Baramizi Lab logo

การวิจัยเพื่อพัฒนาธุรกิจที่ถูกต้องเป็นอย่างไร? ตีแผ่วิธีการ…การวิจัยเพื่อพัฒนาธุรกิจ

การวิจัยเพื่อพัฒนาธุรกิจที่ถูกต้องเป็นอย่างไร? ตีแผ่วิธีการ…การวิจัยเพื่อพัฒนาธุรกิจ

การวิจัยเพื่อพัฒนาธุรกิจต้องไม่จำกัดวิธีการ วิจัยเชิงคุณภาพ วิจัยเชิงปริมาณ วิจัยตลาด วิจัยเพื่อการออกแบบ ยึดโจทย์ทางธุรกิจเป็นที่ตั้งที่สำคัญแล้วจะใช้กระบวนการใดหรือจะผสมผสานอย่างไรก็ได้ให้มุ่งเป้าคำตอบได้สูงสุด

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ ผู้ประกอบการ นักสร้างแบรนด์ นักออกแบบ หรือนักพัฒนานวัตกรรมใหม่ ทุกท่านเคยมีความลังเล สงสัย ไม่แน่ใจ หรืองงงวยกับผลลัพธ์ทางการตลาดที่เกิดขึ้นตลอดเส้นทางการเดินหน้าในธุรกิจของคุณบ้างมั้ยคะ… นับไม่ถ้วนเลยใช่มั้ย การเผชิญกับโจทย์ที่สับสนงุนงงทางธุรกิจใครๆ ก็เป็นกันค่ะ แม้แต่ตัวดิฉันและทีมงานที่ทำธุรกิจในฐานะเป็นบริษัทวิจัยและที่ปรึกษาก็เจอกับมันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ลูกค้าจะชอบผลงานที่เราเสนอมั้ย ลูกค้าจะหาเราเจอ ได้ยังไง ทำไมสิ่งนี้ที่เราคิดว่าดีแต่ปล่อยไปทำไมถึงแป้ก งานนวัตกรรมนี้ เหมาะแก่การลงทุนหรือไม่ ทำยังไงให้ลูกค้า Loyalty กับเรา แต่ด้วยธุรกิจของ Baramizi Lab มีลักษณะเป็น B2B (Business to Business) และเป็นลักษณะของการให้บริการที่ใกล้ชิด ได้พูดคุย ได้รับฟัง และสำรวจความคิดเห็นของผู้ร่วมงานด้วยกันตลอด หลายครั้งก็ถามกันได้ตรงๆ ทำให้ความสับสนงุนงงของธุรกิจ Baramizi Lab นั้นยังสามารถหาวิธีคลายข้อสงสัยได้ง่ายและรวดเร็ว แต่กับผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ในอีกหลายธุรกิจไม่ได้เป็นอย่างนั้น ในธุรกิจที่เป็น B2C (Business to Consumer) ที่ลูกค้ามีจำนวนมากรายและแต่ละรายมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ไม่มาก หรือต่อให้เป็นธุรกิจบริการ ถ้าองค์กรใหญ่ขึ้นมาหน่อยก็ไม่มีทางที่ผู้บริหารหรือเจ้าของแบรนด์จะสัมผัสถึงความรู้สึกนึกคิดของลูกค้าได้ตรงๆ เช่นเดียวกับธุรกิจ B2B (Business to Business) ที่มีลูกค้าจำนวนมากรายขึ้นมาหรือรูปแบบการให้บริการไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดลูกค้าจนสามารถเข้าใจที่อยู่เบื้องลึกในใจจริงๆ ของลูกค้าได้ สิ่งนั้นทำให้การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ต่างๆ นั้น อาจล้มเหลวหรือผิดพลาดได้ เพราะเราขาด “ข้อมูล” ที่ช่วยในการตัดสินใจ

