Baramizi Lab logo

PSYCHOLOGICAL SEGMENTATION 5 เรื่องน่ารู้กับ PSYCHOLOGICAL SEGMENTATION

PSYCHOLOGICAL SEGMENTATION 5 เรื่องน่ารู้กับ PSYCHOLOGICAL SEGMENTATION

การทำ Segmentation คือการแบ่งคนที่มีความต้องการ (Needs/ Want) หรือแรงจูงใจ (Motivation) ในการเลือกสินค้าของแต่ละประเภท และหลายคนคงรู้จักรูปแบบการแบ่ง Segmentation กันบ้างแล้วว่ามีกี่รูปแบบ

รูปแบบที่ 1 Demographic Segmentation เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้ เป็นต้น

รูปแบบที่ 2 Geographic Segmentation เช่น ตำแหน่งที่อยู่ ภูมิภาค เป็นต้น

รูปแบบที่ 3 Behavioral Segmentation เช่น พฤติกรรมการซื้อ ความถี่ที่ซื้อ เป็นต้น

รูปแบบที่ 4 Psychological Segmentation เช่น ทัศนคติ รูปแบบการใช้ชีวิต ค่านิยมเป็นต้น

โดยในเนื้อหานี้จะทำให้ทุกท่านได้เห็นว่า  PSYCHOLOGICAL SEGMENTATION มีความสำคัญมากน้อย หรือมีประโยชน์อย่างไรต่อธุรกิจ/ แบรนด์

 

1.Psychological Segmentation ช่วยบอกธุรกิจว่าควรเดินอย่างไร?

Psychological Segmentation ช่วยบอกธุรกิจว่าควรเดินอย่างไร

แน่นอนว่าเมื่อเราต้องผลิตสินค้าหรือสร้างโครงการอะไรสักอย่าง สิ่งสำคัญคือการศึกษาภาพรวมหรือทำวิจัยว่าสิ่งที่เราจะผลิตหรือโครงการที่เราจะทำมีโอกาสในการขายได้หรือไม่อย่างไร ซึ่งเราต้องหาจุดคุ้มทุน(ROI) และ 1 ในการวิจัยที่เราควรทำ คือ การหา Segment ในรูปแบบ Psychological Segmentation ที่เป็นการเชิงเจาะลึกถึงถึงรูปแบบของว่าที่ลูกค้าเราในอนาคต โดยข้อมูลที่ได้จะทำให้เห็นว่าธุรกิจเรามีรูปแบบ Segment กี่รูปแบบ และแต่ละ Segment มีพฤติกรรมอย่างไร

ข้อมูลนี้เรามักจะนำมาใช้กำหนดกลยุทธ์ต่อไป โดยแบรนด์/ ธุรกิจต้องเลือกกลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มเป้าหมายที่เราเลือกนั้น เราควรสร้างประสบการณ์อย่างไรให้จับใจ หรือโดนใจกลุ่มคนเหล่านี้

 

2. Psychological Segmentation มีความสำคัญมากขึ้นเพราะมีการบริโภคแบบ Bi-Polar Consumption

Psychological Segmentation มีความสำคัญมากขึ้นเพราะมีการบริโภคแบบ Bi-Polar Consumption

ด้วยโลกที่เปิดกว้าง อินเทอร์เน็ตเข้าถึงทุกคนทำให้คนเริ่มเข้าใจตัวเองและหาสิ่งสังคมที่ตรงกับความชื่นชอบของตัวเอง การเดินทางที่ง่ายขึ้นทำให้ผู้บริโภคมีประสบการณ์ที่แตกต่าง ทำให้เกิดความคิด หรือความสนใจที่แตกต่างกันไป ดังนั้นทำให้การแบ่งกลุ่มด้วย Psychological Segmentation จึงมีความสำคัญมากขึ้น ประกอบกับสมัยปัจจุบันมีการบริโภคแบบ Bi-Polar Consumption คือ การบริโภคที่ไม่เป็นไปตามปกติตามอดีตที่ผ่านมา จึงทำให้การกำหนด Segmentation ควรเริ่มมองที่ Psychological Segmentation มากกว่า Segment รูปแบบอื่นๆ

