Baramizi Lab logo

ทรัมป์ 2.0 กับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมโลก

ทรัมป์ 2.0 กับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมโลก

หลังจากการเลือกตั้งประธานธิบดีประเทศสหรัฐอเมริกา โลกได้รู้ว่าผู้นำคนต่อไปของประเทศพี่ใหญ่ของโลก คือ โดนัล ทรัมป์ การหวนคืนทำเนียบขาวเป็นสมัยที่ 2 ของ โดนัลด์ ทรัมป์ นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายของประเทศสหรัฐอเมริกาในหลายด้าน ทั้ง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แน่นอนว่าการขยับตัวของประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกย่อมสะเทือนไปทั้งโลก วันนี้เราจะมารีวิวหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือด้านสิ่งแวดล้่อม

วิกฤตสภาพภูมิอากาศและนโยบายทางด้านเศรษฐกิจสีเขียวของสหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งในประเด็นที่อาจได้เห็นความเปลี่ยนแปลงทางนโยบายจากการเป็นประธานาธิบดีอีกสมัยของทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผู้นี้เคยบอกว่าความพยายามในการส่งเสริมพลังงานสีเขียวเป็น “การหลอกลวง” มีการคาดการณ์ว่า โดนัลด์ ทรัมป์ จะพาสหรัฐฯ ถอนตัวออกจาก “ข้อตกลงปารีส” (Paris Agreement) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันทางกฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทรัมป์เองเคยออกจากข้อตกลงปารีสในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก

ข้อตกลงปารีสจัดทำขึ้นเมื่อปี 2015 มีเป้าหมายเพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และพยายามไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยตั้งเป้าบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emission) ภายในปี 2050

โดนัลด์ ทรัมป์ มีมุมมองว่า ภายใต้กรอบข้อตกลง ยังมีประเทศที่ไม่ทำตามเป้าหมาย เช่น ประเทศผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันดับหนึ่งอย่างจีน หรือประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ยังบรรลุตามเป้าหมายไม่ได้ เหตุใดสหรัฐฯ จะต้องทำ

อีกนโยบายที่ไปให้สุดคือการมุ่งเน้นการสนับสนุนการผลิตพลังงานจากฟอสซิล เช่น น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ สอดคล้องกับสโลแกนในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง “Drill Baby Drill” ชูนโยบายสนับสนุนการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอย่างเต็มที่  ทั้งยังให้ความสำคัญกับการลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ และยังยกเลิกเครดิตภาษีคาร์บอน

อีกสิ่งที่ต้องจับตาคือ กฎหมายลดเงินเฟ้อ (The Inflation Reduction Act) ซึ่งออกแบบมาเพื่อกระตุ้นโครงการพลังงานสะอาดผ่านเงินช่วยเหลือ เงินกู้ และเครดิตภาษี ว่าจะถูกยกเลิกหรือไม่

โดยรวมนี่เป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงในด้านสิ่งแวดล้อม เพราะดูเหมือนว่า โลกเรากำลังขึ้นอยู่กับประเทศมหาอำนาจที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเป็นอันดับ 2 ของโลก

ผู้เขียน: พลวัฒน์ จูเจริญ

RECOMMEND

read more
25.11.2024 5

ทรัมป์ 2.0 กับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมโลก

หลังจากการเลือกตั้งประธานธิบดีประเทศสหรัฐอเมริกา โลกได้รู้ว่าผู้นำคนต่อไปของประเทศพี่ใหญ่ของโลก คือ โดนัล ทรัมป์ การหวนคืนทำเนียบขาวเป็นสมัยที่ 2 ของ โดนัลด์ ทรัมป์ นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายของประเทศสหรัฐอเมริกาในหลายด้าน ทั้ง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แน่นอนว่าการขยับตัวของประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกย่อมสะเทือนไปทั้งโลก วันนี้เราจะมารีวิวหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือด้านสิ่งแวดล้่อม วิกฤตสภาพภูมิอากาศและนโยบายทางด้านเศรษฐกิจสีเขียวของสหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งในประเด็นที่อาจได้เห็นความเปลี่ยนแปลงทางนโยบายจากการเป็นประธานาธิบดีอีกสมัยของทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผู้นี้เคยบอกว่าความพยายามในการส่งเสริมพลังงานสีเขียวเป็น “การหลอกลวง” มีการคาดการณ์ว่า โดนัลด์ ทรัมป์ จะพาสหรัฐฯ ถอนตัวออกจาก “ข้อตกลงปารีส” (Paris Agreement) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันทางกฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทรัมป์เองเคยออกจากข้อตกลงปารีสในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก ข้อตกลงปารีสจัดทำขึ้นเมื่อปี 2015 มีเป้าหมายเพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำ […]

