Baramizi Lab logo

The Future of Robo Taxi อนาคตของแท็กซี่ที่ไร้คนขับ

The Future of Robo Taxi อนาคตของแท็กซี่ที่ไร้คนขับ

‘Robotaxi’ หรือ แท็กซี่ไร้คนขับที่ใช้ยานพาหนะแบบระบบอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง มีระดับ SAE automation ที่เลเวล 4-5 ที่เป็นเกณฑ์วัดระดับของยานพาหนะตั้งแต่ระบบแมนนวลไปจนถึงระดับอัตโนมัติสูงสุดโดยลูกค้าสามารถเรียก Robotaxi ไปยังสถานที่ใดก็ได้และเดินทางไปที่จุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัย โดยหนึ่งในเทคโนโลยี Robo Taxi ใช้คือตัวยานพาหนะจะติดตั้งเซ็นเซอร์ LiDAR ไว้หลายจุดเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการนำทาง การประมวลผลข้อมูลและการโต้ตอบกับสภาพแวดล้อมแบบเรียลไทม์ ช่วยให้สามารถระบุตำแหน่งยานพาหนะและตรวจจับสิ่งกีดขวางได้อย่างแม่นยำด้วยความช่วยเหลือจากเซ็นเซอร์ทำให้ผู้โดยสารเดินทางได้อย่างไร้กังวล

การเติบโตอย่างต่อเนื่องของ Robotaxi

ตลาดของ Robotaxi ทั่วโลกเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยจะเติบโตจาก 2.71 พันล้านดอลลาร์ในปี 2566 เป็น 4.32 พันล้านดอลลาร์ในปี 2567 มีอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) ที่ 59.5% และจากการคาดการณ์ในอนาคตตลาด Robotaxi จะมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดโดยจะเติบโตเป็น 25.23 พันล้านดอลลาร์ในปี 2571 มีอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) ที่ 55.5% การเติบโตที่คาดการณ์ไว้ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์นั้นได้รับอิทธิพลจากความต้องการบริการเรียกรถโดยสารที่เพิ่มขึ้น การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาที่สูง การมุ่งเน้นของรัฐบาลในการลดก๊าซเรือนกระจก การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเติบโตของการใช้พลังงานไฟฟ้าของยานพาหนะ

นอกจากนี้การเติบโตของ Robotaxi ในอนาคตคาดว่าจะได้รับแรงผลักดันจากการลดต้นทุนเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง Robotaxi และแท็กซี่ทั่วไปหรือการเป็นเจ้าของรถยนต์ส่วนตัว รวมถึงการขยายตัวของแนวโน้มการใช้รถร่วมกันและ Mobility-as-a-Service (MaaS) กำลังกระตุ้นให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการใช้งาน Robotaxi ข้อกำหนดสำหรับการขนส่งในเมืองที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการยกเลิกความผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error) รวมไปถึงมุมมองของผู้คนที่เปลี่ยนไปต่อรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติปัจจัยสำคัญเหล่านี้บ่งชี้ถึงอนาคตที่สดใสของตลาด Robotaxi โดยมีศักยภาพในการเติบโตที่สำคัญในปีต่อๆ ไป เนื่องจากบริการแท็กซี่ไร้คนขับถูกนำมาใช้งานร่วมกับระบบการขนส่งในเมืองมากขึ้น