 

3.Psychological Segmentation สามารถนำไปใช้ได้จริง และสามารถนำไปต่อยอดได้

Psychological Segmentation สามารถนำไปใช้ได้จริง และสามารถนำไปต่อยอดได้

โดยปกติหากเราทำวิจัยกับผู้คนเราก็จะสามารถเรียนรู้พฤติกรรม ความต้องการ ไลฟสไตล์ ได้ แต่หากเรานำเสนอในรูปแบบเชิงสถิติเพียงอย่างเดียว เช่น สัดส่วนของเพศ สัดส่วนของรายได้ เพื่อทำให้เห้นภาพรวม เราอาจจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ต่อยาก แต่หากเราแบ่งกลุ่มที่เราเห็นว่าเค้ามี Needs/ Want มีความชอบ มีไลฟ์สไตล์ หรือมีทัศนคติต่อเรื่องนั้นๆ เหมือนกัน เราจะได้ Psychological Segmentation ซึ่งข้อมูลนี้ทำให้เกิดการนำไปใช้ต่อหรือต่อยอดได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ให้แบรนด์/ธุรกิจ (เพราะรากฐานที่สำคัญของการกำหนดกลยุทธ์แบรนด์ที่ควรคือ การหา STP) และนอกจากนี้เรายังสามารถนำไปต่อยอดในเชิงของการทำการตลาด Inbound Marketing  โดยเราสามารถสร้างสรรค์เนื้อหา (Content) หรือพัฒนาประสบการณ์ด้านต่างๆ ที่สอดรับกับคุณค่าแบรนด์ ที่จะดึงดูดกลุ่มคนเหล่านี้เข้ามาหาแบรนด์/ ธุรกิจของเรา เช่น เราจะรู้ว่าเราต้องใช้ Keyword แบบใดเพื่อดึงดูดกลุ่มคนเหล่านี้มา รวมถึง Channel ต่างๆ ที่เราจะเลือกใช้ในการเข้าถึงคนเหล่านี้

 

4. Psychological Segmentation ทำได้ทุกส่วนงานภายในองค์กร(แม้กระทั่ง HR ในองค์กร) 

Psychological Segmentation ทำได้ทุกส่วนงานของภายในองค์กร

การหา Segmentation เราสามารถทำได้ตั้งแต่ การทำในระดับภาคใหญ่ของประเทศ เช่น การหา Segmentation นักท่องเที่ยวของผู้บริโภคชาวไทย (กรณีศึกษาใน VDO Seminar)  การทำในระดับลูกค้าขององค์กร (ซึ่งอาจจะเป็นหน่วยงานฝ่ายสื่อสารองค์กร หรือหน่วยงานที่ขับเคลื่อนองค์กรที่ดูแลส่วนนี้) การทำในกรณีต้องการสร้างโครงการใหม่  (หน่วยงานที่เป็น Product Development หรือ Business Development) การทำในกรณีออกสินค้าใหม่ หรือแม้กระทั้งการทำในระดับพนักงานภายในองค์กร

5. Psychological Segmentation สามารถหาได้โดยใช้กระบวนการวิจัยที่สอดรับกับประเภทธุรกิจ 

Psychological Segmentation สามารถหาได้โดยใช้กระบวนการวิจัยที่สอดรับกับประเภทธุรกิจ

การเก็บข้อมูลเราสามารถใช้วิธีการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณได้ (ยิ่งถ้าได้ข้อมูลเชิงปริมาณก็จะทำให้ข้อมูล Solid มากขึ้น) ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบประเภทธุรกิจว่ามีความ Mass Market หรือ Niche Market และเป็นกลุ่มลูกค้าประเภท B2B หรือ B2C

