Baramizi Lab logo

Shimmering into the Future 3 เทรนด์น่าจับตาของ ‘เมทัลลิค’ ในแฟชั่น

Shimmering into the Future 3 เทรนด์น่าจับตาของ ‘เมทัลลิค’ ในแฟชั่น

โลกแห่งแฟชั่นที่มีชีวิตชีวา โลหะมีบทบาทสำคัญมายาวนาน เส้นใยโลหะไม่ว่าจะเป็นทองคำ หรือแร่เงินถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในถักทอ และเป็นเครื่องประดับ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะพบว่าโลหะเหล่านี้สอดแทรกอยู่ในหลายวัฒนธรรมทั่วโลก 

โลหะวิทยา (Metallurgy) ในแฟชั่นไม่ใช่เรื่องใหม่ เทรนด์นี้เปิดตัวครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 1930 เพื่อปรับใช้ในการออกแบบชุดราตรีให้เกิดความระยิบระยับ มีความแตกต่างจากชุดใช้งานทั่วไปในกลางวัน ความแพรวพราวเหล่านี้เป็นตัวแทนของ ความหายาก (Rare), ความพิเศษเฉพาะ (Exclusive) และ ความไม่ธรรมดา (Extraordinary) ในสังคมยุคนั้น 

ในปัจจุบันที่ค่านิยมเปลี่ยนไป เทคโนโลยีเข้าถึงง่ายขึ้น ทำให้วิวัฒนาการการออกแบบกับโลหะต่างๆ มีข้อจำกัดน้อยลง อีกทั้งเส้นแบ่งของโลกดิจิทัลกับชีวิตจริงพร่าเลือนมากขึ้น เกิดเป็นภาษาทางความงามรูปแบบใหม่ๆ เช่น การผสานการออกแบบของปัญญาประดิษฐ์ หรือความงามระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ ในปี 2023 ที่ผ่านมา บทความจากนิตยสาร ELLE ได้กล่าวถึงแนวโน้มการจับคู่สไตล์ความล้ำสมัยของเมทัลลิคกับรูปแบบเสื้อผ้าปกติ มีความฉูดฉาดในรูปลักษณ์ที่คุ้นตา หรือตัวอย่างที่เป็นที่พูดถึงอย่าง ชุดเปิดตัวภาพยนต์เรื่อง DUNE ที่นักแสดงหลักอย่าง Zendaya ได้ใส่ชุดหุ่นยนต์ ‘Thierry Mugler’  จนถึงกระแสไวรัล เครื่องประดับที่หน้าตาแบบเหล็กข้ออ้อยที่ Lisa ใส่ในเพลง ‘Rockstar’

ปฎิเสธไม่ได้ว่าความแวววาวของเเร่เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นจากโลหะทั่วไปจนถึงทองคำ ล้วนคงอยู่กับวงการออกแบบเสื้อผ้า และเครื่องประดับมาอย่างยาวนาน อนาคตของการใช้โลหะในการออกแบบแฟชั่นจะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง  3 แนวโน้มน่าสนใจที่นำไปต่อยอดธุรกิจสำหรับแฟชั่นที่ใช้ความแวววาวเหล่านี้

 

1. Green: ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ นักวัสดุศาสตร์ต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนาการใช้โลหะหรือสารเคมีที่ให้ความแวววาวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสสารเหล่านี้ โดยปกติหากมีการสึกกร่อน แตกตัวลงสู่ธรรมชาติ จะเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ และกับมนุษย์ วัสดุ และเคมีภัณฑ์รุ่นใหม่จึงออกเเบบให้การผลิต และการใช้งานส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด, มีการสกัดจากธรรมชาติ และไม่มีโลหะหนักตกค้างที่กระทบต่อร่างกายผู้ใช้ 

 

2. Fast: ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการผลิตเครื่องประดับที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาส่งผลต่อการผลิตมากขึ้น เช่น วัสดุขั้นสูง (Advanced Materials), ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ การพิมพ์สามมิติ (Additive Manufacturing,(AM)) ซึ่งตลาดเครื่องประดับโลหะ ที่ใช้การพิมพ์สามมิติคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตต่อปีที่ 10% ตั้งแต่ปี 2021 ถึง 2031 ซึ่งมีผลต่อความเร็วในการผลิต และการออกแบบที่มีความเฉพาะบุคคลมากขึ้น สามารถขึ้นงานที่ซับซ้อน ขยายขอบเขตทางการออกแบบ