ผู้นำโลกในตลาด Robotaxi

จากการทดลองและพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับยานยนต์ที่ต่อเนื่องมายาวนานหลายปี ปัจจุบันยานพาหนะจากหลายบริษัทเริ่มมีการนำระบบขับขี่อัตโนมัติไปใส่ในยานยนต์ของตนเองเต็มรูปแบบ ส่งผลให้ผู้ขับขี่แทบไม่จำเป็นสำหรับยานพาหนะอีกต่อไป โดยประเทศแรกที่ได้รับอนุญาตในการเปิดบริการ Robotaxi เต็มรูปแบบสู่สาธารณะ คือ ประเทศจีน โดยบริษัท Baidu Inc. ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีนที่ได้ทำการทดสอบ Robotaxi ของบริษัทตนอย่างเข้มงวด ยานพาหนะอัตโนมัติเหล่านี้ได้รับการทดสอบโดยมีผู้ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยนั่งอยู่ในที่นั่งคนขับและที่นั่งผู้โดยสาร หลังจากได้รับอนุญาต Baidu Inc. ก็ดำเนินการให้บริการ Robotaxi เต็มรูปแบบที่อู่ฮั่นและหยงฉวนในฉงชิ่ง

นอกเหนือจากประเทศจีน ยังมีประเทศสหรัฐอเมริกาที่เปิดให้ใช้บริการแท็กซี่ไร้คนขับแล้วเช่นกัน บริษัทที่เป็นเจ้าใหญ่ผู้คุมตลาด Robotaxi ให้บริการอยู่ตอนนี้ คือ บริษัท Waymo ซึ่งเจ้าของ คือ บริษัทแม่ของ Google โดย Waymo เริ่มให้บริการการเดินทางแบบไร้คนขับแก่ผู้โดยสารในซานฟราซิสโกเมื่อปีที่แล้วก่อนขยายการให้บริการไปยังฟีนิกซ์ ซึ่งในแรกเริ่มจะบริการฟรีให้เฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนไว้จำนวน 50,000 คน ก่อนที่ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าจะเปลี่ยนไปให้ชำระเงินตามปกติ พื้นที่การให้บริการของ Waymo ครอบคลุมถึง 63 ตารางไมล์ในแอลเอ ตั้งแต่ซานตาโมนิก้าไปจนถึงตัวเมือง และอีกหนึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เชี่ยวชาญด้านการผลิตยานพาหนะที่มีระบบขับขี่อัตโนมัติอย่าง Tesla ที่มีแพลนจะเปิดตัว Robotaxi เป็นของตัวเองในเดือนสิงหาคม 2567 นี้

ปัจจุบันนี้ได้มีบริษัทที่ให้บริการแท็กซี่ไร้คนขับเริ่มดำเนินการทดสอบหรือเปิดให้บริการกันมากขึ้นจากหลายประเทศทั่วโลก ได้แก่

  1. สหรัฐอเมริกา : บริษัทต่างๆ เช่น Waymo, Cruise และ Zoox ได้ทำการทดสอบและให้บริการ Robotaxi ในเมืองต่างๆ ทั่วสหรัฐอเมริกาอย่างฟีนิกซ์ ซานฟรานซิสโกและลาสเวกัส
  2. จีน : บริษัทต่างๆ เช่น Baidu, Didi Chuxing และ AutoX ได้ทำการทดสอบและให้บริการ Robotaxi ในเมืองต่างๆ อย่างปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางโจวและอู่ฮั่น
  3. สิงค์โปร์ : เป็นศูนย์กลางในการทดสอบยานยนต์ไร้คนขับ โดยมีโครงการเกี่ยวกับยานยนต์อัตโนมัติ ชื่อว่า ‘Singapore Automous Vehicle Initiative (SAVI)’ และการทดลองที่ดำเนินการโดยบริษัท Aptiv และ Grab
  4. เยอรมนี : บริษัทต่างๆ เช่น Volkswagen, BMW และ Daimler ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติและทดสอบ Robotaxi บนถนนสาธารณะในเมืองต่างๆ อย่าง มิวนิกและสตุ๊ดการ์ท
  5. ญี่ปุ่น : บริษัทอย่าง Toyota และ Honda ได้ลงทุนในเทคโนโลยีการขับขี่แบบอัตโนมัติและมีการทดลองใช้ Robotaxi ในเมืองต่างๆ อย่างโตเกียวและโยโกฮาม่า
  6. เกาหลีใต้ : บริษัท Hyundai และ Samsung กำลังทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการขับขี่แบบอัตโนมัติและมีการทดลองใช้ Robotaxi ในเมืองต่างๆ อย่างโซลและเซจู