ซึ่งหากเป็นธุรกิจที่ซับซ้อน เช่น ลูกค้าเป็น B2B และ Niche Market เราสามารถเลือกใช้กระบวนการวิจัยแบบ Traditional Research คือ การทำ Face to Face Interview หรือ In-depth Interview แต่หากเป็นลูกค้าที่ Mass Market (กลุ่มลูกค้าที่เป็น B2C) สามารถใช้เครื่องมือวิจัยแบบออนไลน์ได้ เช่น เครื่องมือ Online Poll (สอดรับกับสถานการณ์ Covid-19 และสามารถทำได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น สะดวกขึ้น)

เรียนรู้เพิ่มเติมเครื่องมือ Online Poll

หากท่านใดต้องการ Service ด้านการทำ Psychological Segmentation สามารถติดต่อได้ที่ คุณป่าน 085-5469664 

สำหรับท่านใดที่ต้องการทำความเข้าใจเรื่อง Psychological Segmentation สามารถรับชม VDO สัมมนาออนไลน์ (ย้อนหลัง)

#Segmentation #PsychologicalSegmentation #OnlinePoll #BipolarConsumption #BrandStrategy

 

RECOMMEND

ชาไทยไม่ใส่สี
read more
25.06.2025 87

เทรนด์ชาไทยไม่ใส่สี: การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย

แบรนด์ชั้นนำหลายแห่งประกาศผลิตชาไทยที่ไม่ใส่สี Sunset Yellow FCF ซึ่งเป็นสีสังเคราะห์ที่ทำให้ชาไทยดั้งเดิมมีสีส้มสดใส เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น การแข่งขันของแบรนด์ชั้นนำ คาเฟ่ อเมซอน นำหน้าเปิดขาย คาเฟ่ อเมซอน ได้ประกาศตัวเป็น “เจ้าแรก” ที่ขายชาไทยไม่ใส่สี โดยเริ่มขายเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2025 ภายใต้ชื่อ “Premium Thai Tea” ซึ่งคัดสรรใบชาอัสสัมคุณภาพดีจากจังหวัดน่าน ผ่านการเบลนด์สูตรพิเศษโดย Tea Master ให้รสชาติโทนวานิลลาหอมละมุน และหวานนุ่มแบบคาราเมลไลซ์ จำหน่ายในราคา 60 บาท ชาตรามือ เตรียมวางจำหน่ายในเดือนกรกฎาคม ชาตรามือ แบรนด์ชาไทยเก่าแก่กว่า 80 ปี เตรียมวางจำหน่าย “ชาไทยไม่ใส่สี” ภายในเดือนกรกฎาคม 2025 โดยใช้สูตรดั้งเดิมที่ตัดสีสังเคราะห์ Sunset Yellow ออกทั้งหมด พร้อมเปิดตัวเมนูใหม่ “ชาไทยสีธรรมชาติ” ในไตรมาส 3 ซึ่งใช้สีผสมอาหารจากธรรมชาติ เช่น แครอท ในการแต่งเติมสี เหตุผลเบื้องหลังการเปลี่ยนแปลง ปัญหาของสี Sunset Yellow FCF สี Sunset Yellow FCF เป็นสีผสมอาหารสังเคราะห์ที่ทำให้ชาไทยมีสีส้มสดใส อย่างไรก็ตาม สารนี้ถูกห้ามใช้หรือควบคุมการใช้ในหลายประเท […]

เทรนด์อสังหาริมทรัพย์ 2025
read more
20.06.2025 235

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในปี 2025: โอกาสและความท้าทายที่ต้องรู้

แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2025 จะมีสัญญาณการฟื้นตัวบางส่วน แต่ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ยังเผชิญกับแรงกดดันจากหลายด้าน ทั้งความผันผวนของดีมานด์–ซัพพลายในแต่ละเซกเมนต์ และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงเร็ว อย่างไรก็ตาม โครงการส่งเสริมการลงทุนและการท่องเที่ยวจากภาครัฐได้ช่วยประคองตลาดในบางพื้นที่ให้ค่อย ๆ ฟื้นตัว ยอดพรีเซลของ 10 บริษัทอสังหาฯ ชั้นนำในช่วงต้นปี 2025 อยู่ที่ 59,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% เทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) และ 7% จากไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) โดย โครงการคอนโดมิเนียม เป็นกลุ่มที่ผลักดันยอดขายได้มากที่สุด มูลค่ารวมกว่า 28,000 ล้านบาท เทรนด์อสังหาริมทรัพย์ที่ต้องรู้ในปี 2025 1. Digital Transformation & PropTech จากการวิเคราะห์และบริหารจัดการด้วยข้อมูลเรียลไทม์ ไปจนถึงการใช้ AI และ Big Data เพื่อคาดการณ์ความต้องการ — PropTech กลายเป็นเครื่องมือหลักในการแข่งขันและลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น 2. Smart Home Living ตลาดสมาร์ทโฮมทั่วโลกเติบโตอย่างรวดเร็ว และกำลังเป็น มาตรฐานใหม่ของที่อยู่อาศัยระดับกลางถึงบน โดยบริษัทไทยชั้นนำอย่าง แสนสิริ อนันดา และเอพี ต่างนำระบบอัจฉริยะเข้ามาในโครงการ 3. Green Bu […]

Future Lab Research
read more
19.06.2025 332

Future Lab Research: ถอดรหัสความในใจลูกค้า เพื่อธุรกิจที่ชนะในอนาคต

การแข่งขันในโลกยุคใหม่ วัดกันที่ใครเข้าถึงและเข้ากุมหัวใจลูกค้าเป้าหมายได้ก่อนและได้มากกว่าและ Future Lab Research คือคอนเซปต์การทำวิจัยที่ช่วยคุณได้ หลายคนอาจจะคิดว่าในโลกยุคเทคโนโลยีดิจิทัลขนาดนี้ อาจจะมี เทคโนโลยี อะไรที่สร้างความสามารถทางการแข่งขันให้กับธุรกิจของเราได้ใช่มั้ยคะ มันก็ใช่นะ มันช่วยได้ …แต่ลองคิดอีกทีเทคโนโลยีที่เกิดในยุคนี้ช่วงเวลานี้ล้วนแต่จะทำให้ ถูกลงๆ เข้าถึงได้มากขึ้น ถึงจุดหนึ่งเทคโนโลยีก็คือ Foundation หรือฐานรากของธุรกิจ ที่คนที่ไม่มีหรือทำไม่ได้ ใช้ไม่เป็นก็จะไม่สามารถอยู่ในโลกแห่งการแข่งขันได้อีกต่อไป เป็นเช่นนี้แล้วเราจะสร้างความแตกต่างและมีความสามารถทางการแข่งขันที่เหนือกว่าได้อย่างไร Back to Basic ค่ะ : ) คำตอบกลับมาอยู่ที่ความสามารถในการเข้าใจโจทย์ที่จะทำให้เราชนะ! ซึ่งโจทย์นั้นอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลก็คืออยู่ที่หัวใจของลูกค้าเป้าหมายของเรานั่นเองค่ะ เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นไม่ได้เปลี่ยนกุญแจดอกนี้ไปแต่เทคโนโลยีมาช่วยเสริมประสิทธิภาพในการเข้าถึงหัวใจของลูกค้า มันอาจจะง่ายขึ้น เร็วขึ้น ถูกลงบ้างในบางโจทย์ (แต่บางโจทย์ก็อาจจะยังต้องใช้วิธีคลาสสิคอยู่) และเทค […]

Netflix ผสาน Big Data กับ Thick Data เพื่อเข้าใจว่าทำไมผู้ชมจึงชื่นชอบการดูซีรีส์แบบมาราธอน และเปลี่ยนพฤติกรรมนี้ให้กลายเป็นกลยุทธ์ธุรกิจ
read more
19.06.2025 156

