Baramizi Lab logo

วัดผลการสร้างแบรนด์ยังไงให้ได้ผลลัพธ์ที่ทุกคนยอมรับ?

index วัดผลการสร้างแบรนด์
04
07.2025
view
14
SHARE

วัดผลการสร้างแบรนด์ยังไงให้ได้ผลลัพธ์ที่ทุกคนยอมรับ?

ก่อนจะเริ่มพูดเรื่องกลยุทธ์หรือเครื่องมือไหน ๆ ขอชวนคุณติดกระดุมเม็ดแรกให้ถูกก่อนนะคะ
สำหรับเจ้าของธุรกิจที่เชื่อว่า “แบรนด์” คือสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ แต่มีมูลค่าสูงมหาศาล
เราอยากให้คุณวางความลังเลทิ้งไว้ตรงนี้เลยค่ะ คำถามที่ว่า
“จะลงทุนสร้างแบรนด์ดีไหม?” ขีดฆ่ามันทิ้งไปได้เลย เพราะแค่ยังลังเล ก็อาจทำให้คุณพลาดเกมใหญ่ไปแล้ว

✅ การลงทุนกับการสร้างแบรนด์คือสิ่งที่ถูกต้อง
✅ การสร้างแบรนด์ไม่จำเป็นต้องใช้งบเสมอไป เพราะการสร้างแบรนด์คือการควบคุมทุกจุดสัมผัสของลูกค้าให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
เพียงแค่มีเข็มทิศที่แม่นยำ และควบคุมทุกประสบการณ์ให้ไปในทิศทางนั้น
หากมีงบ ก็สามารถเพิ่มพลังความสร้างสรรค์ให้แตกต่างจนลูกค้าจดจำได้ไม่รู้ลืม

🅾️ แต่สิ่งที่หลายคนยังไม่มั่นใจคือ “จะวัดผลแบรนด์อย่างไร?”
ยอดขายขึ้นหมายถึงแบรนด์ดีหรือไม่? ถ้ายอดขายไม่ขึ้น แปลว่าแบรนด์แย่หรือเปล่า?
เราเข้าใจความสับสนตรงนี้ดีค่ะ เพราะแม้แต่คนที่อยู่ในวงการแบรนด์มานาน ยังต้องกลับมาตั้งคำถามนี้กับตัวเองอยู่บ่อย ๆ

Baramizi Lab กับการพัฒนาเครื่องมือวัดแบรนด์

Baramizi Lab (ซึ่งหมวกหนึ่งคือนักวิจัยเพื่อการพัฒนาแบรนด์) เข้าใจหัวอกหัวใจนักสร้างแบรนด์ทุกคนในเรื่องนี้ดีค่ะ เราจึงมีการ R&D ในการหาเครื่องมือเพื่อชี้วัดแบรนด์มาอย่างต่อเนื่อง จากคอนเทนต์ก่อนหน้าที่เราเขียนถึงแบรนด์ที่ดีวัดอย่างไร นั่นก็เป็นผลผลิตส่วนหนึ่งค่ะ จากการทำงานร่วมกับ รศ.ดร.ณัฐพล อัสสะรัตน์ ประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดแบรนด์อย่างต่อเนื่อง จนสามารถจัดกลุ่มเครื่องมือวัดผลได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้:

กลุ่มที่ 1 รูปแบบของ Index ที่ชี้วัดความแข็งแรงหรือความทรงพลังของแบรนด์เปรียบเทียบกับแบรนด์คู่แข่ง

กลุ่มนี้ได้จากการทำวิจัยประเภทที่เรียกว่า “การตรวจสอบสุขภาพแบรนด์” (Brand Health Check) เวลาที่ผู้บริหารอยากทำการตรวจสอบ Index ในกลุ่มนี้ให้ชุดความรู้ไว้ค่ะว่าจะมีกลุ่ม Index ที่ให้ความหมายแตกต่างกันประมาณ 2 ชุด ได้แก่

1) ชุด Index ที่วัดคุณภาพของการสร้างแบรนด์เชิงปริมาณ

ดัชนีที่วัดความแข็งแรงด้านความทรงพลังของแบรนด์ ผ่าน “ปริมาณของการรับรู้” เช่น

  • Brand Awareness การรู้จักแบรนด์โดยรวม
  • Top of Mind การที่ลูกค้านึกถึงแบรนด์เป็นอันดับแรก
  • Unaided Awareness การรู้จักโดยไม่ต้องมีการกระตุ้น
  • The Most Admired/Favourite Brand แบรนด์ที่ลูกค้าชื่นชอบที่สุด
  • The Most Usage แบรนด์ที่ลูกค้าใช้งานมากที่สุด