สถานการณ์ของ Robotaxi ในอนาคต

ในปี 2574 ตลาด Robotaxi คาดว่าจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญซึ่งได้รับแรงหนุนจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ด้วยการแพร่กระจายของปัญญาประดิษฐ์  และระบบอัตโนมัติ แม้ว่าแท็กซี่ไร้คนขับจะดูเหมือนมีอนาคตสดใสแต่ก็มีอุปสรรคหลายประการที่ต้องได้รับการพิจารณาก่อนนำไปใช้อย่างแพร่หลายและการใช้งานอย่างเต็มรูปแบบ ประเด็นที่ต้องพิสูจน์ตัวเองให้ได้มีดังนี้

    1. ข้อกังวลด้านความปลอดภัย

ด้านความปลอดภัยของผู้โดยสาร คนเดินเท้าและผู้ใช้ถนนรายอื่นๆ ที่กังวลถึงการนำ Robotaxi มาใช้งาน แม้ว่าเทคโนโลยีการขับขี่แบบอัตโนมัติจะมีความก้าวหน้าอย่างมากแต่ก็มียังมีความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การจราจรที่ซับซ้อน สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยและการโต้ตอบกับผู้ขับขี่ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้

    2.ข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยี

เทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติยังคงเผชิญกับความท้าทายทางเทคนิคบางอย่างที่รวมไปถึงการปรับปรุงความแม่นยำและความน่าเชื่อถือของเซ็นเซอร์ การปรับปรุงอัลกอริธึมการตัดสินใจและการบรรลุประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย

    3. การยอมรับจากสาธารณะ

การสร้างความไว้วางใจและการยอมรับของประชาชนถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการนำ Robotaxi มาใช้งานอย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากยังมีหลายคนที่สงสัยหรือวิตกเกี่ยวกับควาปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของยานพาหนะ

    4. ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน

หากจะมีการใช้งาน Robotaxi อย่างจริงจัง อาจต้องมีการอัปเกรดโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่อรองรับการขับขี่อัตโนมัติ เช่น การปรับปรุงเครื่องหมายบนถนน สัญญาณไฟจราจรและเครือข่ายการสื่อสาร เป็นต้น

    5. ผลกระทบด้านจริยธรรมและสังคม

การใช้ Robotaxi ทำให้เกิดคำถามด้านจริยธรรมและผลกระทบทางสังคม ซึ่งรวมไปถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเลิกจ้างพนักงานขับรถ ความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมและการเฝ้าระวังข้อมูล และการเข้าถึงการขนส่งแบบอัตโนมัติอย่างเท่าเทียมในสังคม

และถึงแม้ในอนาคต Robotaxi จะได้รับความนิยมและพัฒนาไปมากขนาดไหนแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ยังคงมีผู้คนบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการให้หุ่นยนต์ขับขี่แทนมนุษย์จริงๆ อยู่เป็นจำนวนมาก หากอยากให้ผู้คนเข้าใจถึงประโยชน์และหันมาใช้งานยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัตินี้ ทางที่ดีที่สุด คือ บริษัทที่ให้การผลิตและบริการจะต้องจัดการกับอุปสรรคและข้อจำกัดของแท็กซี่ไร้คนขับนี้ให้ได้เสียก่อนนั่นเอง