ท่ามกลางโจทย์ที่หลากหลายของธุรกิจที่หลากหลาย Baramizi Lab ในฐานะที่ปรึกษาในด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาธุรกิจได้ปฏิบัติและสร้างผลงานทางการวิจัยเพื่อตอบแต่ละโจทย์ของธุรกิจใหญ่น้อยตลอดเส้นทางการเดินทางของพวกเรา ถ้าถามว่า “วิธีการวิจัยแบบไหนคือดีที่สุดสำหรับตอบปัญหาทางธุรกิจ?” จากประสบการณ์การทำงานย่างเข้าขวบปีที่ 13 บอกได้เลยว่า เราต้องไม่มีข้อจำกัดในการเลือกใช้เครื่องมือหรือวิธีจะเป็นการดีที่สุดค่ะ การที่เราสามารถรู้จักวิธีใช้ที่ได้จากทุกเครื่องมือรู้ให้มากพอว่าเครื่องมือเหล่านี้จะให้ผลลัพธ์ออกมาหน้าตาอย่างไร? มี Character อย่างไร? และมีข้อจำกัดอะไรจะทำให้เราต่อกรกับทุกโจทย์ที่ท้าทายของธุรกิจได้

 

เครื่องมือและกระบวนการวิจัยมีด้วยกันหลายตัวค่ะ ถ้าจะแบ่งกว้างๆ แบบที่ Baramizi Lab มักจะวางเป็นอาวุธพร้อมใช้ เราแบ่งเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน

  1. วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
  2. วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)

2 ประเภทนี้เชื่อว่าเพื่อนๆ ในแวดวงธุรกิจ และการตลาดได้ยินกันบ่อยก็เป็น 2 วิธีการที่ยันพื้นจริงๆ แต่นอกจาก 2 วิธีการนี้ในยุค 4.0 ยังมีอีก 2 วิธีที่เข้ามาเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจและเริ่มเข้ามามีบทบาทบ้าง คือ

  1. เครื่องมือ Social Listening ซึ่งทำหน้าที่กวาด ความคิดเห็นในสังคมออนไลน์ ทำให้สามารถเห็นทิศทางและปริมาณของ Insight บางอย่างได้
  2. Online Poll คล้ายๆ กับการเก็บแบบสอบถามออนไลน์ แต่มาในรูปแบบของชุดคำถามสั้นๆ ถามกับกลุ่มคนที่เป็นสมาชิกที่มีการฝาก Profile ไว้แล้ว

“4 เครื่องมือในการทำวิจัยนี้ช่วยตอบโจทย์ในแต่ละวาระและโอกาสของโจทย์ทางธุรกิจในยุคนี้ได้ค่อนข้างลงตัวค่ะ ซึ่งในแต่ละโจทย์จะไม่ได้ใช้ครบทั้ง 4 เครื่องมือ ขึ้นอยู่กับหัวเรื่องที่ต้องการวิจัย”

 

รูปแบบการวิจัยและตัวอย่างผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัย

  1. การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) – ในโจทย์ทางธุรกิจที่ส่วนใหญ่มุ่งเน้นการเข้าใจ Insight กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นมุ่งเน้นการคุยอย่างมีคุณภาพเพื่อเจาะเข้าไปถึงประเด็นที่อยู่ลึกจริงๆ ได้คำตอบระดับ Unmet Need (ความต้องการที่ซ่อนเร้น) และใช้จำนวนไม่มาก การประมวลผลก็ใช้เวลาน้อยที่สุดไปด้วย วิจัยเชิงคุณภาพจึงถูกใช้บ่อยที่สุดในการค้นคว้าโจทย์ทางธุรกิจ แต่ข้อจำกัดคือ ไม่สามารถให้มุมมองเชิงขนาดของความต้องการได้ กรณีต้องการตัวเลขประกอบการตัดสินใจอย่างมั่นใจ กระบวนการเชิงคุณภาพจะยังไม่เพียงพอ ระยะเวลาต่อโครงการประมาณ 1.5-2 เดือนขึ้นอยู่กับจำนวนตัวอย่าง

[คลิกรับฟัง การค้นหา Unmet Need]

ตัวอย่างผลลัพธ์การวิจัยเชิงคุณภาพ

FutureLabResearchOutcomeNeed Laddering

 