ที่หัวข้อการประเมินเหล่านี้เป็นมุมมองความแข็งแรงแบบเชิงปริมาณเนื่องจากวิธีการสำรวจจะเป็นไปในลักษณะวัดสัดส่วนของผู้ที่ตอบแบรนด์เราเมื่อเทียบกับกลุ่มเป้าหมายที่ตอนแบบสอบถามทั้งหมด นับเป็นกลุ่ม Index ที่แบรนด์ขนาดใหญ่ควรต้อง Monitor เนื่องจากเป็นผลลัพธ์ที่สะท้อนการใช้งบการดำเนินงานเกี่ยวกับแบรนด์ในแต่ละปีได้เป็นอย่างดี แต่ในทางกลับกับแบรนด์ที่ Size เล็กลงมา การสร้างการรู้จักในแบรนด์อาจไม่ได้ Cover ทั้งตลาดตัวชี้วัดนี้อาจไม่เหมาะมากนักค่ะ

งานเวทีประกาศรางวัลหรืองานวิจัยกลางที่เนื้อหาการวัดผลให้ความหมายในลักษณะนี้ได้ค่อนข้างดี เช่น The Most Powerful Brand (แบรนด์ที่ทรงพลังที่สุดในแต่ละหมวดหมู่) ของภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทำการสำรวจทุกๆ 2 ปี

รูปภาพอ้างอิงจาก:

BrandBuffet (2024). Chula announces The Most Powerful Brands of Thailand 2024.
ดูเพิ่มเติม: https://www.brandbuffet.in.th/2024/08/chula-announces-the-most-powerful-brands-of-thailand-2024/

2) ชุด Index ที่วัดคุณภาพของการสร้างแบรนด์เชิงคุณภาพ

ดัชนีที่เน้นวัด “ประสบการณ์และความรู้สึกของลูกค้า” ที่มีต่อแบรนด์ เช่น

  • Brand Superfans Index อัตราความเป็นสาวกของแบรนด์
  • Brand Experience Index ระดับความพึงพอใจต่อประสบการณ์ที่ได้รับจากแบรนด์
  • Brand Customer Value Index การรับรู้ถึงคุณค่าที่แบรนด์มอบให้
  • Brand Image ภาพลักษณ์ที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์
  • Net Promoter Score (NPS) ความเต็มใจในการแนะนำแบรนด์ต่อผู้อื่น

ลักษณะของ Index ที่เป็นการสร้างแบรนด์เชิงคุณภาพ เป็นการสำรวจในลักษณะ Recruit คนที่รู้จักหรือได้สัมผัส ได้ใช้บริการแบรนด์ แล้วชวนให้พิจารณาประเด็นต่างๆ ที่สะท้อนคุณภาพของแบรนด์ว่าแบรนด์ทำได้ดีมากน้อยแค่ไหนในแต่ละส่วน โดยทำการให้คะแนนประเมิน 1-5 บ้างหรือ 0-10 บ้าง แล้วแต่ทฤษฎีค่ะ การประเมินลักษณะนี้ เหมาะกับแบรนด์ทุกขนาด ใช้งานได้หมดค่ะ และกรณีเป็นเวทีการแข่งขันจะสามารถทำให้แบรนด์ใหญ่และแบรนด์เล็กแข่งขันกันได้อย่างเท่าเทียมด้วยค่ะ 

งานเวทีประกาศรางวัลหรืองานวิจัยกลางที่มีการเผยแพร่เนื้อหาการวัดผลที่ให้ความหมายในลักษณะนี้ได้ค่อนข้างดี เช่น รางวัล Thailand Brand Superfans Awards ที่กลุ่มบริษัท บารามีซี่ กรุ๊ป ร่วมกับภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการประกาศรางวัลและเผยแพร่ไปในช่วงปลายปี 2024 ที่ผ่านมาค่ะ นอกเหนือจากนี้เวทีสำคัญของวงการอย่าง The Most Admired Brand ของสื่อชั้นนำอย่าง BrandAge เมื่อพิจารณาจากมิติชี้วัดก็กล่าวได้ว่าอยู่ในกลุ่มนี้ค่ะ

Thailand Brand Superfans 2024

รูปภาพอ้างอิงจาก:

BIBF – Bangkok International Branding Festival (2024), เผยแพร่ผ่านเพจ Baramizi Consultant
เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/share/p/1AzdbxWLXS/