ผู้เขียน: จินต์ศุจี มณฑิราลัยพร

ที่มา: 

https://www.infosysbpm.com/blogs/business-transformation/fully-automated-driving-and-the-rollout-of-robo-taxis.html#:~:text=People%20can%20call%20a%20taxi,the%20environment%20in%20real%2Dtime

https://en.wikipedia.org/wiki/Robotaxi 

https://finance.yahoo.com/news/global-robo-taxis-market-witness-080100557.html?guccounter=1&guce_referrer=aHR0cHM6Ly93d3cuZ29vZ2xlLmNvbS8&guce_referrer_sig=AQAAADKvd9JcIfo7qqj6tnAEOXp3OuJPbldwn6KUxK2iNsZfuXk1dr9wcFnJRQVvJ73ONJlDe45UzZ-AYW3fT8n6bHzy-EMl6v0mUzawYqfLGF3F_PNLYWhkBbsMSsT7K41vGb-iet0Yhkx0_0tI4niuFlVwabqfsSd5UKyNY-frWmii 

https://www.linkedin.com/pulse/robo-taxi-market-analysis-report-2024-market-dynamics-trend-tdt6e 

https://www.npr.org/2024/03/14/1238489046/waymo-robotaxi-los-angeles#:~:text=After%20more%20than%20a%20year,by%20Google’s%20parent%20company%20Alphabet

RECOMMEND

ชาไทยไม่ใส่สี
read more
25.06.2025 124

เทรนด์ชาไทยไม่ใส่สี: การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย

แบรนด์ชั้นนำหลายแห่งประกาศผลิตชาไทยที่ไม่ใส่สี Sunset Yellow FCF ซึ่งเป็นสีสังเคราะห์ที่ทำให้ชาไทยดั้งเดิมมีสีส้มสดใส เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น การแข่งขันของแบรนด์ชั้นนำ คาเฟ่ อเมซอน นำหน้าเปิดขาย คาเฟ่ อเมซอน ได้ประกาศตัวเป็น “เจ้าแรก” ที่ขายชาไทยไม่ใส่สี โดยเริ่มขายเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2025 ภายใต้ชื่อ “Premium Thai Tea” ซึ่งคัดสรรใบชาอัสสัมคุณภาพดีจากจังหวัดน่าน ผ่านการเบลนด์สูตรพิเศษโดย Tea Master ให้รสชาติโทนวานิลลาหอมละมุน และหวานนุ่มแบบคาราเมลไลซ์ จำหน่ายในราคา 60 บาท ชาตรามือ เตรียมวางจำหน่ายในเดือนกรกฎาคม ชาตรามือ แบรนด์ชาไทยเก่าแก่กว่า 80 ปี เตรียมวางจำหน่าย “ชาไทยไม่ใส่สี” ภายในเดือนกรกฎาคม 2025 โดยใช้สูตรดั้งเดิมที่ตัดสีสังเคราะห์ Sunset Yellow ออกทั้งหมด พร้อมเปิดตัวเมนูใหม่ “ชาไทยสีธรรมชาติ” ในไตรมาส 3 ซึ่งใช้สีผสมอาหารจากธรรมชาติ เช่น แครอท ในการแต่งเติมสี เหตุผลเบื้องหลังการเปลี่ยนแปลง ปัญหาของสี Sunset Yellow FCF สี Sunset Yellow FCF เป็นสีผสมอาหารสังเคราะห์ที่ทำให้ชาไทยมีสีส้มสดใส อย่างไรก็ตาม สารนี้ถูกห้ามใช้หรือควบคุมการใช้ในหลายประเท […]

เทรนด์อสังหาริมทรัพย์ 2025
read more
20.06.2025 387

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในปี 2025: โอกาสและความท้าทายที่ต้องรู้

แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2025 จะมีสัญญาณการฟื้นตัวบางส่วน แต่ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ยังเผชิญกับแรงกดดันจากหลายด้าน ทั้งความผันผวนของดีมานด์–ซัพพลายในแต่ละเซกเมนต์ และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงเร็ว อย่างไรก็ตาม โครงการส่งเสริมการลงทุนและการท่องเที่ยวจากภาครัฐได้ช่วยประคองตลาดในบางพื้นที่ให้ค่อย ๆ ฟื้นตัว ยอดพรีเซลของ 10 บริษัทอสังหาฯ ชั้นนำในช่วงต้นปี 2025 อยู่ที่ 59,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% เทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) และ 7% จากไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) โดย โครงการคอนโดมิเนียม เป็นกลุ่มที่ผลักดันยอดขายได้มากที่สุด มูลค่ารวมกว่า 28,000 ล้านบาท เทรนด์อสังหาริมทรัพย์ที่ต้องรู้ในปี 2025 1. Digital Transformation & PropTech จากการวิเคราะห์และบริหารจัดการด้วยข้อมูลเรียลไทม์ ไปจนถึงการใช้ AI และ Big Data เพื่อคาดการณ์ความต้องการ — PropTech กลายเป็นเครื่องมือหลักในการแข่งขันและลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น 2. Smart Home Living ตลาดสมาร์ทโฮมทั่วโลกเติบโตอย่างรวดเร็ว และกำลังเป็น มาตรฐานใหม่ของที่อยู่อาศัยระดับกลางถึงบน โดยบริษัทไทยชั้นนำอย่าง แสนสิริ อนันดา และเอพี ต่างนำระบบอัจฉริยะเข้ามาในโครงการ 3. Green Bu […]

Future Lab Research
read more
19.06.2025 545

Future Lab Research: ถอดรหัสความในใจลูกค้า เพื่อธุรกิจที่ชนะในอนาคต

การแข่งขันในโลกยุคใหม่ วัดกันที่ใครเข้าถึงและเข้ากุมหัวใจลูกค้าเป้าหมายได้ก่อนและได้มากกว่าและ Future Lab Research คือคอนเซปต์การทำวิจัยที่ช่วยคุณได้ หลายคนอาจจะคิดว่าในโลกยุคเทคโนโลยีดิจิทัลขนาดนี้ อาจจะมี เทคโนโลยี อะไรที่สร้างความสามารถทางการแข่งขันให้กับธุรกิจของเราได้ใช่มั้ยคะ มันก็ใช่นะ มันช่วยได้ …แต่ลองคิดอีกทีเทคโนโลยีที่เกิดในยุคนี้ช่วงเวลานี้ล้วนแต่จะทำให้ ถูกลงๆ เข้าถึงได้มากขึ้น ถึงจุดหนึ่งเทคโนโลยีก็คือ Foundation หรือฐานรากของธุรกิจ ที่คนที่ไม่มีหรือทำไม่ได้ ใช้ไม่เป็นก็จะไม่สามารถอยู่ในโลกแห่งการแข่งขันได้อีกต่อไป เป็นเช่นนี้แล้วเราจะสร้างความแตกต่างและมีความสามารถทางการแข่งขันที่เหนือกว่าได้อย่างไร Back to Basic ค่ะ : ) คำตอบกลับมาอยู่ที่ความสามารถในการเข้าใจโจทย์ที่จะทำให้เราชนะ! ซึ่งโจทย์นั้นอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลก็คืออยู่ที่หัวใจของลูกค้าเป้าหมายของเรานั่นเองค่ะ เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นไม่ได้เปลี่ยนกุญแจดอกนี้ไปแต่เทคโนโลยีมาช่วยเสริมประสิทธิภาพในการเข้าถึงหัวใจของลูกค้า มันอาจจะง่ายขึ้น เร็วขึ้น ถูกลงบ้างในบางโจทย์ (แต่บางโจทย์ก็อาจจะยังต้องใช้วิธีคลาสสิคอยู่) และเทค […]

Netflix ผสาน Big Data กับ Thick Data เพื่อเข้าใจว่าทำไมผู้ชมจึงชื่นชอบการดูซีรีส์แบบมาราธอน และเปลี่ยนพฤติกรรมนี้ให้กลายเป็นกลยุทธ์ธุรกิจ
read more
19.06.2025 270