  1. วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) – คุณสมบัติสำคัญของกระบวนการนี้คือการสามารถอ่าน Insight ได้ในเชิงภาพรวมของตลาดและที่สำคัญคือสามารถเห็นสัดส่วนของความต้องการและ Insight แต่ละส่วนได้จึงช่วยประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ข้อจำกัดคือใช้เวลาและงบประมาณค่อนข้างสูงเนื่องจากต้องใช้ทีมทำงานในระบบจำนวนมากกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสินค้าหรือบริการไม่ใช่สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปไม่ใช่ว่าทุกคนจะเป็นลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น ครั้งหนึ่ง Baramizi Lab เคยรับโจทย์ศึกษาเกี่ยวกับแบรนด์ข้าว พบว่าใน 10 คนจึงจะพบคนที่เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ซื้อข้าวสารถุง 5 กก.ด้วยตัวเอง 1 คน แล้วพอขยับเป็นคนซื้อบ้านเดี่ยวระดับราค 20 ล้านบาท หรือรถยนต์คันละ 5 ล้านบาท ก็จะยิ่งทำให้งบประมาณในการได้มาต่อกลุ่มเป้าหมายสูงขึ้น เวลาและงบประมาณจีงนับเป็นข้อจำกัดสำคัญของกระบวนการนี้ ระยะเวลาต่อโครงการประมาณ 3-4 เดือน

 [คลิกเพื่อรับฟังการวิจัยทั้ง 2 ประเภทแตกต่างกันอย่างไรได้ที่ Future Research Podcast].

 

ตัวอย่างผลลัพธ์การวิจัยเชิงปริมาณ

FutureLabResearchOutcome_TheDayAfterCrisis_การวิจัยเชิงปริมาณ

 

  1. การใช้ข้อมูลจาก Social Listening – เป็นการใช้เครื่องมือ Social Listening Tools ในการกวาดข้อมูลจากสังคมออนไลน์และทำการวิเคราะห์จัดกลุ่มหาความเชื่อมโยงของเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์และประเมินแนวโน้มต่างๆ วิธีการนี้เลือกใช้ในโจทย์ที่ต้องการหาแนวโน้มบางอย่าง เช่น แนวโน้มของเรื่องราวการท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจ เรื่องราวการท่องเที่ยวของจังหวัดต่างๆ ตลอดจนชื่อเสียงของแบรนด์ในโลกออนไลน์ เป็นต้น การเลือกใช้กระบวนการนี้ส่วนใหญ่จะเลือกใช้ประกอบกับวิธีการอื่นๆ เนื่องจากเสียงต่างๆ ในออนไลน์ยังไม่อาจแทนค่าเสียงทั้งหมดจริงๆ ได้ แต่ความน่าสนใจคือสามารถให้ทิศทางในขั้นต้นเพื่อเปิดช่องทางในการศึกษาเชิงลึกต่อไป ข้อดีของ Social Listening คือ ใช้ระยะเวลาและงบประมาณในการได้มาซึ่งข้อมูลต่ำกว่า เหมาะกับโจทย์ที่ต้องการข้อมูลสดใหม่ หาไอเดียแบบเร็วๆ นำไปต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ได้เลยโดยความเสี่ยงไม่สูง เช่น ไอเดียเพื่อสร้างเรื่องราวการโฆษณา เป็นต้น ระยะเวลาต่อโครงการอยู่ที่ประมาณ 1 เดือน

ตัวอย่างผลลัพธ์การวิจัยโดยใช้ข้อมูล Social Listening

 สำหรับท่านใดต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดอ่านได้ที่ เว็บไซต์ของศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว:(หัวข้อบทวิเคราะห์และงานวิจัย > งานวิจัย ททท. ที่เกี่ยวข้อง) ข้อมูลวิจัยการนำเสนอคุณค่าและเรื่องราวของแหล่งท่องเที่ยวจากสื่อสังคมออนไลน์ (Social Listening) โดยข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาแนวทางสร้างสรรค์เรื่องราวเพื่อเพิ่มประสบการณ์การท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย

BaramiziLab-SocialListening_การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

BaramiziLab-SocialListening_การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

BaramiziLab-SocialListening_การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

BaramiziLab-SocialListening_การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

 