read more
29.10.2024 96

แนวโน้มเทรนด์สวนสัตว์ ประจำปี 2025

ในช่วงที่ผ่านมา กระแส “หมูเด้ง” ลูกฮิปโปแคระจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว เป็นที่นิยมสูงมาก โด่งดังเป็นปรากฏการณ์ระดับโลก และมีแฟนๆ พร้อมต่อคิวเพื่อไปเห็นหมูเด้งตัวเป็นๆ วันนี้ผู้เขียนจะมาชวนผู้อ่านทุกท่านไปพบกับเทรนด์ของการออกแบบสวนสัตว์ในปี 2025 ว่าจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไรในอนาคต เมื่อเรามองตลาดสวนสัตว์ในภาพรวมระดับโลก ตลาดซึ่งรวม ธุรกิจพิพิธภัณฑ์ แหล่งประวัติศาสตร์ สวนสัตว์ และสวนสาธารณะ รวมกันแล้วประมาณการมีมูลค่า 24.93 พันล้านดอลล่าสหรัฐ ในปี 2024 และคาดการณ์ว่าในปี 2029 จะมีมูลค่า 52.06 พันล้านดอลล่าสหรัฐ ด้วยอัตราการเติบโตทบต้นอยู่ที่ 15.88% แนวโน้มของสวนสัตว์ในปี 2025 คาดว่าจะสะท้อนถึงการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี การอนุรักษ์ และความคาดหวังของผู้เข้าชมที่พัฒนาไป สวนสัตว์ยุคใหม่จะเน้นด้านการศึกษา การอนุรักษ์สัตว์ป่า และประสบการณ์เชิงโต้ตอบมากกว่าการจัดแสดงแบบดั้งเดิม ซึ่งมีแนวโน้มสำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2025 ดังนี้: 1. ประสบการณ์ดิจิทัลเสมือนจริง (Immersive Digital Experiences) สวนสัตว์นำเทคโนโลยี AR และ VR เข้ามาใช้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่น่าดื่มด่ำมากขึ้น ให้ผู้เข้าชมได้พบปะกับสัตว์ท […]

วิจัยบารามีซี่ แล็บ
read more
28.10.2024 75

INNOVATION UPDATE

Fitness is Edible: เมื่อความฟิต เรากินได้ ผู้คนจำนวนมากขึ้นกำลังมองหาวิธีที่สะดวกสบายในการรักษาสุขภาพโดยไม่ต้องเสียเวลาไปกับการออกกำลังกายแบบเดิมๆ สอดคล้องกับกระแสสำคัญในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคตบารามีซี่ แล็บ ได้ศึกษาหาข้อมูลพบว่า ตลาดการดูแลสุขภาพทั่วโลกซึ่งปัจจุบันมีมูลค่ามากกว่า 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้คนจำนวนมากขึ้นแสวงหาผลิตภัณฑ์ และบริการที่ช่วยให้การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องง่าย และเข้าถึงได้มากขึ้น การจัดการน้ำหนักเป็นพื้นที่สำคัญในภาคส่วนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการคาดการณ์ว่าประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลกอาจมีน้ำหนักเกินภายในปี 2035 ส่งผลให้ยาลดน้ำหนัก และอาหารเสริมได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น อนาคตเริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อนักวิทยาศาสตร์จาก Aarhus University ในประเทศเดนมาร์ก ได้พัฒนาตัวยาที่จำลองการเผาผลาญเทียบเท่าการวิ่งระยะ 10 กิโลเมตรได้ หรือจะเรียกว่า “ยาออกกำลังกาย” ภายในบรรจุโมเลกุลที่เรียกว่า ‘LaKe’ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างแลคเตต (Lactates) และคีโตน (Ketones) ที่เกิดขึ้นระหว่างการออกกำลังกา […]

