รูปแบบการทำวิจัยมีกี่แบบ
การทำวิจัยมีกี่รูปแบบ? และแต่รูปแบบแตกต่างกันอย่างไร? ใช้เมื่อไร?
การทำวิจัยมี 2 รูปแบบ ได้แก่
1.การวิจัยแบบ Exploration Research
2.การวิจัยแบบ Evaluation Research
ความแตกต่างของทั้ง 2 แบบ และใช้เมื่อไร?
1.Exploration Research คือ การวิจัยแบบการค้นหาสิ่งใหม่ๆ ให้ภาคธุรกิจ ใช้เมื่อเวลาธุรกิจต้องการค้นหาโอกาสใหม่ๆ หรือต้องการเรียนรู้ตลาดกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ที่แบรนด์จะต้องการผลักดันให้เติบโต กล่าวคือ เน้นการหา Needs หรือ Unmet Needs ของผู้บรโภค แม้กระทั้งเค้าก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองต้องการ นี่คือหัวใจสำคัญของการจะทำให้ธุรกิจก้าวไปในอนาคต
ยกตัวอย่างโจทย์เช่น การพัฒนาต้นแบบร้านให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายเพื่อเพิ่มยอดขาย “ทำอย่างไรจึงจะคว้าใจกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมได้”
ข้อดีของการทำวิจัยประเภทนี้ …
จะได้สิ่งใหม่ๆ ที่แบรนด์จะได้พัฒนาไปสู่ยุคอนาคต และเป็นการดึงให้ผู้บริโภคยังคงจดจำเราได้ตลอดไป
ควรทำวิจัยประเภทนี้ตอนไหน…
- ธุรกิจที่ต้องการทำ Brand Transform คือ การเปลี่ยนถ่ายแบรนด์ไปสู่ยุคใหม่
- ค้นหา New Business Model
- ค้นหา New Experience
- ค้นหา New Marketing
2.Evaluation Research คือ การวิจัยแบบประเมินสิ่งที่แบรนด์ได้ทำไป และต้องการวัดผลว่าการลงเม็ดเงินของเราคุ้มค่า หรือลงถูกจุดหรือไม่
ยกตัวอย่างโจทย์เช่น การประเมินความพึงพอใจของร้านบริการต่างๆ / ร้านอาหาร เป็นต้น หรือ การตรวจสอบสุขภาพแบรนด์ประจำปี เพื่อให้เราได้รู้ว่าทุกการลงงบไปนั้นสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากน้อยแค่ไหน แล้วกลายเป็น Superfans ของแบรนด์ได้หรือไม่ ซึ่งผลจะออกมาเป็นตัวเลข
ข้อดีของการทำวิจัยประเภทนี้…
ทำให้เรารู้ว่าสิ่งที่ทำไปแล้วมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเป็นอย่างไร
บางองค์กรนำมาเป็นตัวชี้วัดเพื่อประเมิน KPIs ของคนทำงานที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งจากผลวิจัย BFV Model นั้น ตัวชี้วัดที่สำคัญมากๆ ในยุคแห่งอนาคต คือ การสร้าง Superfans เพราะทำให้ทุกฝ่ายร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ของตนเองเพื่อเป้าหมายเดียวกัน
ควรทำวิจัยประเภทนี้ตอนไหน…
เมื่อเราได้มีการลงงบไปกับการทำการตลาด หรือการพัฒนาใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ ก็ควรจะมีการประเมินหลังงานจบ หรือประเมินตามรอบที่ต้องการแต่ควรทำทุกปี
การที่ธุรกิจจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การใช้ข้อมูลเป็นในยุคปัจจุบันนี้ คือ สิ่งสำคัญ เจ้าของธุรกิจบางท่านอาจไม่ได้ใช้ข้อมูล แต่หลายๆ ท่านเค้าเป็นนักวิจัย โดยไม่รู้ตัว และคอยพัฒนาตามประสบการณ์ User อย่างต่อเนื่อง
“เพราะธุรกิจต้องใช้ข้อมูลทำงาน”