Baramizi Lab logo

สถานการณ์ E-commerce ในประเทศไทย

สถานการณ์ E-commerce ในประเทศไทย

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาด E-commerce ในประเทศไทยได้เติบโตอย่างรวดเร็วและกลายเป็นหนึ่งในกลุ่มตลาดที่มีความเคลื่อนไหวสูงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเติบโตนี้ได้รับแรงผลักดันจากการเพิ่มขึ้นของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์มือถือ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่หันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้นในการจับจ่ายใช้สอย ที่มีผลต่อเนื่องมากจากช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาดนั่นเอง โดยข้อมูลจาก Statista คาดการณ์ว่ารายได้ในตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยจะสูงถึง 19.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2024 และคาดว่ารายได้จะแสดงอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR 2024-2029) ที่ 10.89% ส่งผลให้มีปริมาณตลาดที่คาดการณ์ไว้ที่ 32.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2029

 

หนึ่งในแอปพลิเคชั่น e-commerce ที่ได้รับความนิยมสูงในประเทศไทยคือ Shopee แอปนี้เป็นที่รู้จักดีในฐานะตลาดออนไลน์ที่มีสินค้าหลากหลายประเภทตั้งแต่แฟชั่นและเครื่องสำอางไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และของใช้ในบ้าน Shopee ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วด้วยการนำเสนอโปรโมชั่นที่ดึงดูดใจและประสบการณ์การช็อปปิ้งที่สะดวกสบาย อีกหนึ่งแอปพลิเคชั่นที่มีบทบาทสำคัญในตลาด e-commerce ของไทยคือ Lazada ซึ่งเป็นเจ้าของโดยกลุ่ม Alibaba ของจีน Lazada มุ่งเน้นไปที่การให้บริการสินค้าในหลากหลายหมวดหมู่และการให้บริการจัดส่งที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ ด้วยการสนับสนุนจากเครือข่ายโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่งทำให้ Lazada สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

โดยล่าสุด ประเทศไทยจะมีการเข้ามาใหม่ของ E-commerce ที่ชื่อว่า Temu ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจและส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อแวดวงค้าปลีกออนไลน์ในประเทศไทย โดย Temu เป็นแอพพลิเคชันช็อปปิ้งที่มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วเนื่องจากการนำเสนอสินค้าที่หลากหลายและราคาที่แข่งขันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ผู้บริโภคต้องการความสะดวกสบายและคุ้มค่ามากที่สุด Temu มุ่งเน้นการใช้กลยุทธ์ราคาต่ำและโปรโมชั่นที่ดึงดูดลูกค้า ทำให้ผู้บริโภคในไทยสามารถเข้าถึงสินค้าใหม่ๆ ที่มีคุณภาพโดยไม่ต้องออกจากบ้าน นอกจากนี้ มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการจัดการคลังสินค้าและการส่งมอบยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า ทำให้ Temu กลายเป็นคู่แข่งที่น่าจับตามองในตลาดอีคอมเมิร์ซไทยที่มีการแข่งขันสูง

 

ปัจจุบันนี้ นอกเหนือจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียได้พัฒนาไปไกลกว่าเพียงแค่เป็นพื้นที่สำหรับการสื่อสารและแชร์คอนเทนต์ แต่ยังกลายเป็นช่องทางสำคัญในการทำธุรกิจอีกด้วย การเพิ่มฟีเจอร์การขายสินค้าเข้ามาในแพลตฟอร์มเหล่านี้ เช่น Facebook, Instagram และ TikTok ทำให้ผู้ใช้งานสามารถทำการซื้อขายสินค้าได้โดยตรงจากแอพพลิเคชัน โดยไม่ต้องออกจากแพลตฟอร์มที่ใช้อยู่ ความสะดวกสบายนี้ช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น และช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ทันทีจากคอนเทนต์ที่พวกเขาชื่นชอบ โดยจากข้อมูลของ EcomEye อัตราการเข้าถึงอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซในประเทศไทยแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่น่าสนใจบางประการ ในปี 2024 อีคอมเมิร์ซคิดเป็นประมาณ 8% ของยอดขายปลีกทั้งหมดของประเทศไทย ในขณะที่บนโซเชี่ยลมีเดียแพลตฟอร์มคิดเป็น 75% โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน Facebook, Line และ Instagram ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากโดยผู้บริโภคชาวไทย 56%

 

ด้วยขนาดตลาดที่ใหญ่และการเติบโตอย่างต่อเนื่องของอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซในประเทศไทย จึงน่าติดตามว่าการแข่งขันในสมรภูมิ E-Commerce ของประเทศไทยจะเป็นอย่างไรในอนาคต การดำเนินนโยบายของภาครัฐจึงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทย เพื่อให้สามารถแข่งขันและเติบโตในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการพัฒนาตลอดเวลา

