Baramizi Lab logo

แนวโน้มการออกแบบสำหรับครอบครัวหลายช่วงวัย (Intergeneration Living Design Trends)

06
08.2024
view
305
SHARE

แนวโน้มการออกแบบสำหรับครอบครัวหลายช่วงวัย (Intergeneration Living Design Trends)

ทุกวันนี้ แนวโน้มการอยู่อาศัยแบบครอบครัวหลายช่วงวัยได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น ซึ่งมีหลายเหตุผล เช่น เรื่องการประหยัดค่าใช้จ่าย เรื่องความสัมพันธ์ที่อยากกลับมาอยู่ร่วมกันแบบพร้อมหน้า ต้องการให้พ่อแม่เลี้ยงลูกให้ ไปจนถึงได้ดูแลพ่อแม่ที่อายุมากขึ้นและอาจป่วยเป็นโรคต่างๆ ด้วยเงื่อนไขของผู้พักอาศัยที่มีหลายคนและหลายช่วงวัย จึงนำมาซึ่งแนวทางในการออกแบบพื้นที่อยู่อาศัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการดังนี้

แนวทางการออกแบบโดยภาพรวม (General Design Concept for Intergeneration Living)

  • Public & Private Space มีทั้งพื้นที่ Public Space ที่สามารถใช้ชีวิตและใช้เวลาร่วมกันได้พร้อมหน้าพร้อมตา  และพื้นที่ Private Space เพราะ “ความเป็นส่วนตัว” คือปัจจัยสำคัญที่สุด และเป็นความท้าทายของที่พักอาศัยที่มีสมาชิกหลายครอบครัวมาอยู่รวมกัน แต่ละวัยที่อาศัยอยู่ในบ้านต้องการพื้นที่ส่วนตัวของตัวเอง
  • Universal Design การออกแบบเพื่อทุกคน คือทุกเพศทุกวัย 
  • Aged in place คือแนวคิดที่เชื่อว่า ผู้อยู่อาศัยสามารถใช้ชีวิตอยู่ในบ้านและสังคมของตนเองได้อย่างอิสระและปลอดภัย ตลอดช่วงชีวิต พร้อมสิ่งอำนวยสะดวกสบายไว้รองรับการอยู่อาศัยอย่างครบครัน
  • Multi Master Bed Room รองรับการเติบโตของครอบครัวในอนาคตแล้วยังสามารถรองรับการนอนแยกห้องของคู่สามีภรรยาเพื่อพฤติกรรมการนอนหลับที่ดีขึ้นได้อีกด้วย
  • Multi Living Room การจัดสรรพื้นที่นั่งเล่นส่วนรวมสำหรับคนหลายเจนอย่างน้อย 2 พื้นที่เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่างกันของแต่ละวัย
  • Multi Entrance สมาชิกแต่ละเจนล้วนมีตารางชีวิตแตกต่างกัน ทำให้เวลาเข้า-ออกบ้านอาจเหลื่อมล้ำกันไปมา
  • Aging Facility มีสิ่งอำนวยความสะดวกพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะ อาทิ โรงพยาบาล คลีนิค
  • Mixed Style & Material การมีสไตล์หรือการใช้วัสดุที่แตกต่างกันในแต่ละครอบครัวและพื้นที่เพื่อบ่งบอกพื้นที่ของคนแต่ละครอบครัวย่อย

แนวทางการออกแบบเชิงพื้นที่ (Space Design Solutions)

1. Basic การแบ่งพื้นที่ให้ห้องผู้สูงอายุและ Public Space อยู่ชั้นล่างและพื้นที่ส่วนตัวอยู่ที่ชั้นสอง

2. Leveling การแบ่งพื้นที่แต่ละครอบครัวย่อยออกจากกันด้วยกันแบ่งชั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบ้าน
ที่มี 3-4 ชั้น และแบ่งพื้นที่ให้คนแต่ละช่วงวัย หรือแต่ละครอบครัวย่อยอยู่ด้วยกันคนละชั้น

3. Co-Living ที่พักอาศัยที่เอื้อให้สมาชิกในโครงการได้มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น
เต็มไปด้วยพื้นที่ส่วนกลางที่เน้นการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน

4. Courtyard & Surround การจัดพื้นที่ให้คอร์ทยาร์ดตรงกลางเป็นพื้นที่สำหรับพบปะ
สังสรรค์ในครอบครัวและรายล้อมไปด้วยที่พักอาศัยของแต่ละครอบครัวและช่วงวัย

5. Free Space

‘Free’ Space พื้นที่อิสระ เป็นการเพิ่มพื้นที่ว่างบริเวณกลางบ้านที่เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่าง Common Area & Private Area เอื้อประโยชน์ให้เกิดพื้นที่ส่วนตัวเฉพาะรูปแบบเกิดความอิสระในการพักผ่อน|
6. Interlocking
การแยกพื้นที่บ้านออกเป็นส่วนและเชื่อมกันด้วยพื้นที่ Common Area สำหรับการใช้ชีวิตร่วมกัน
7. Multi Living Unit

