แนวโน้มการออกแบบสำหรับครอบครัวหลายช่วงวัย (Intergeneration Living Design Trends)
ทุกวันนี้ แนวโน้มการอยู่อาศัยแบบครอบครัวหลายช่วงวัยได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น ซึ่งมีหลายเหตุผล เช่น เรื่องการประหยัดค่าใช้จ่าย เรื่องความสัมพันธ์ที่อยากกลับมาอยู่ร่วมกันแบบพร้อมหน้า ต้องการให้พ่อแม่เลี้ยงลูกให้ ไปจนถึงได้ดูแลพ่อแม่ที่อายุมากขึ้นและอาจป่วยเป็นโรคต่างๆ ด้วยเงื่อนไขของผู้พักอาศัยที่มีหลายคนและหลายช่วงวัย จึงนำมาซึ่งแนวทางในการออกแบบพื้นที่อยู่อาศัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการดังนี้
แนวทางการออกแบบโดยภาพรวม (General Design Concept for Intergeneration Living)
- Public & Private Space มีทั้งพื้นที่ Public Space ที่สามารถใช้ชีวิตและใช้เวลาร่วมกันได้พร้อมหน้าพร้อมตา และพื้นที่ Private Space เพราะ “ความเป็นส่วนตัว” คือปัจจัยสำคัญที่สุด และเป็นความท้าทายของที่พักอาศัยที่มีสมาชิกหลายครอบครัวมาอยู่รวมกัน แต่ละวัยที่อาศัยอยู่ในบ้านต้องการพื้นที่ส่วนตัวของตัวเอง
- Universal Design การออกแบบเพื่อทุกคน คือทุกเพศทุกวัย
- Aged in place คือแนวคิดที่เชื่อว่า ผู้อยู่อาศัยสามารถใช้ชีวิตอยู่ในบ้านและสังคมของตนเองได้อย่างอิสระและปลอดภัย ตลอดช่วงชีวิต พร้อมสิ่งอำนวยสะดวกสบายไว้รองรับการอยู่อาศัยอย่างครบครัน
- Multi Master Bed Room รองรับการเติบโตของครอบครัวในอนาคตแล้วยังสามารถรองรับการนอนแยกห้องของคู่สามีภรรยาเพื่อพฤติกรรมการนอนหลับที่ดีขึ้นได้อีกด้วย
- Multi Living Room การจัดสรรพื้นที่นั่งเล่นส่วนรวมสำหรับคนหลายเจนอย่างน้อย 2 พื้นที่เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่างกันของแต่ละวัย
- Multi Entrance สมาชิกแต่ละเจนล้วนมีตารางชีวิตแตกต่างกัน ทำให้เวลาเข้า-ออกบ้านอาจเหลื่อมล้ำกันไปมา
- Aging Facility มีสิ่งอำนวยความสะดวกพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะ อาทิ โรงพยาบาล คลีนิค
- Mixed Style & Material การมีสไตล์หรือการใช้วัสดุที่แตกต่างกันในแต่ละครอบครัวและพื้นที่เพื่อบ่งบอกพื้นที่ของคนแต่ละครอบครัวย่อย
แนวทางการออกแบบเชิงพื้นที่ (Space Design Solutions)
1. Basic การแบ่งพื้นที่ให้ห้องผู้สูงอายุและ Public Space อยู่ชั้นล่างและพื้นที่ส่วนตัวอยู่ที่ชั้นสอง
2. Leveling การแบ่งพื้นที่แต่ละครอบครัวย่อยออกจากกันด้วยกันแบ่งชั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบ้าน
ที่มี 3-4 ชั้น และแบ่งพื้นที่ให้คนแต่ละช่วงวัย หรือแต่ละครอบครัวย่อยอยู่ด้วยกันคนละชั้น
3. Co-Living ที่พักอาศัยที่เอื้อให้สมาชิกในโครงการได้มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น
เต็มไปด้วยพื้นที่ส่วนกลางที่เน้นการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน
4. Courtyard & Surround การจัดพื้นที่ให้คอร์ทยาร์ดตรงกลางเป็นพื้นที่สำหรับพบปะ
สังสรรค์ในครอบครัวและรายล้อมไปด้วยที่พักอาศัยของแต่ละครอบครัวและช่วงวัย
5. Free Space
‘Free’ Space พื้นที่อิสระ เป็นการเพิ่มพื้นที่ว่างบริเวณกลางบ้านที่เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่าง Common Area & Private Area เอื้อประโยชน์ให้เกิดพื้นที่ส่วนตัวเฉพาะรูปแบบเกิดความอิสระในการพักผ่อน|
6. Interlocking
การแยกพื้นที่บ้านออกเป็นส่วนและเชื่อมกันด้วยพื้นที่ Common Area สำหรับการใช้ชีวิตร่วมกัน
7. Multi Living Unit
ออกแบบ Unit ย่อยมารวมกันเป็นบ้านของครอบครัวหลังใหญ่ จุดสำคัญของประสบการณ์ที่เกิดขึ้นคือ การทอนสเกลของตัวสถาปัตยกรรมให้ดูเหมือนบ้านหลังเล็กหลายหลัง