หมายเหตุ: การประเมินในลักษณะนี้ผลอาจจะมีลักษณะเป็นคะแนนเฉลี่ยเต็ม 10 หรือเต็ม 100 คะแนน แต่ถ้าทุกคนได้ไปดูผลคะแนนที่ประกาศของ Thailand Brand Superfans Awards 2024 จะเห็นผลประกาศเป็น % ค่ะ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเราตีความผลในลักษณะคล้ายๆ กับ NPS หรือ Net Promoter Score ซึ่งมีการตีความผลการให้คะแนนไปสู่การนับเป็นสัดส่วนค่ะ แต่ตัวมันยังคงให้ความหมายเชิงคุณภาพอยู่ค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างกับตัวชี้วัดกลุ่มที่ 1 นี้คะ การประเมินตัวเองของแบรนด์ก็ช่วยให้ผู้บริหารมีข้อมูลที่ดีในระดับหนึ่งแล้ว และดีขึ้นไปอีกที่เวทีหรืองานวิจัยกลางที่มีหน่วยงานที่เป็นกลางทำไว้สามารถให้มุมมองถึงคะแนน Benchmark ของตลาดในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ผู้บริหารน่าจะมี Benchmark ในใจหรือกำหนดเป็นตัวเลขตัวชี้วัดให้กับทีมทำงานได้ค่ะ

กลุ่มที่ 2: การประเมินมูลค่าแบรนด์เป็นตัวเงิน

กลุ่มนี้น่าจะเป็นที่ตั้งตารอของผู้บริหารแบรนด์หลายคน เพราะสิ่งที่ “Ideal” ที่สุดสำหรับแบรนด์ ก็คือการมีข้อมูลที่แสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมว่า ทุกการดำเนินงานที่ทำมานั้น สร้าง “สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้” ให้กับแบรนด์เป็นมูลค่าเงินได้มากแค่ไหน

ในต่างประเทศ หน่วยงานระดับสากลหลายแห่งได้พัฒนาสูตรและวิธีการประเมินมูลค่าแบรนด์อย่างต่อเนื่อง พร้อมประกาศผลการประเมินในทุกปี แต่แบรนด์ที่ปรากฏในลิสต์เหล่านี้ส่วนใหญ่ยังคงเป็น Global Brand เท่านั้น และแม้จะมีการคำนวณอย่างเป็นระบบ แต่รายละเอียดของสูตรกลับไม่ได้เปิดเผยอย่างชัดเจน ทำให้แบรนด์ไทยต้องมองตาปริบ ๆ เพราะไม่สามารถนำมาใช้ประเมินมูลค่าแบรนด์ของตัวเองได้อย่างเต็มที่

ตลอดระยะเวลากว่า 15 ปีที่ผ่านมา ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้พัฒนา CBS Valuation ในนามของ Chula Business School โดยจัดทำสูตรการประเมิน คำนวณ และประกาศมูลค่าของแบรนด์ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมขยายผลไปยังแบรนด์ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของวงการวิชาการไทย ที่พัฒนาองค์ความรู้ให้แบรนด์ไทยได้ใช้เครื่องมือที่จับต้องได้จริง

รูปภาพอ้างอิงจาก:

BIBF – Bangkok International Branding Festival (2024), เผยแพร่ผ่านเพจ Brand Buffet
เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/share/p/1B5Hertjfp/

ผู้บริหารแบรนด์สามารถติดตามข้อมูลชุดนี้ได้ค่ะ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่เผยแพร่จะครอบคลุมเฉพาะกลุ่มบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เป็นหลัก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณะอยู่แล้ว

และในปัจจุบันนี้ ยังมี สูตรการประเมินมูลค่าแบรนด์รุ่นใหม่ ที่เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี 2023 และต่อเนื่องมาถึงปี 2024 ได้แก่ BFV Model (Brand Future Valuation Model) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยกลุ่มบริษัท บารามีซี่ กรุ๊ป ร่วมกับ รศ.ดร.ณัฐพล อัสสะรัตน์

THE MOST BRAND FUTURE VALUATION 2024

รูปภาพอ้างอิงจาก:

BIBF – Bangkok International Branding Festival (2024), เผยแพร่ผ่านเพจ Baramizi Consultant
เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/share/p/15i6tkNS69/

โดยสูตรนี้เริ่มต้นจากการประเมินมูลค่าแบรนด์ใน อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นแบบ แต่ในรอบปี 2024 ทีมวิจัยได้ขยายการประเมินไปยังแบรนด์ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส, ร้านคาเฟ่, อาหารกระป๋อง ฯลฯ รวมแล้วมากกว่า 10 แบรนด์