 

3. Space: นักวิทยาศาสตร์ที่ NASA กำลังออกแบบผ้าทอโลหะขั้นสูงสำหรับการใช้งานที่หลากหลายในอวกาศที่ถูก ‘พิมพ์’ ขึ้นเป็นชิ้นเดียว เรียกสิ่งนี้ว่า ‘การพิมพ์ 4 มิติ’ หมายถึงความสามารถในการพิมพ์ที่ได้ทั้ง ‘รูปลักษณ์’ และ ‘คุณสมบัติ’ ซึ่งต้องการคุณสมบัติ 4 อย่างคือ การสะท้อนแสง การจัดการความร้อนแบบพาสซีฟ การพับได้ และความต้านทานแรงดึง และสิ่งเหล่านี้มีจำเป็นต้องถักทอด้วยโลหะพิเศษ เทคโนโลยีอวกาศเป็นต้นแบบของหลาย นวัตกรรมใหม่ๆ บนโลก สิ่งทออวกาศนี้มีความสามารถที่จะทำให้เกิด วัสดุศาสตร์รูปแบบใหม่ๆ หรือการถักทอ และขึ้นรูปชิ้นงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในวงการแฟชั่น

 

ผู้เขียน: กัณฑ์ฉัตร สมเหมาะ

 

ที่มา:

https://www.ellecanada.com/fashion/trends/metallic-fashion-trend

https://www.metal-am.com/articles/additive-manufacturing-for-jewellery-and-watchmaking-exploring-sinter-based-technologies/

https://www.fibre2fashion.com/news/textile-news/nasa-designing-advanced-woven-metal-fabrics-for-space-205396-newsdetails.htm

https://sourcingjournal.com/sustainability/sustainability-materials/metallic-apparel-accessories-verdant-innovations-fibre-print-paste-429762/

https://vogue.sg/best-beauty-looks-from-lisa-rockstar-mv/

https://ellethailand.com/zendaya-robot-girl-dune-2-premiere-in-london/

 

 

RECOMMEND

ชาไทยไม่ใส่สี
read more
25.06.2025 81

เทรนด์ชาไทยไม่ใส่สี: การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย

แบรนด์ชั้นนำหลายแห่งประกาศผลิตชาไทยที่ไม่ใส่สี Sunset Yellow FCF ซึ่งเป็นสีสังเคราะห์ที่ทำให้ชาไทยดั้งเดิมมีสีส้มสดใส เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น การแข่งขันของแบรนด์ชั้นนำ คาเฟ่ อเมซอน นำหน้าเปิดขาย คาเฟ่ อเมซอน ได้ประกาศตัวเป็น “เจ้าแรก” ที่ขายชาไทยไม่ใส่สี โดยเริ่มขายเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2025 ภายใต้ชื่อ “Premium Thai Tea” ซึ่งคัดสรรใบชาอัสสัมคุณภาพดีจากจังหวัดน่าน ผ่านการเบลนด์สูตรพิเศษโดย Tea Master ให้รสชาติโทนวานิลลาหอมละมุน และหวานนุ่มแบบคาราเมลไลซ์ จำหน่ายในราคา 60 บาท ชาตรามือ เตรียมวางจำหน่ายในเดือนกรกฎาคม ชาตรามือ แบรนด์ชาไทยเก่าแก่กว่า 80 ปี เตรียมวางจำหน่าย “ชาไทยไม่ใส่สี” ภายในเดือนกรกฎาคม 2025 โดยใช้สูตรดั้งเดิมที่ตัดสีสังเคราะห์ Sunset Yellow ออกทั้งหมด พร้อมเปิดตัวเมนูใหม่ “ชาไทยสีธรรมชาติ” ในไตรมาส 3 ซึ่งใช้สีผสมอาหารจากธรรมชาติ เช่น แครอท ในการแต่งเติมสี เหตุผลเบื้องหลังการเปลี่ยนแปลง ปัญหาของสี Sunset Yellow FCF สี Sunset Yellow FCF เป็นสีผสมอาหารสังเคราะห์ที่ทำให้ชาไทยมีสีส้มสดใส อย่างไรก็ตาม สารนี้ถูกห้ามใช้หรือควบคุมการใช้ในหลายประเท […]