ความลับพฤติกรรม ‘ดูซีรีส์รวดเดียวจบ’ ที่ Netflix ไขได้จากการทำวิจัยกับคนดู

Big Data ผสาน Thick Data ปลดล็อกนวัตกรรมด้วยข้อมูลสองมิติ ครั้งหนึ่ง Netflix กำลังทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุดของโลกสตรีมมิ่ง ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังของ Big Data อันมหาศาล อัลกอริทึมอัจฉริยะสามารถแนะนำซีรีส์ และภาพยนตร์ที่ตรงใจผู้ชมได้อย่างน่าทึ่ง วิเคราะห์ทุกการคลิก ทุกการหยุดพัก และทุกยอดวิว พวกเขารู้ว่าผู้คนดูอะไร และ เมื่อไหร่ แต่ท่ามกลางข้อมูลเหล่านั้น มีพฤติกรรมหนึ่งผุดขึ้นมาอย่างโดดเด่นแต่ยังคงเป็นปริศนานั้นคือ “Binge-Watching” หรือการดูซีรีส์รวดเดียวจบแบบมาราธอน เเต่เพียงเเค่ข้อมูลที่บอก ‘อะไร’ อย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จขนาดนั้น จึงเป็นที่มาของ Thick Data มันคือข้อมูลเชิงคุณภาพที่ให้ความเข้าใจถึงแรงจูงใจ ความเชื่อ และประสบการณ์ส่วนบุคคล ในกรณีของ Netflix อะไรคือแรงขับเคลื่อนเบื้องหลังการที่ผู้คนเลือกที่จะใช้เวลาสุดสัปดาห์ไปกับการดูซีรีส์อย่างไม่หยุดหย่อน? อะไรคือสิ่งที่กระตุ้นอารมณ์และแรงจูงใจเบื้องลึก? Netflix ได้เชิญทีมวิจัยเข้าไปทำ Ethnographic Research โดยเข้าไปในบ้านของผู้ชมจริง เพื่อสังเกตการณ์พฤติกรรมการดูซีรีส์ในบริบทธรรมชาติ พวกเขาเฝ้าดูคู […]

What is a Unmet Need
read more
09.06.2025 270

What is a Unmet Need? (ความต้องการที่ซ่อนอยู่คืออะไร)

What is a Unmet Need? (ความต้องการที่ซ่อนอยู่คืออะไร) นวัตกรรมที่เปลี่ยนโลกมักไม่ได้เริ่มจากเทคโนโลยีล้ำยุคเสมอไป แต่มักเริ่มจากคำถามง่ายๆ ว่า “ความต้องการลึกๆ ของลูกค้าคืออะไร” ความต้องการลึกๆ หรือที่เรียกว่า Unmet Need ในเชิงทฤษฎีการออกแบบ และนวัตกรรมความต้องการของผู้ใช้งานสามารถแบ่งออกเป็นหลายระดับตั้งแต่ความต้องการพื้นฐานที่ผู้ใช้อธิบายได้อย่างชัดเจน ไปจนถึงความต้องการที่ยังไม่สามารถระบุ หรือรับรู้ได้ด้วยตนเองซึ่งเรียกว่า Hidden Needs หรือ Unmet Needs ความต้องการเหล่านี้มักอยู่ในระดับที่ลึกกว่าการแสดงออกทั่วไป เป็นสิ่งที่ฝังอยู่ในพฤติกรรม ความรู้สึก หรือสภาพแวดล้อมที่ผู้ใช้อาศัยอยู่ แนวคิดนี้เชื่อมโยงกับการออกแบบที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centered Design) และแนวทาง Outcome-Driven Innovation ของ Ulwick (2005) ซึ่งชี้ว่า ความเข้าใจใน “งานที่ผู้ใช้อยากให้เสร็จ (Jobs to Be Done)” นั้นต้องลึกซึ้งกว่าคำพูดหรือแบบสอบถามทั่วไป เพราะผู้ใช้จำนวนมากไม่สามารถบอกความต้องการที่แท้จริงของตนออกมาได้อย่างตรงไปตรงมา (Latent or Unarticulated Needs) ตัวอย่างของ Hidden Needs ได้แก่ ความรู้สึกไม่ […]

Subscription

เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เทรนด์และวิจัยต่อเนื่อง