จากผลลัพธ์ที่ได้ ทำให้เห็นว่าสูตรนี้สามารถใช้งานได้จริง และได้รับการยอมรับจากผู้บริหารและนักลงทุนเป็นอย่างดี โดยความโดดเด่นของ BFV Model มีอยู่ 3 ประการหลัก คือ:

  1. เป็นสูตรที่ใช้การผสมผสานน้ำหนักของตัวเลขทางการเงิน (รายได้) และมุมมองจากผู้บริโภคที่ได้จากการสำรวจเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้สามารถถอดรหัสการดำเนินงานที่ควรพัฒนาเพื่อนำไปสู่โอกาสการเพิ่มมูลค่าให้กับแบรนด์ได้อย่างชัดเจน
  2. เป็นสูตรที่ให้ค่ากับมูลค่าแบรนด์ที่จะเติบโตสู่อนาคต (ตามชื่อของ Brand Future Valuation) ไม่ใช่เพียงวัดค่าผลการดำเนินงานในอดีตเท่านั้น
  3. เป็นสูตรคำนวณที่ครอบคลุมคุณสมบัติของ “แบรนด์ที่ดี” อย่างครบถ้วน ได้แก้ แบรนด์ที่ดีจะขายของ ได้มากขึ้น, แบรนด์ที่ดีจะขายของได้แพงขึ้น และแบรนด์ที่ดีจะมีต้นทุนในการระดมทุนที่ถูกลง 

Brand Future Valuation Formula สูตรการคำนวณมูลค่าแบรนด์แห่งอนาคตโดย

รูปภาพอ้างอิงจาก:

Baramizi Consultant. (2024). Thailand Brand Superfans 2024 Insight Report
เข้าถึงได้จาก: https://www.baramizi-consultant.com/report

ทำให้สามารถได้รับการยอมรับและให้มุมมองการพัฒนาธุรกิจสำหรับผู้บริหารได้เป็นอย่างดีค่ะ

และทั้งหมดนี้ก็คือภาพรวมของวงการการประเมินตัวชี้วัดการสร้างแบรนด์ หรือ “การตรวจสุขภาพแบรนด์” ที่เรานำมาอัปเดตกันในครั้งนี้ค่ะ เป็นชุดความรู้สำหรับผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ให้กลายเป็น “สินทรัพย์ทางธุรกิจ” อย่างแท้จริง

ติดตามคอลัมน์ Future Brand Monitoring กันต่อเนื่องนะคะ รอดูกันซักนิดนึงว่าครั้งต่อไปเราจะเอาองค์ความรู้ส่วนไหนมาเจาะลึกกันเพิ่มเติมดี แล้วพบกันค่ะ

RECOMMEND

index วัดผลการสร้างแบรนด์
read more
04.07.2025 14

วัดผลการสร้างแบรนด์ยังไงให้ได้ผลลัพธ์ที่ทุกคนยอมรับ?

ก่อนจะเริ่มพูดเรื่องกลยุทธ์หรือเครื่องมือไหน ๆ ขอชวนคุณติดกระดุมเม็ดแรกให้ถูกก่อนนะคะ สำหรับเจ้าของธุรกิจที่เชื่อว่า “แบรนด์” คือสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ แต่มีมูลค่าสูงมหาศาล เราอยากให้คุณวางความลังเลทิ้งไว้ตรงนี้เลยค่ะ คำถามที่ว่า “จะลงทุนสร้างแบรนด์ดีไหม?” ขีดฆ่ามันทิ้งไปได้เลย เพราะแค่ยังลังเล ก็อาจทำให้คุณพลาดเกมใหญ่ไปแล้ว ✅ การลงทุนกับการสร้างแบรนด์คือสิ่งที่ถูกต้อง ✅ การสร้างแบรนด์ไม่จำเป็นต้องใช้งบเสมอไป เพราะการสร้างแบรนด์คือการควบคุมทุกจุดสัมผัสของลูกค้าให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพียงแค่มีเข็มทิศที่แม่นยำ และควบคุมทุกประสบการณ์ให้ไปในทิศทางนั้น หากมีงบ ก็สามารถเพิ่มพลังความสร้างสรรค์ให้แตกต่างจนลูกค้าจดจำได้ไม่รู้ลืม 🅾️ แต่สิ่งที่หลายคนยังไม่มั่นใจคือ “จะวัดผลแบรนด์อย่างไร?” ยอดขายขึ้นหมายถึงแบรนด์ดีหรือไม่? ถ้ายอดขายไม่ขึ้น แปลว่าแบรนด์แย่หรือเปล่า? เราเข้าใจความสับสนตรงนี้ดีค่ะ เพราะแม้แต่คนที่อยู่ในวงการแบรนด์มานาน ยังต้องกลับมาตั้งคำถามนี้กับตัวเองอยู่บ่อย ๆ Baramizi Lab กับการพัฒนาเครื่องมือวัดแบรนด์ Baramizi Lab (ซึ่งหมวกหนึ่งคือนักวิจัยเพื่อการพัฒนาแบรนด์) เข้าใจหัวอกห […]