เทรนด์อสังหาริมทรัพย์ 2025
read more
20.06.2025 156

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในปี 2025: โอกาสและความท้าทายที่ต้องรู้

แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2025 จะมีสัญญาณการฟื้นตัวบางส่วน แต่ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ยังเผชิญกับแรงกดดันจากหลายด้าน ทั้งความผันผวนของดีมานด์–ซัพพลายในแต่ละเซกเมนต์ และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงเร็ว อย่างไรก็ตาม โครงการส่งเสริมการลงทุนและการท่องเที่ยวจากภาครัฐได้ช่วยประคองตลาดในบางพื้นที่ให้ค่อย ๆ ฟื้นตัว ยอดพรีเซลของ 10 บริษัทอสังหาฯ ชั้นนำในช่วงต้นปี 2025 อยู่ที่ 59,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% เทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) และ 7% จากไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) โดย โครงการคอนโดมิเนียม เป็นกลุ่มที่ผลักดันยอดขายได้มากที่สุด มูลค่ารวมกว่า 28,000 ล้านบาท เทรนด์อสังหาริมทรัพย์ที่ต้องรู้ในปี 2025 1. Digital Transformation & PropTech จากการวิเคราะห์และบริหารจัดการด้วยข้อมูลเรียลไทม์ ไปจนถึงการใช้ AI และ Big Data เพื่อคาดการณ์ความต้องการ — PropTech กลายเป็นเครื่องมือหลักในการแข่งขันและลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น 2. Smart Home Living ตลาดสมาร์ทโฮมทั่วโลกเติบโตอย่างรวดเร็ว และกำลังเป็น มาตรฐานใหม่ของที่อยู่อาศัยระดับกลางถึงบน โดยบริษัทไทยชั้นนำอย่าง แสนสิริ อนันดา และเอพี ต่างนำระบบอัจฉริยะเข้ามาในโครงการ 3. Green Bu […]

Future Lab Research
read more
19.06.2025 254

Future Lab Research: ถอดรหัสความในใจลูกค้า เพื่อธุรกิจที่ชนะในอนาคต

การแข่งขันในโลกยุคใหม่ วัดกันที่ใครเข้าถึงและเข้ากุมหัวใจลูกค้าเป้าหมายได้ก่อนและได้มากกว่าและ Future Lab Research คือคอนเซปต์การทำวิจัยที่ช่วยคุณได้ หลายคนอาจจะคิดว่าในโลกยุคเทคโนโลยีดิจิทัลขนาดนี้ อาจจะมี เทคโนโลยี อะไรที่สร้างความสามารถทางการแข่งขันให้กับธุรกิจของเราได้ใช่มั้ยคะ มันก็ใช่นะ มันช่วยได้ …แต่ลองคิดอีกทีเทคโนโลยีที่เกิดในยุคนี้ช่วงเวลานี้ล้วนแต่จะทำให้ ถูกลงๆ เข้าถึงได้มากขึ้น ถึงจุดหนึ่งเทคโนโลยีก็คือ Foundation หรือฐานรากของธุรกิจ ที่คนที่ไม่มีหรือทำไม่ได้ ใช้ไม่เป็นก็จะไม่สามารถอยู่ในโลกแห่งการแข่งขันได้อีกต่อไป เป็นเช่นนี้แล้วเราจะสร้างความแตกต่างและมีความสามารถทางการแข่งขันที่เหนือกว่าได้อย่างไร Back to Basic ค่ะ : ) คำตอบกลับมาอยู่ที่ความสามารถในการเข้าใจโจทย์ที่จะทำให้เราชนะ! ซึ่งโจทย์นั้นอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลก็คืออยู่ที่หัวใจของลูกค้าเป้าหมายของเรานั่นเองค่ะ เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นไม่ได้เปลี่ยนกุญแจดอกนี้ไปแต่เทคโนโลยีมาช่วยเสริมประสิทธิภาพในการเข้าถึงหัวใจของลูกค้า มันอาจจะง่ายขึ้น เร็วขึ้น ถูกลงบ้างในบางโจทย์ (แต่บางโจทย์ก็อาจจะยังต้องใช้วิธีคลาสสิคอยู่) และเทค […]

Netflix ผสาน Big Data กับ Thick Data เพื่อเข้าใจว่าทำไมผู้ชมจึงชื่นชอบการดูซีรีส์แบบมาราธอน และเปลี่ยนพฤติกรรมนี้ให้กลายเป็นกลยุทธ์ธุรกิจ
read more
19.06.2025 116