 

ผู้เขียน

นางสาวจินต์ศุจี มณฑิราลัยพร

 

ที่มา

https://www.statista.com/outlook/emo/ecommerce/thailand#:~:text=Revenue%20in%20the%20eCommerce%20Market,US%2432.32bn%20by%202029

https://www.similarweb.com/top-websites/thailand/e-commerce-and-shopping/#:~:text=shopee.co.th%20ranked%20number,Ecommerce%20%26%20Shopping%20websites%20in%20Thailand

https://ecomeye.com/thailand/thailand-ecommerce-market/ 

RECOMMEND

Superfansindex.com
read more
13.09.2024 29

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแบรนด์เราสุขภาพดีแค่ไหน?

ในหลายๆ ธุรกิจมักจะนึกถึงยอดขายที่จะทำให้รู้สึกว่าแบรนด์เรายังมีลูกค้าซึ่งก็ส่งผลต่อสุขภาพของแบรนด์ได้เช่นเดียวกัน แต่แท้ที่จริงแล้วแบรนด์คุณอาจจะสุขภาพไม่ดีก็ได้ เหมือนร่างกายคนถ้าไม่ไปตรวจสุขภาพเราก็จะไม่รู้ว่าข้างในร่างกายเป็นอย่างไร ทั้งๆ ที่ภายนอกเรายังรู้สึกปกติอยู่  เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเกิดปัญหา และอาจส่งผลให้ปัญหานั้นลามใหญ่โตซึ่งต้องใช้ทั้งเงินและเวลาในการแก้ไข การวิจัยตรวจสอบสุขภาพแบรนด์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์ควรจะทำอย่างต่อเนื่อง เปรียบเหมือนการเอ๊กซเรย์แบรนด์…เพราะหากรู้ก่อนย่อมสามารถแก้ปัญหาได้เร็วกว่า จากภาพข้างต้นหากทุกแท่งมีฐานที่กว้าง การันตีได้เลยว่าแบรนด์คุณสุขภาพดี เพราะการลงงบไปกับสื่อหรือการสร้างประสบการณ์นั้นสามารถได้ใจลูกค้าจนเกิดความเป็น Superfans ได้ (ความเป็น Superfans ของแบรนด์ คือ ขั้นสุดที่แบรนด์ควรไปให้ถึงและเก็บให้ได้มากที่สุด หรือที่เราเรียกว่า สาวกของแบรนด์)  รูปแบบการตรวสอบสุขภาพแบรนด์  โดยทั่วไปสามารถพบได้ 3 รูปแบบ 1.การวิจัยเพื่อตรวจสอบรายปี  เหมาะสำหรับแบรนด์/ องค์กรที่มีการลงงบการตลาด การทำแคมเปญต่างๆ ในช่วงระหว่างปี เพื่อให้เราสามารถรู้ได้ว่ารู […]

read more
11.09.2024 36

ตลาด Sustainable Fashion กับการเติบโต 22.9% ต่อปี

Sustainable Fashion หรือ แฟชั่นแบบยั่งยืนที่เคยเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ในอุตสาหกรรมแฟชั่นโดยรวม กำลังได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วเนื่องจากผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและจริยธรรมมากขึ้น ในปี 2024 ตลาดแฟชั่นยั่งยืนระดับโลกมีมูลค่า 8.1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2024 และคาดว่าจะเติบโตถึง 33.1 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2033 ด้วยอัตรา CAGR 22.9% ในช่วงคาดการณ์ปี 2024 – 2033 แม้ว่าจะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ผลกระทบของแฟชั่นยั่งยืนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากแบรนด์และผู้ค้าปลีกรายใหญ่ต่างนำแนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนเข้ามาใช้ในธุรกิจของตน การเพิ่มขึ้นของแบรนด์แฟชั่นยั่งยืน ร่วมกับการนำโครงการริเริ่มสีเขียวมาใช้โดยบริษัทที่จัดตั้งขึ้นแล้ว กำลังผลักดันตลาดให้ก้าวไปข้างหน้า พร้อมแรงหนุนจากความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม อุตสาหกรรมแฟชั่นยั่งยืนมีโอกาสอีกมากมาย เช่น ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคที่ต้องการความโปร่งใสในกระบวนการผลิตและการจัดหาวั […]

