Baramizi Lab logo

Prompt Beauty: มาตรฐานความงามใหม่ในยุคแห่งปัญญาประดิษฐ์ 

Prompt Beauty: มาตรฐานความงามใหม่ในยุคแห่งปัญญาประดิษฐ์ 

เมื่อไม่นานมานี้เกิดการประกวดความงาม AI ครั้งแรก หรือ Miss AI จัดขึ้นโดย World AI Creator Awards (WAICA) โดยความร่วมมือกับ Fanvue ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเนื้อหาด้าน AI  เงินรางวัลของงานนี้มีมูลค่ารวม 20,000 ดอลลาร์ (ประมาณเจ็ดแสนบาท)   ทำให้เกิดเป็นที่ตั้งคำถามว่า ความงามจาก AI Generative เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งมีตัวอย่างในปี 2559 การประกวดความงามที่ตัดสินโดย AI  รายการ Beauty.AI ที่สนับสนุนโดย Microsoft สร้างกระแสลบที่เกิดขึ้นจากการขาดความหลากหลายในข้อมูล ซึ่งนำไปสู่อัลกอริทึมที่สนับสนุนคนผิวขาวมากกว่าคนผิวสี

แนวคิดหลักเกณฑ์การตัดสินการประกวด

กลับมาสู่ Miss AI โดย WAICA  แนวคิดหลักการประกวด ประกอบด้วย 3 สิ่ง คือ

📍 Beauty: ผู้เข้าประกวดจะถูกตัดสินแบบการประกวดดั้งเดิม เช่น ความงาม, บุคลิก และการตอบคำถาม

📍Tech: คะแนนสำหรับทักษะและการใช้เครื่องมือ AI เช่น การ Prompt, Output หรือรายละเอียดในตัวภาพ

📍Social Clout: ประเมินตามจำนวนการมีส่วนร่วม, อัตราการเติบโตของผู้ชม และวิธีการใช้งานร่วมแพลตฟอร์ม

อาจพูดได้ว่าสาวงาม AI แทบจะสมบูรณ์แบบ เพราะทุกอย่างถูกวางแผน และสร้างขึ้น โดยครอบคลุมทั้งรูปร่างหน้าตา ความคิดความอ่านและประเด็นที่สำคัญ คือ ช่องทางการสื่อสาร และสร้างรายได้ ที่เห็นได้จากการใส่ข้อมูลเพื่อส่งผู้เข้าประกวด ชุดคำถามส่วนนี้มีจำนวนมากกว่าส่วนอื่น สิ่งเหล่านี้ทำให้สาวงาม AI มีทุกอย่างที่ตอบโจทย์สิ่งที่จะทำ เช่น เราสามารถสร้างสาวงามผิวสี ลูกครึ่งยุโรป-เอเชีย ที่มีเชื้อสายกลุ่มชาติพันธุ์ เพียงเท่านี้ก็สามารถสร้าง Personality ที่เป็นกระบอกเสียงของ Social Issue ได้อย่างมากมายมหาศาลแล้ว

Virtual เหมือนกัน ต่างกันที่จุดประสงค์ในการสื่อสาร?

แม้ผลลัพธ์จะเป็นการได้ สาวงามที่สร้างขึ้นมา 100% เรื่องความบุคลิกภาพและการสื่อสารคงไม่เป็นปัญหา แต่การทำงาน และช่องทางหารายได้นั้น แตกต่างอะไรจาก Virtual Influencer ที่ได้รับความนิยมให้เป็นตัวแทนของแบรนด์ต่างๆ มากขึ้น  เมื่อหน้าตาก็สร้างได้เหมือนกัน น้ำเสียงก็กำหนดได้ จุดตัดสินเล็กๆ อาจเอกลักษณ์ของกองประกวดที่ผลิตตัวแทนสาวงาม (AI) เพื่อภารกิจในการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งอย่างจริงจัง ซึ่งต้องยอมรับว่า แม้ผลลัพธ์จะเป็นการสร้างบุคลิกภาพขึ้นมาแต่ ภาพจำของกองประกวด และ สตูดิโอ ก็มีความต่างกันทั้งเป้าหมาย และวิธีการที่เห็นได้ชัด ซึ่งหากมองตัวอย่าง Virtual Influencer ที่สื่อสารประเด็นที่มากกว่าข้อความจากแบรนด์ อย่าง “Shudu”  Digital Supermodel ผิวสี การปรากฎตัวของเธอสร้างภาพจำใหม่ของ Beauty Standard ได้เป็นอย่างดี หรือนอกวงการความงาม ตัวอย่าง “อิงมา” Virtual Human ของไทยที่เป็นกระบอกเสียงเรื่องโรคไข้เลือดออก ตัวอย่างเหล่านี้หากนำไปพัฒนากองประกวด หรือตัวผู้ประกวด AI อาจเพิ่มคุณค่าของเนื้อหาและเป็นตัวเลือกในการใช้ Virtual Influencer ได้หลากหลายยิ่งขึ้น  ตอบโจทย์ “On demand Presenter” ที่สดใหม่ ปรับใช้ได้ตามวัตถุประสงค์