ความลับพฤติกรรม ‘ดูซีรีส์รวดเดียวจบ’ ที่ Netflix ไขได้จากการทำวิจัยกับคนดู

Big Data ผสาน Thick Data ปลดล็อกนวัตกรรมด้วยข้อมูลสองมิติ ครั้งหนึ่ง Netflix กำลังทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุดของโลกสตรีมมิ่ง ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังของ Big Data อันมหาศาล อัลกอริทึมอัจฉริยะสามารถแนะนำซีรีส์ และภาพยนตร์ที่ตรงใจผู้ชมได้อย่างน่าทึ่ง วิเคราะห์ทุกการคลิก ทุกการหยุดพัก และทุกยอดวิว พวกเขารู้ว่าผู้คนดูอะไร และ เมื่อไหร่ แต่ท่ามกลางข้อมูลเหล่านั้น มีพฤติกรรมหนึ่งผุดขึ้นมาอย่างโดดเด่นแต่ยังคงเป็นปริศนานั้นคือ “Binge-Watching” หรือการดูซีรีส์รวดเดียวจบแบบมาราธอน เเต่เพียงเเค่ข้อมูลที่บอก ‘อะไร’ อย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จขนาดนั้น จึงเป็นที่มาของ Thick Data มันคือข้อมูลเชิงคุณภาพที่ให้ความเข้าใจถึงแรงจูงใจ ความเชื่อ และประสบการณ์ส่วนบุคคล ในกรณีของ Netflix อะไรคือแรงขับเคลื่อนเบื้องหลังการที่ผู้คนเลือกที่จะใช้เวลาสุดสัปดาห์ไปกับการดูซีรีส์อย่างไม่หยุดหย่อน? อะไรคือสิ่งที่กระตุ้นอารมณ์และแรงจูงใจเบื้องลึก? Netflix ได้เชิญทีมวิจัยเข้าไปทำ Ethnographic Research โดยเข้าไปในบ้านของผู้ชมจริง เพื่อสังเกตการณ์พฤติกรรมการดูซีรีส์ในบริบทธรรมชาติ พวกเขาเฝ้าดูคู […]

What is a Unmet Need
read more
09.06.2025 230

What is a Unmet Need? (ความต้องการที่ซ่อนอยู่คืออะไร)

What is a Unmet Need? (ความต้องการที่ซ่อนอยู่คืออะไร) นวัตกรรมที่เปลี่ยนโลกมักไม่ได้เริ่มจากเทคโนโลยีล้ำยุคเสมอไป แต่มักเริ่มจากคำถามง่ายๆ ว่า “ความต้องการลึกๆ ของลูกค้าคืออะไร” ความต้องการลึกๆ หรือที่เรียกว่า Unmet Need ในเชิงทฤษฎีการออกแบบ และนวัตกรรมความต้องการของผู้ใช้งานสามารถแบ่งออกเป็นหลายระดับตั้งแต่ความต้องการพื้นฐานที่ผู้ใช้อธิบายได้อย่างชัดเจน ไปจนถึงความต้องการที่ยังไม่สามารถระบุ หรือรับรู้ได้ด้วยตนเองซึ่งเรียกว่า Hidden Needs หรือ Unmet Needs ความต้องการเหล่านี้มักอยู่ในระดับที่ลึกกว่าการแสดงออกทั่วไป เป็นสิ่งที่ฝังอยู่ในพฤติกรรม ความรู้สึก หรือสภาพแวดล้อมที่ผู้ใช้อาศัยอยู่ แนวคิดนี้เชื่อมโยงกับการออกแบบที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centered Design) และแนวทาง Outcome-Driven Innovation ของ Ulwick (2005) ซึ่งชี้ว่า ความเข้าใจใน “งานที่ผู้ใช้อยากให้เสร็จ (Jobs to Be Done)” นั้นต้องลึกซึ้งกว่าคำพูดหรือแบบสอบถามทั่วไป เพราะผู้ใช้จำนวนมากไม่สามารถบอกความต้องการที่แท้จริงของตนออกมาได้อย่างตรงไปตรงมา (Latent or Unarticulated Needs) ตัวอย่างของ Hidden Needs ได้แก่ ความรู้สึกไม่ […]

Subscription

เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เทรนด์และวิจัยต่อเนื่อง