read more
11.09.2024 57

ทิศทาง Food delivery ทั้งไทยและต่างประเทศ

ตลาด Food Delivery ในไทยปี 2567 ยังมีเทรนด์ที่ลดลงต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้มีการประเมินว่าในปี 2567 มูลค่าตลาด Food Delivery จะอยู่ที่ประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท  หรือหดตัว 1.0% จากปี 2566 แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการสั่งอาหารเฉลี่ยต่อครั้งน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น (Price per Order) ประมาณ 2.8% จากค่าเฉลี่ยในปี 2566 หรือ มีราคาเฉลี่ยประมาณ 185 บาทต่อครั้งของการสั่ง ซึ่งจะมีผลตามมาต่อทั้งจำนวนครั้งและปริมาณการสั่งให้ลดลง ปัจจุบัน ตลาด Food Delivery ในหลายประเทศกำลังเผชิญกับแนวโน้มขาลงไม่ต่างจากประเทศไทย แม้ว่าจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเห็นการเติบโตชะลอตัวเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงและต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น ส่งผลให้บริการต้องปรับราคาให้สูงขึ้นเพื่อรักษากำไร ขณะที่ในญี่ปุ่น การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการจัดส่งและการแข่งขันจากผู้เล่นหลายราย ทำให้บริษัทฟู้ดเดลิเวอรี่ต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดและกำไร  การเติบโตของตลาด Food Delivery ทั่วโลก รายได้ในตลาดบริการจัดส่งอาหารออนไลน์คาดว่าจะสูงถึง 1.22 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567 แล […]

read more
06.09.2024 119

ตลาด Sustainable Dining กับการเติบโต 6.9% ต่อปี

Sustainable Dining หรือ การรับประทานอาหารอย่างยั่งยืนหมายถึงการเลือกอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม แนวทางการรับประทานอาหารนี้เน้นที่การบริโภคอาหารที่ผลิตและเตรียมในลักษณะที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่น การรับประทานอาหารอย่างยั่งยืนอาจเกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติต่างๆ เช่น การเลือกส่วนผสมจากแหล่งท้องถิ่นและออร์แกนิก การลดขยะอาหาร การเลือกอาหารจากพืชและการสนับสนุนร้านอาหารและธุรกิจที่ยึดมั่นในแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน เป้าหมายหลักคือการสร้างระบบอาหารที่สามารถรักษาคนรุ่นต่อไปได้โดยไม่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติหมดสิ้นหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบนิเวศ โดยมูลค่าตลาดอาหารที่ยั่งยืนมีมูลค่า 1,066.2 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2023 และคาดว่าจะถึง 1,945.38 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2032 โดยเติบโตที่อัตรา CAGR 6.91% ตั้งแต่ปี 2024-2032 แนวโน้มเหล่านี้สะท้อนถึงการเคลื่อนไหวที่กว้างขึ้นสู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งขับเคลื่อนโดยความต้องการของผู้บริโภคและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เมื่อการรับประทานอาหารที่ยั่งยืนกลายเป็นกระแสหลักมากขึ้น จึงมีศัก […]

read more
06.09.2024 125

Urban Farming การทำเกษตรในเมือง

ในขณะที่เมืองทั่วโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความจำเป็นในการหาแหล่งอาหารที่ยั่งยืนก็มีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม การทำเกษตรในเมือง ซึ่งเคยเป็นเพียงแค่แนวคิดเล็กๆ กำลังกลายเป็นขบวนการที่ทรงพลังซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการที่เราคิดเกี่ยวกับการผลิตอาหารและการใช้ชีวิตในเมือง โดยการเปลี่ยนหลังคาอาคาร ที่ดินว่างเปล่า หรือแม้แต่ระเบียงเล็กๆ ให้กลายเป็นพื้นที่การเกษตรที่เจริญรุ่งเรือง การทำเกษตรในเมืองเสนอโซลูชั่นใหม่สำหรับการแก้ปัญหาที่สำคัญที่สุดที่เมืองสมัยใหม่กำลังเผชิญ การทำเกษตรในเมืองคืออะไร การทำเกษตรในเมือง หรือ Urban Farming คือ การปลูกอาหารภายในสภาพแวดล้อมของเมือง โดยมักใช้พื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ แตกต่างจากการเกษตรแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้พื้นดินในชนบทอย่างกว้างขวาง การทำเกษตรในเมืองสามารถผสมผสานเข้ากับพื้นที่ของเมืองได้ ซึ่งอาจหมายถึงทุกอย่างตั้งแต่สวนชุมชนในที่ดินว่าง ไปจนถึงฟาร์มแนวตั้งบนด้านข้างของอาคารหรือระบบไฮโดรโปนิกส์ในห้องใต้ดิน ประโยชน์ของการทำเกษตรในเมือง ความยั่งยืนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การทำเกษตรในเมืองมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความยั่งยืน การผลิตอาหารในท้องถิ่ […]

Subscription

เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เทรนด์และวิจัยต่อเนื่อง