การเข้ามาของ Miss AI อาจสร้างผลกระทบกับอุตสาหกรรมนางงาม และอินฟลูเอนเซอร์แบบดั้งเดิม ถึงแม้ความนิยมของการประกวดนางงามจะมีแนวโน้มลดลง จากคุณค่า และมุมมองที่เปลี่ยนไปในบริบทปัจจุบัน ซ้ำยังต้องมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น แม้มองในรายละเอียดที่ตัวกิจกรรม, รูปแบบการสื่อสาร หรือ ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากการประกวดแบบดั้งเดิมจะทำได้ดีกว่า AI แต่สิ่งที่สำคัญอย่าง ความเร็ว และ บุคลิกภาพที่สดใหม่ ปรับเปลี่ยนได้  ก็เป็นส่วนที่สำคัญที่สร้างอำนาจตัดสินใจระหว่าง มนุษย์ หรือ AI ผู้เข้าประกวดจากฝั่งไหนจะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่ากัน

ผู้เขียน: กัณฑ์ฉัตร สมเหมาะ

ที่มา:

https://in.mashable.com/tech/73421/miss-artificial-intelligence-ai-beauty-pageant-announced-with-a-prize-pool-of-rs-16-lakh-report

https://miss-ai.webflow.io/

https://www.theguardian.com/technology/2016/sep/08/artificial-intelligence-beauty-contest-doesnt-like-black-people

https://wwd.com/eye/people/shudu-digital-fashion-model-avatar-1202683320/

https://www.tnnthailand.com/news/tech/117304/

 https://www.nytimes.com/2023/01/23/learning/are-beauty-pageants-still-relevant.html

RECOMMEND

Superfansindex.com
read more
13.09.2024 33

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแบรนด์เราสุขภาพดีแค่ไหน?

ในหลายๆ ธุรกิจมักจะนึกถึงยอดขายที่จะทำให้รู้สึกว่าแบรนด์เรายังมีลูกค้าซึ่งก็ส่งผลต่อสุขภาพของแบรนด์ได้เช่นเดียวกัน แต่แท้ที่จริงแล้วแบรนด์คุณอาจจะสุขภาพไม่ดีก็ได้ เหมือนร่างกายคนถ้าไม่ไปตรวจสุขภาพเราก็จะไม่รู้ว่าข้างในร่างกายเป็นอย่างไร ทั้งๆ ที่ภายนอกเรายังรู้สึกปกติอยู่  เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเกิดปัญหา และอาจส่งผลให้ปัญหานั้นลามใหญ่โตซึ่งต้องใช้ทั้งเงินและเวลาในการแก้ไข การวิจัยตรวจสอบสุขภาพแบรนด์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์ควรจะทำอย่างต่อเนื่อง เปรียบเหมือนการเอ๊กซเรย์แบรนด์…เพราะหากรู้ก่อนย่อมสามารถแก้ปัญหาได้เร็วกว่า จากภาพข้างต้นหากทุกแท่งมีฐานที่กว้าง การันตีได้เลยว่าแบรนด์คุณสุขภาพดี เพราะการลงงบไปกับสื่อหรือการสร้างประสบการณ์นั้นสามารถได้ใจลูกค้าจนเกิดความเป็น Superfans ได้ (ความเป็น Superfans ของแบรนด์ คือ ขั้นสุดที่แบรนด์ควรไปให้ถึงและเก็บให้ได้มากที่สุด หรือที่เราเรียกว่า สาวกของแบรนด์)  รูปแบบการตรวสอบสุขภาพแบรนด์  โดยทั่วไปสามารถพบได้ 3 รูปแบบ 1.การวิจัยเพื่อตรวจสอบรายปี  เหมาะสำหรับแบรนด์/ องค์กรที่มีการลงงบการตลาด การทำแคมเปญต่างๆ ในช่วงระหว่างปี เพื่อให้เราสามารถรู้ได้ว่ารู […]

read more
11.09.2024 39

ตลาด Sustainable Fashion กับการเติบโต 22.9% ต่อปี

Sustainable Fashion หรือ แฟชั่นแบบยั่งยืนที่เคยเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ในอุตสาหกรรมแฟชั่นโดยรวม กำลังได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วเนื่องจากผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและจริยธรรมมากขึ้น ในปี 2024 ตลาดแฟชั่นยั่งยืนระดับโลกมีมูลค่า 8.1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2024 และคาดว่าจะเติบโตถึง 33.1 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2033 ด้วยอัตรา CAGR 22.9% ในช่วงคาดการณ์ปี 2024 – 2033 แม้ว่าจะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ผลกระทบของแฟชั่นยั่งยืนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากแบรนด์และผู้ค้าปลีกรายใหญ่ต่างนำแนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนเข้ามาใช้ในธุรกิจของตน การเพิ่มขึ้นของแบรนด์แฟชั่นยั่งยืน ร่วมกับการนำโครงการริเริ่มสีเขียวมาใช้โดยบริษัทที่จัดตั้งขึ้นแล้ว กำลังผลักดันตลาดให้ก้าวไปข้างหน้า พร้อมแรงหนุนจากความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม อุตสาหกรรมแฟชั่นยั่งยืนมีโอกาสอีกมากมาย เช่น ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคที่ต้องการความโปร่งใสในกระบวนการผลิตและการจัดหาวั […]