  1. เครื่องมือ Online Poll – เป็นกระบวนการเก็บข้อมูลในยุคใหม่ที่ใช้หลักการเหมือนการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณคือใช้เป็นแบบสอบถาม แต่ทั้งหมดอยู่ในรูปแบบของออนไลน์ ซึ่งผู้ร่วมตอบแบบสอบถามจะเป็นกลุ่มสมาชิกที่มีตัวตนจริงในโลกออนไลน์แบ่งสัดส่วนตามช่วงวัยและภูมิภาคที่อยู่อาศัย ซึ่งเมื่อเป็นรูปแบบนี้คุณลักษณะสำคัญจึงเป็นเรื่องของความรวดเร็วและสามารถครอบคลุมพื้นที่การเก็บสำรวจได้ทุกภูมิภาคโดยได้ผลคำตอบในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือนในงบประมาณที่ไม่สูงมาก และยังสามารถเก็บสำรวจได้เรื่อยๆ ในทุกๆ เดือนอีกด้วย อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของกระบวนการนี้คือ เหมาะกับโจทย์กว้างๆ ที่กลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนคนทั่วไปที่ระดับรายได้ปานกลาง ไม่เหมาะกับธุรกิจประเภท B2B หรือสินค้าที่เฉพาะเจาะจง ตัวอย่างโจทย์ที่เหมาะสม เช่น การสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อแบรนด์ การทดสอบไอเดียแคมเปญ หรือการวัดผลการ Launch แคมเปญต่างๆ ที่สื่อสารออกไป

 

ตัวอย่างผลลัพธ์การวิจัยโดยใช้ข้อมูล Online Poll

FutureLabResearchOutcomeTheDayAfterCrisis-OnlinePoll

 

เมื่อมีอาวุธพร้อมมือก็ทำให้ทุกโจทย์ทางธุรกิจสามารถต่อกรได้อย่างไม่เกินเอื้อม ที่เหลือคือการท้าทายไปกันต่อกับเนื้อหาคำถามและเครื่องมือในการล้วงลึกเจาะใจลงไปในห้วงลึกจิตใจของว่าที่ลูกค้ากันค่ะ ยังมีวิธีการและเรื่องราวเทคนิคสนุกๆ ในการเก็บข้อมูลแต่ละแบบอีกมาก นี่เป็นเพียงประตูขั้นแรกที่เป็นการเลือกกระบวนการ ความสามารถที่แท้จริงที่จะทำให้การวิจัยประสบความสำเร็จจะอยู่หลังจากนี้ไปค่ะ โดยยิ่งโจทย์ทางธุรกิจมีความชัดเจนมากเท่าไหร่ ทีมวิจัยก็จะสามารถยึดมั่นในโจทย์และออกแบบคำถามและเครื่องมือทางการวิจัยที่เหมาะสมและเจาะลึกได้ซึ่งเราจะมาแบ่งปันแลกเปลี่ยนกันในบทความครั้งต่อๆ ไปกันค่ะ

 

#FutureLabResearch #ResearchforBusiness #BaramiziLab #ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต

 

RECOMMEND

index วัดผลการสร้างแบรนด์
read more
04.07.2025 84

วัดผลการสร้างแบรนด์ยังไงให้ได้ผลลัพธ์ที่ทุกคนยอมรับ?

ก่อนจะเริ่มพูดเรื่องกลยุทธ์หรือเครื่องมือไหน ๆ ขอชวนคุณติดกระดุมเม็ดแรกให้ถูกก่อนนะคะ สำหรับเจ้าของธุรกิจที่เชื่อว่า “แบรนด์” คือสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ แต่มีมูลค่าสูงมหาศาล เราอยากให้คุณวางความลังเลทิ้งไว้ตรงนี้เลยค่ะ คำถามที่ว่า “จะลงทุนสร้างแบรนด์ดีไหม?” ขีดฆ่ามันทิ้งไปได้เลย เพราะแค่ยังลังเล ก็อาจทำให้คุณพลาดเกมใหญ่ไปแล้ว ✅ การลงทุนกับการสร้างแบรนด์คือสิ่งที่ถูกต้อง ✅ การสร้างแบรนด์ไม่จำเป็นต้องใช้งบเสมอไป เพราะการสร้างแบรนด์คือการควบคุมทุกจุดสัมผัสของลูกค้าให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพียงแค่มีเข็มทิศที่แม่นยำ และควบคุมทุกประสบการณ์ให้ไปในทิศทางนั้น หากมีงบ ก็สามารถเพิ่มพลังความสร้างสรรค์ให้แตกต่างจนลูกค้าจดจำได้ไม่รู้ลืม 🅾️ แต่สิ่งที่หลายคนยังไม่มั่นใจคือ “จะวัดผลแบรนด์อย่างไร?” ยอดขายขึ้นหมายถึงแบรนด์ดีหรือไม่? ถ้ายอดขายไม่ขึ้น แปลว่าแบรนด์แย่หรือเปล่า? เราเข้าใจความสับสนตรงนี้ดีค่ะ เพราะแม้แต่คนที่อยู่ในวงการแบรนด์มานาน ยังต้องกลับมาตั้งคำถามนี้กับตัวเองอยู่บ่อย ๆ Baramizi Lab กับการพัฒนาเครื่องมือวัดแบรนด์ Baramizi Lab (ซึ่งหมวกหนึ่งคือนักวิจัยเพื่อการพัฒนาแบรนด์) เข้าใจหัวอกห […]