ออกแบบ Unit ย่อยมารวมกันเป็นบ้านของครอบครัวหลังใหญ่ จุดสำคัญของประสบการณ์ที่เกิดขึ้นคือ การทอนสเกลของตัวสถาปัตยกรรมให้ดูเหมือนบ้านหลังเล็กหลายหลัง

RECOMMEND

Plant Extinction Freeze or Force_BaramiziLab
read more
16.12.2024 88

อนาคตถ้าพืชจะสูญพันธุ์ เราเลือกเก็บ หรือปล่อยให้ปรับตัว

INNOVATION UPDATE: Plant Extinction Freeze or Force: อนาคตถ้าพืชจะสูญพันธุ์ เราเลือกเก็บ หรือปล่อยให้ปรับตัว The Svalbard Global Seed Vault ตั้งอยู่ในหมู่เกาะ Svalbard ของนอร์เวย์ ทำหน้าที่เก็บรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของพืชพรรณทั่วโลก คลังรักษาเมล็ดพันธุ์แห่งนี้เริ่มเปิดทำการเมื่อปี 2008 และมีการรับฝากเมล็ดพันธุ์จากทั่วโลก โดยเฉพาะในปี2024 มีการฝากเมล็ดพันธุ์จำนวนมากที่สุดในรอบ 16 ปี เมล็ดพันธุ์ทั้งหมดจะถูกเก็บรักษาในถุงพิเศษที่ทนต่อความชื้นและเก็บในสภาพแวดล้อมอุณหภูมิต่ำถึง -18 องศาเซลเซียส เพื่อให้พืชอยู่ในสภาวะหลับใหลเป็นเวลานาน ด้วยเป้าหมายที่จะป้องกันการสูญพันธุ์ของพืชสำคัญจากภัยพิบัติ ภาวะโลกร้อน และโรคจากพืช แต่ภารกิจของคลังนี้ก็ก่อให้เกิดคำถามสำคัญว่าเราควรจะเน้นการรักษาพืชพันธุ์ที่มีอยู่ หรือปล่อยให้พืชปรับตัวและวิวัฒนาการตามธรรมชาติเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลก การวิวัฒนาการเป็นกระบวนการที่พืชและสิ่งมีชีวิตใช้ในการปรับตัวและพัฒนาคุณลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง การปล่อยให้พืชวิวัฒนาการสามารถช่วยให้ได้พืชชนิดใหม่ที่ทนทานยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยการแทรกแซง […]

BaramiziLab_ResearchForBusiness
read more
09.12.2024 116

แนวคิดอนาคตของการเรียนรู้ภูมิปัญญา

INNOVATION UPDATE : School of Wisdom: ภูมิปัญญาที่ซับซ้อน สอนกันได้หรือไม่? อนาคตที่ปัญญาประดิษฐ์ และระบบอัตโนมัติมีความก้าวหน้ามากขึ้น คาดว่างานหลายล้านตำแหน่ง โดยเฉพาะงานด้านการบริหาร จะหายไปภายในปี 2027 ภาระงานที่ใช้การทำซ้ำหรือใช้ข้อมูล จะถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ แล้วสิ่งใดคืออาวุธของมนุษย์ในการต่อสู้กับตลาดเเรงงานที่มีคู่แข่งหน้าใหม่เหล่านี้ สิ่งนั่นคือ ภูมิปัญญา (Wisdom) ซึ่งแตกต่างจากความรู้ (Knowledge) หรือสติปัญญา (Intelligence) ภูมิปัญญาเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจทางจริยธรรม ความเห็นอกเห็นใจ และการตัดสินใจที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นทักษะที่ปัญญาประดิษฐ์เลียนแบบได้ยาก (หรืออาจได้ในอนาคตอันใกล้) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการนี้ แนวคิดของ “โรงเรียนแห่งภูมิปัญญา” จึงเกิดขึ้น การศึกษาที่เน้นภูมิปัญญาจะปลูกฝังการใช้เหตุผลทางจริยธรรม ความตระหนักทางวัฒนธรรม และสติปัญญาทางอารมณ์ เพื่อเตรียมนักเรียนให้เผชิญกับความท้าทายในโลกแห่งความเป็นจริงด้วยความเข้าใจ และความยืดหยุ่น การนำเครื่องมือดิจิทัล เช่น การจำลองด้วย AI, VR มาใช้ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์เสมือนจริงในสถานการณ […]