การวิจัยบารามีซี่แล็บ
read more
18.10.2024 178

รูปแบบการทำวิจัยมีกี่แบบ

การทำวิจัยมีกี่รูปแบบ? และแต่รูปแบบแตกต่างกันอย่างไร? ใช้เมื่อไร? การทำวิจัยมี 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.การวิจัยแบบ Exploration Research  2.การวิจัยแบบ Evaluation Research  ความแตกต่างของทั้ง 2 แบบ และใช้เมื่อไร? 1.Exploration Research คือ การวิจัยแบบการค้นหาสิ่งใหม่ๆ ให้ภาคธุรกิจ ใช้เมื่อเวลาธุรกิจต้องการค้นหาโอกาสใหม่ๆ หรือต้องการเรียนรู้ตลาดกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ที่แบรนด์จะต้องการผลักดันให้เติบโต กล่าวคือ เน้นการหา Needs หรือ Unmet Needs ของผู้บรโภค แม้กระทั้งเค้าก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองต้องการ นี่คือหัวใจสำคัญของการจะทำให้ธุรกิจก้าวไปในอนาคต  ยกตัวอย่างโจทย์เช่น การพัฒนาต้นแบบร้านให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายเพื่อเพิ่มยอดขาย “ทำอย่างไรจึงจะคว้าใจกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมได้”  ข้อดีของการทำวิจัยประเภทนี้ … จะได้สิ่งใหม่ๆ ที่แบรนด์จะได้พัฒนาไปสู่ยุคอนาคต และเป็นการดึงให้ผู้บริโภคยังคงจดจำเราได้ตลอดไป  ควรทำวิจัยประเภทนี้ตอนไหน… ธุรกิจที่ต้องการทำ Brand Transform คือ การเปลี่ยนถ่ายแบรนด์ไปสู่ยุคใหม่ ค้นหา New Business Model ค้นหา New Experience  ค้นหา New Marketing  2.Evaluation Research คือ การวิจัยแบบประ […]

read more
30.09.2024 253

วัฒนธรรมกินเจ กับตลาดโปรตีนทางเลือก (Alternative Protein)

เทศกาลกินเจปีนี้ตรงกับช่วงวันที่ 3 ต.ค. – 11 ต.ค. 2567 เป็นระยะเวลา 9 วัน ที่คนไทยจำนวนหนึ่งเลือกที่จะ “กินเจ” คืองดบริโภคเนื้อสัตว์ โดยกินเจมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย ทั้งกินเจเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น, กินเจเพื่อทำบุญ และกินเจเพื่อละเว้นกรรม (ที่เกิดจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต) โดยประมาณการ เม็ดเงินค่าใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ช่วงเทศกาลกินเจน่าจะมีมูลค่าหลายพันล้านบาท อย่างไรก็ตาม นอกจากเทศกาลกินเจที่เกิดขึ้นแล้วจบในช่วงไม่กี่วันในหนึ่งปี เรายังมีไลฟ์สไตล์การงดบริโภคเนื้อสัตว์ที่กินประจำตลอดทั้งปี โดยมีหลากหลายชื่อเรียก ไม่ว่าจะเป็น กินเจ (ที่กินได้หลายแบบ) กินมังสวิรัติ กินแบบวีแกน เหล่านี้มีข้อบังคับการกินที่แตกต่างกันไป ข้อมูลจากชุดข้อมูลวิจัยเทรนด์ Future Food Business Trends 2025 โดยศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซ็ปต์แห่งอนาคต บารามีซี่ แล็บ มีข้อมูลว่า มีคนไทยไม่กินเนื้อสัตว์ 7.8% ของประชากรทั้งหมด จากข้อมูลตลาดดังกล่าวทำให้มองเห็นโอกาสของธุรกิจโปรตีนทางเลือก (Alternative Protein) คือการกินโปรตีนทางเลือกเข้ามาแทนโปรตีนแบบดั้งเดิมที่ผลิตจากระบบปศุสัตว์ ซึ่งอาจประกอบไปด้วยโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว […]

Subscription

เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เทรนด์และวิจัยต่อเนื่อง