Future of Cheese
read more
03.07.2025 96

Future of Cheese: ถอดรหัสกระแสอาหารโลกผ่านมุมมองชีส

ขนาดตลาดชีสโลกและไทย: โอกาสเติบโตที่ไม่ควรมองข้าม ตลาดชีสโลกกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่า 93.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2024 และคาดการณ์ว่าจะเติบโตด้วยอัตรา CAGR 5.08% จากปี 2025-2033 เพื่อไปสู่มูลค่า 153.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2033 ในขณะที่แหล่งข้อมูลอื่นคาดการณ์ว่าตลาดจะเติบโตไปสู่ 210.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2030 Global cheese market size projections showing steady growth from 2024 to 2030, with various forecasting models สำหรับตลาดไทย ชีสกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากมูลค่า 2,146.5 ล้านบาทในปี 2563 เติบโตเป็น 4,924.1 ล้านบาทในปี 2567 ซึ่งคิดเป็นการเติบโต 7.6% ในปีที่ผ่านมา การเติบโตนี้สะท้อนอัตรา CAGR 23.07% ระหว่างปี 2020-2024 แสดงให้เห็นถึงความนิยมที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วของชีสในตลาดไทย Thai cheese market showing dramatic growth from 2020 to 2024, with market value more than doubling สาเหตุที่ทำให้เกิดเทรนด์ชีส 1. อิทธิพลของโซเชียลมีเดีย การเติบโตของเทรนด์ชีสได้รับอิทธิพลอย่างมากจากโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะ TikTok ที่มี hashtag #cottagecheese ได้รับการดูมากกว่า 500 […]

แนวโน้มตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV Trends)
read more
02.07.2025 92

แนวโน้มตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV Trends) ปี 2025-2026

สรุปภาพรวมตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ในปี 2024 ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกทะลุ 17 ล้านคัน คิดเป็นกว่า 20% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ทั้งหมดทั่วโลก และคาดว่าในปี 2025 ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าจะเติบโตอย่างรวดเร็ว มียอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 22 ล้านคัน เติบโตสูงกว่า 25% เมื่อเทียบกับปีก่อน ราคาชุดแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้ามีความสามารถในการแข่งขันใกล้เคียงกับรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ขณะเดียวกัน โครงสร้างพื้นฐานด้านการชาร์จไฟฟ้าก็ขยายตัวอย่างรวดเร็ว สนับสนุนการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในวงกว้างมากขึ้น 1. ยอดขายและส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก ยอดขายในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าปี 2024 สูงกว่า 17 ล้านคัน เติบโต 25% เมื่อเทียบกับปี 2023 คิดเป็นกว่า 20% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ทั้งหมดทั่วโลก จีนเป็นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่สุด จำหน่ายรถ EV กว่า 11 ล้านคัน คิดเป็นเกือบ 50% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ในประเทศ และคิดเป็นเกือบสองในสามของยอดขาย EV โลก สหรัฐฯ มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าราว 1.6 ล้านคัน เติบโต 10% ยุโรปได้รับผลกระทบจากการถอนเงินอุดหนุน แต่ยังรักษาสัดส่วนยอดขายในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าไว้ที่ประมาณ 20% 2. แนวโน้มภูมิภาคและตลาดเกิด […]