read more
11.09.2024 61

ทิศทาง Food delivery ทั้งไทยและต่างประเทศ

ตลาด Food Delivery ในไทยปี 2567 ยังมีเทรนด์ที่ลดลงต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้มีการประเมินว่าในปี 2567 มูลค่าตลาด Food Delivery จะอยู่ที่ประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท  หรือหดตัว 1.0% จากปี 2566 แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการสั่งอาหารเฉลี่ยต่อครั้งน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น (Price per Order) ประมาณ 2.8% จากค่าเฉลี่ยในปี 2566 หรือ มีราคาเฉลี่ยประมาณ 185 บาทต่อครั้งของการสั่ง ซึ่งจะมีผลตามมาต่อทั้งจำนวนครั้งและปริมาณการสั่งให้ลดลง ปัจจุบัน ตลาด Food Delivery ในหลายประเทศกำลังเผชิญกับแนวโน้มขาลงไม่ต่างจากประเทศไทย แม้ว่าจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเห็นการเติบโตชะลอตัวเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงและต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น ส่งผลให้บริการต้องปรับราคาให้สูงขึ้นเพื่อรักษากำไร ขณะที่ในญี่ปุ่น การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการจัดส่งและการแข่งขันจากผู้เล่นหลายราย ทำให้บริษัทฟู้ดเดลิเวอรี่ต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดและกำไร  การเติบโตของตลาด Food Delivery ทั่วโลก รายได้ในตลาดบริการจัดส่งอาหารออนไลน์คาดว่าจะสูงถึง 1.22 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567 แล […]

read more
06.09.2024 121

ตลาด Sustainable Dining กับการเติบโต 6.9% ต่อปี

Sustainable Dining หรือ การรับประทานอาหารอย่างยั่งยืนหมายถึงการเลือกอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม แนวทางการรับประทานอาหารนี้เน้นที่การบริโภคอาหารที่ผลิตและเตรียมในลักษณะที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่น การรับประทานอาหารอย่างยั่งยืนอาจเกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติต่างๆ เช่น การเลือกส่วนผสมจากแหล่งท้องถิ่นและออร์แกนิก การลดขยะอาหาร การเลือกอาหารจากพืชและการสนับสนุนร้านอาหารและธุรกิจที่ยึดมั่นในแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน เป้าหมายหลักคือการสร้างระบบอาหารที่สามารถรักษาคนรุ่นต่อไปได้โดยไม่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติหมดสิ้นหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบนิเวศ โดยมูลค่าตลาดอาหารที่ยั่งยืนมีมูลค่า 1,066.2 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2023 และคาดว่าจะถึง 1,945.38 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2032 โดยเติบโตที่อัตรา CAGR 6.91% ตั้งแต่ปี 2024-2032 แนวโน้มเหล่านี้สะท้อนถึงการเคลื่อนไหวที่กว้างขึ้นสู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งขับเคลื่อนโดยความต้องการของผู้บริโภคและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เมื่อการรับประทานอาหารที่ยั่งยืนกลายเป็นกระแสหลักมากขึ้น จึงมีศัก […]

read more
06.09.2024 125

Urban Farming การทำเกษตรในเมือง

ในขณะที่เมืองทั่วโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความจำเป็นในการหาแหล่งอาหารที่ยั่งยืนก็มีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม การทำเกษตรในเมือง ซึ่งเคยเป็นเพียงแค่แนวคิดเล็กๆ กำลังกลายเป็นขบวนการที่ทรงพลังซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการที่เราคิดเกี่ยวกับการผลิตอาหารและการใช้ชีวิตในเมือง โดยการเปลี่ยนหลังคาอาคาร ที่ดินว่างเปล่า หรือแม้แต่ระเบียงเล็กๆ ให้กลายเป็นพื้นที่การเกษตรที่เจริญรุ่งเรือง การทำเกษตรในเมืองเสนอโซลูชั่นใหม่สำหรับการแก้ปัญหาที่สำคัญที่สุดที่เมืองสมัยใหม่กำลังเผชิญ การทำเกษตรในเมืองคืออะไร การทำเกษตรในเมือง หรือ Urban Farming คือ การปลูกอาหารภายในสภาพแวดล้อมของเมือง โดยมักใช้พื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ แตกต่างจากการเกษตรแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้พื้นดินในชนบทอย่างกว้างขวาง การทำเกษตรในเมืองสามารถผสมผสานเข้ากับพื้นที่ของเมืองได้ ซึ่งอาจหมายถึงทุกอย่างตั้งแต่สวนชุมชนในที่ดินว่าง ไปจนถึงฟาร์มแนวตั้งบนด้านข้างของอาคารหรือระบบไฮโดรโปนิกส์ในห้องใต้ดิน ประโยชน์ของการทำเกษตรในเมือง ความยั่งยืนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การทำเกษตรในเมืองมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความยั่งยืน การผลิตอาหารในท้องถิ่ […]

Subscription

เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เทรนด์และวิจัยต่อเนื่อง