กลางการจัดการแข่งขันอีสปอร์ตของภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ผลักดันให้เกมสามารถสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ในสาขาอื่นได้ ให้เกมส์เป็นเหมือนยานพาหนะลำใหญ่ที่ขนเอาทรัพยากรทางวัฒนธรรมของบ้านเราไปสู่สายตาชาวโลก เพื่อส่งแรงให้การผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ไปสู่สายตาชาวต่างชาติ
หนึ่งในเงื่อนไขสำคัญสำหรับวงการนี้คือต้องยอมรับว่าเงินทุนเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาเกม ซึ่งการทำเรื่องนี้ต้องใช้งบประมาณ และอาจยังไม่มีคนกล้าลงทุนให้เงินสนับสนุนจำนวนมากขนาดนั้น เพราะยังไม่เคยมี Success ออกมา อีกเรื่องคือขาดคนมีประสบการณ์ หมายถึงคนที่มีประสบการณ์ในการผลิตเกมขนาดใหญ่ที่เคยขายได้ระดับร้อยล้านถึงพันล้านบาท ซึ่งต้องยอมรับความจริงว่าไทยยังไม่มีคนเหล่านี้มากนัก ทำให้ต้องเริ่มจากศูนย์ ทำให้ต้องใช้เวลานาน หรืออีกทางเลือกหนึ่ง คือ ดึงคนมีประสบการณ์จากต่างประเทศให้มาผลิตเกมในไทย
สุดท้ายนี้เรามุ่งหวังในการดึงศักยภาพด้านเกมส์ของประเทศไทยโดยใช้การสร้างระบบนิเวศที่แข็งแรง ทั้งผู้เล่น ผู้พัฒนา เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นอีกหนึ่งพลังในการพัฒนาเศรษฐกิจของบ้านเรา.
ผู้เขียน: พลวัฒน์ จูเจริญ
ที่มา:
https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=932107112288209&id=100064667864722&rdid=znKiMy6HLOzxzpZq
https://newzoo.com/resources/blog/global-games-market-revenue-estimates-and-forecasts-in-2024#:~:text=As%20mentioned%20prior%2C%20the%20global,roles%20reverse%20from%202025%20onward.
https://policywatch.thaipbs.or.th/article/economy-63