ชาไทยไม่ใส่สี
read more
25.06.2025 197

เทรนด์ชาไทยไม่ใส่สี: การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย

แบรนด์ชั้นนำหลายแห่งประกาศผลิตชาไทยที่ไม่ใส่สี Sunset Yellow FCF ซึ่งเป็นสีสังเคราะห์ที่ทำให้ชาไทยดั้งเดิมมีสีส้มสดใส เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น การแข่งขันของแบรนด์ชั้นนำ คาเฟ่ อเมซอน นำหน้าเปิดขาย คาเฟ่ อเมซอน ได้ประกาศตัวเป็น “เจ้าแรก” ที่ขายชาไทยไม่ใส่สี โดยเริ่มขายเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2025 ภายใต้ชื่อ “Premium Thai Tea” ซึ่งคัดสรรใบชาอัสสัมคุณภาพดีจากจังหวัดน่าน ผ่านการเบลนด์สูตรพิเศษโดย Tea Master ให้รสชาติโทนวานิลลาหอมละมุน และหวานนุ่มแบบคาราเมลไลซ์ จำหน่ายในราคา 60 บาท ชาตรามือ เตรียมวางจำหน่ายในเดือนกรกฎาคม ชาตรามือ แบรนด์ชาไทยเก่าแก่กว่า 80 ปี เตรียมวางจำหน่าย “ชาไทยไม่ใส่สี” ภายในเดือนกรกฎาคม 2025 โดยใช้สูตรดั้งเดิมที่ตัดสีสังเคราะห์ Sunset Yellow ออกทั้งหมด พร้อมเปิดตัวเมนูใหม่ “ชาไทยสีธรรมชาติ” ในไตรมาส 3 ซึ่งใช้สีผสมอาหารจากธรรมชาติ เช่น แครอท ในการแต่งเติมสี เหตุผลเบื้องหลังการเปลี่ยนแปลง ปัญหาของสี Sunset Yellow FCF สี Sunset Yellow FCF เป็นสีผสมอาหารสังเคราะห์ที่ทำให้ชาไทยมีสีส้มสดใส อย่างไรก็ตาม สารนี้ถูกห้ามใช้หรือควบคุมการใช้ในหลายประเท […]

เทรนด์อสังหาริมทรัพย์ 2025
read more
20.06.2025 605

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในปี 2025: โอกาสและความท้าทายที่ต้องรู้

แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2025 จะมีสัญญาณการฟื้นตัวบางส่วน แต่ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ยังเผชิญกับแรงกดดันจากหลายด้าน ทั้งความผันผวนของดีมานด์–ซัพพลายในแต่ละเซกเมนต์ และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงเร็ว อย่างไรก็ตาม โครงการส่งเสริมการลงทุนและการท่องเที่ยวจากภาครัฐได้ช่วยประคองตลาดในบางพื้นที่ให้ค่อย ๆ ฟื้นตัว ยอดพรีเซลของ 10 บริษัทอสังหาฯ ชั้นนำในช่วงต้นปี 2025 อยู่ที่ 59,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% เทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) และ 7% จากไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) โดย โครงการคอนโดมิเนียม เป็นกลุ่มที่ผลักดันยอดขายได้มากที่สุด มูลค่ารวมกว่า 28,000 ล้านบาท เทรนด์อสังหาริมทรัพย์ที่ต้องรู้ในปี 2025 1. Digital Transformation & PropTech จากการวิเคราะห์และบริหารจัดการด้วยข้อมูลเรียลไทม์ ไปจนถึงการใช้ AI และ Big Data เพื่อคาดการณ์ความต้องการ — PropTech กลายเป็นเครื่องมือหลักในการแข่งขันและลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น 2. Smart Home Living ตลาดสมาร์ทโฮมทั่วโลกเติบโตอย่างรวดเร็ว และกำลังเป็น มาตรฐานใหม่ของที่อยู่อาศัยระดับกลางถึงบน โดยบริษัทไทยชั้นนำอย่าง แสนสิริ อนันดา และเอพี ต่างนำระบบอัจฉริยะเข้ามาในโครงการ 3. Green Bu […]

Subscription

เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เทรนด์และวิจัยต่อเนื่อง