read more
25.11.2024 102

ทรัมป์ 2.0 กับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมโลก

หลังจากการเลือกตั้งประธานธิบดีประเทศสหรัฐอเมริกา โลกได้รู้ว่าผู้นำคนต่อไปของประเทศพี่ใหญ่ของโลก คือ โดนัล ทรัมป์ การหวนคืนทำเนียบขาวเป็นสมัยที่ 2 ของ โดนัลด์ ทรัมป์ นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายของประเทศสหรัฐอเมริกาในหลายด้าน ทั้ง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แน่นอนว่าการขยับตัวของประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกย่อมสะเทือนไปทั้งโลก วันนี้เราจะมารีวิวหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือด้านสิ่งแวดล้่อม วิกฤตสภาพภูมิอากาศและนโยบายทางด้านเศรษฐกิจสีเขียวของสหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งในประเด็นที่อาจได้เห็นความเปลี่ยนแปลงทางนโยบายจากการเป็นประธานาธิบดีอีกสมัยของทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผู้นี้เคยบอกว่าความพยายามในการส่งเสริมพลังงานสีเขียวเป็น “การหลอกลวง” มีการคาดการณ์ว่า โดนัลด์ ทรัมป์ จะพาสหรัฐฯ ถอนตัวออกจาก “ข้อตกลงปารีส” (Paris Agreement) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันทางกฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทรัมป์เองเคยออกจากข้อตกลงปารีสในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก ข้อตกลงปารีสจัดทำขึ้นเมื่อปี 2015 มีเป้าหมายเพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำ […]

read more
29.10.2024 461

แนวโน้มเทรนด์สวนสัตว์ ประจำปี 2025

ในช่วงที่ผ่านมา กระแส “หมูเด้ง” ลูกฮิปโปแคระจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว เป็นที่นิยมสูงมาก โด่งดังเป็นปรากฏการณ์ระดับโลก และมีแฟนๆ พร้อมต่อคิวเพื่อไปเห็นหมูเด้งตัวเป็นๆ วันนี้ผู้เขียนจะมาชวนผู้อ่านทุกท่านไปพบกับเทรนด์ของการออกแบบสวนสัตว์ในปี 2025 ว่าจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไรในอนาคต เมื่อเรามองตลาดสวนสัตว์ในภาพรวมระดับโลก ตลาดซึ่งรวม ธุรกิจพิพิธภัณฑ์ แหล่งประวัติศาสตร์ สวนสัตว์ และสวนสาธารณะ รวมกันแล้วประมาณการมีมูลค่า 24.93 พันล้านดอลล่าสหรัฐ ในปี 2024 และคาดการณ์ว่าในปี 2029 จะมีมูลค่า 52.06 พันล้านดอลล่าสหรัฐ ด้วยอัตราการเติบโตทบต้นอยู่ที่ 15.88% แนวโน้มของสวนสัตว์ในปี 2025 คาดว่าจะสะท้อนถึงการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี การอนุรักษ์ และความคาดหวังของผู้เข้าชมที่พัฒนาไป สวนสัตว์ยุคใหม่จะเน้นด้านการศึกษา การอนุรักษ์สัตว์ป่า และประสบการณ์เชิงโต้ตอบมากกว่าการจัดแสดงแบบดั้งเดิม ซึ่งมีแนวโน้มสำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2025 ดังนี้: 1. ประสบการณ์ดิจิทัลเสมือนจริง (Immersive Digital Experiences) สวนสัตว์นำเทคโนโลยี AR และ VR เข้ามาใช้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่น่าดื่มด่ำมากขึ้น ให้ผู้เข้าชมได้พบปะกับสัตว์ท […]

วิจัยบารามีซี่ แล็บ
read more
28.10.2024 170

เมื่อความฟิต เรากินได้

Fitness is Edible: เมื่อความฟิต เรากินได้ ผู้คนจำนวนมากขึ้นกำลังมองหาวิธีที่สะดวกสบายในการรักษาสุขภาพโดยไม่ต้องเสียเวลาไปกับการออกกำลังกายแบบเดิมๆ สอดคล้องกับกระแสสำคัญในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคตบารามีซี่ แล็บ ได้ศึกษาหาข้อมูลพบว่า ตลาดการดูแลสุขภาพทั่วโลกซึ่งปัจจุบันมีมูลค่ามากกว่า 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้คนจำนวนมากขึ้นแสวงหาผลิตภัณฑ์ และบริการที่ช่วยให้การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องง่าย และเข้าถึงได้มากขึ้น การจัดการน้ำหนักเป็นพื้นที่สำคัญในภาคส่วนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการคาดการณ์ว่าประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลกอาจมีน้ำหนักเกินภายในปี 2035 ส่งผลให้ยาลดน้ำหนัก และอาหารเสริมได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น อนาคตเริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อนักวิทยาศาสตร์จาก Aarhus University ในประเทศเดนมาร์ก ได้พัฒนาตัวยาที่จำลองการเผาผลาญเทียบเท่าการวิ่งระยะ 10 กิโลเมตรได้ หรือจะเรียกว่า “ยาออกกำลังกาย” ภายในบรรจุโมเลกุลที่เรียกว่า ‘LaKe’ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างแลคเตต (Lactates) และคีโตน (Ketones) ที่เกิดขึ้นระหว่างการออกกำลังกา […]

Subscription

เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เทรนด์และวิจัยต่อเนื่อง