ความลับพฤติกรรม ‘ดูซีรีส์รวดเดียวจบ’ ที่ Netflix ไขได้จากการทำวิจัยกับคนดู

Big Data ผสาน Thick Data ปลดล็อกนวัตกรรมด้วยข้อมูลสองมิติ ครั้งหนึ่ง Netflix กำลังทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุดของโลกสตรีมมิ่ง ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังของ Big Data อันมหาศาล อัลกอริทึมอัจฉริยะสามารถแนะนำซีรีส์ และภาพยนตร์ที่ตรงใจผู้ชมได้อย่างน่าทึ่ง วิเคราะห์ทุกการคลิก ทุกการหยุดพัก และทุกยอดวิว พวกเขารู้ว่าผู้คนดูอะไร และ เมื่อไหร่ แต่ท่ามกลางข้อมูลเหล่านั้น มีพฤติกรรมหนึ่งผุดขึ้นมาอย่างโดดเด่นแต่ยังคงเป็นปริศนานั้นคือ “Binge-Watching” หรือการดูซีรีส์รวดเดียวจบแบบมาราธอน เเต่เพียงเเค่ข้อมูลที่บอก ‘อะไร’ อย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จขนาดนั้น จึงเป็นที่มาของ Thick Data มันคือข้อมูลเชิงคุณภาพที่ให้ความเข้าใจถึงแรงจูงใจ ความเชื่อ และประสบการณ์ส่วนบุคคล ในกรณีของ Netflix อะไรคือแรงขับเคลื่อนเบื้องหลังการที่ผู้คนเลือกที่จะใช้เวลาสุดสัปดาห์ไปกับการดูซีรีส์อย่างไม่หยุดหย่อน? อะไรคือสิ่งที่กระตุ้นอารมณ์และแรงจูงใจเบื้องลึก? Netflix ได้เชิญทีมวิจัยเข้าไปทำ Ethnographic Research โดยเข้าไปในบ้านของผู้ชมจริง เพื่อสังเกตการณ์พฤติกรรมการดูซีรีส์ในบริบทธรรมชาติ พวกเขาเฝ้าดูคู […]

What is a Unmet Need
read more
09.06.2025 246

What is a Unmet Need? (ความต้องการที่ซ่อนอยู่คืออะไร)

What is a Unmet Need? (ความต้องการที่ซ่อนอยู่คืออะไร) นวัตกรรมที่เปลี่ยนโลกมักไม่ได้เริ่มจากเทคโนโลยีล้ำยุคเสมอไป แต่มักเริ่มจากคำถามง่ายๆ ว่า “ความต้องการลึกๆ ของลูกค้าคืออะไร” ความต้องการลึกๆ หรือที่เรียกว่า Unmet Need ในเชิงทฤษฎีการออกแบบ และนวัตกรรมความต้องการของผู้ใช้งานสามารถแบ่งออกเป็นหลายระดับตั้งแต่ความต้องการพื้นฐานที่ผู้ใช้อธิบายได้อย่างชัดเจน ไปจนถึงความต้องการที่ยังไม่สามารถระบุ หรือรับรู้ได้ด้วยตนเองซึ่งเรียกว่า Hidden Needs หรือ Unmet Needs ความต้องการเหล่านี้มักอยู่ในระดับที่ลึกกว่าการแสดงออกทั่วไป เป็นสิ่งที่ฝังอยู่ในพฤติกรรม ความรู้สึก หรือสภาพแวดล้อมที่ผู้ใช้อาศัยอยู่ แนวคิดนี้เชื่อมโยงกับการออกแบบที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centered Design) และแนวทาง Outcome-Driven Innovation ของ Ulwick (2005) ซึ่งชี้ว่า ความเข้าใจใน “งานที่ผู้ใช้อยากให้เสร็จ (Jobs to Be Done)” นั้นต้องลึกซึ้งกว่าคำพูดหรือแบบสอบถามทั่วไป เพราะผู้ใช้จำนวนมากไม่สามารถบอกความต้องการที่แท้จริงของตนออกมาได้อย่างตรงไปตรงมา (Latent or Unarticulated Needs) ตัวอย่างของ Hidden Needs ได้แก่ ความรู้สึกไม่ […]

Subscription

เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เทรนด์และวิจัยต่อเนื่อง