Future of Cheese
read more
03.07.2025 86

Future of Cheese: ถอดรหัสกระแสอาหารโลกผ่านมุมมองชีส

ขนาดตลาดชีสโลกและไทย: โอกาสเติบโตที่ไม่ควรมองข้าม ตลาดชีสโลกกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่า 93.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2024 และคาดการณ์ว่าจะเติบโตด้วยอัตรา CAGR 5.08% จากปี 2025-2033 เพื่อไปสู่มูลค่า 153.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2033 ในขณะที่แหล่งข้อมูลอื่นคาดการณ์ว่าตลาดจะเติบโตไปสู่ 210.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2030 Global cheese market size projections showing steady growth from 2024 to 2030, with various forecasting models สำหรับตลาดไทย ชีสกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากมูลค่า 2,146.5 ล้านบาทในปี 2563 เติบโตเป็น 4,924.1 ล้านบาทในปี 2567 ซึ่งคิดเป็นการเติบโต 7.6% ในปีที่ผ่านมา การเติบโตนี้สะท้อนอัตรา CAGR 23.07% ระหว่างปี 2020-2024 แสดงให้เห็นถึงความนิยมที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วของชีสในตลาดไทย Thai cheese market showing dramatic growth from 2020 to 2024, with market value more than doubling สาเหตุที่ทำให้เกิดเทรนด์ชีส 1. อิทธิพลของโซเชียลมีเดีย การเติบโตของเทรนด์ชีสได้รับอิทธิพลอย่างมากจากโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะ TikTok ที่มี hashtag #cottagecheese ได้รับการดูมากกว่า 500 […]

แนวโน้มตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV Trends)
read more
02.07.2025 62

แนวโน้มตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV Trends) ปี 2025-2026

สรุปภาพรวมตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ในปี 2024 ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกทะลุ 17 ล้านคัน คิดเป็นกว่า 20% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ทั้งหมดทั่วโลก และคาดว่าในปี 2025 ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าจะเติบโตอย่างรวดเร็ว มียอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 22 ล้านคัน เติบโตสูงกว่า 25% เมื่อเทียบกับปีก่อน ราคาชุดแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้ามีความสามารถในการแข่งขันใกล้เคียงกับรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ขณะเดียวกัน โครงสร้างพื้นฐานด้านการชาร์จไฟฟ้าก็ขยายตัวอย่างรวดเร็ว สนับสนุนการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในวงกว้างมากขึ้น 1. ยอดขายและส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก ยอดขายในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าปี 2024 สูงกว่า 17 ล้านคัน เติบโต 25% เมื่อเทียบกับปี 2023 คิดเป็นกว่า 20% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ทั้งหมดทั่วโลก จีนเป็นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่สุด จำหน่ายรถ EV กว่า 11 ล้านคัน คิดเป็นเกือบ 50% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ในประเทศ และคิดเป็นเกือบสองในสามของยอดขาย EV โลก สหรัฐฯ มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าราว 1.6 ล้านคัน เติบโต 10% ยุโรปได้รับผลกระทบจากการถอนเงินอุดหนุน แต่ยังรักษาสัดส่วนยอดขายในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าไว้ที่ประมาณ 20% 2. แนวโน้มภูมิภาคและตลาดเกิด […]

ชาไทยไม่ใส่สี
read more
25.06.2025 175

เทรนด์ชาไทยไม่ใส่สี: การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย

แบรนด์ชั้นนำหลายแห่งประกาศผลิตชาไทยที่ไม่ใส่สี Sunset Yellow FCF ซึ่งเป็นสีสังเคราะห์ที่ทำให้ชาไทยดั้งเดิมมีสีส้มสดใส เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น การแข่งขันของแบรนด์ชั้นนำ คาเฟ่ อเมซอน นำหน้าเปิดขาย คาเฟ่ อเมซอน ได้ประกาศตัวเป็น “เจ้าแรก” ที่ขายชาไทยไม่ใส่สี โดยเริ่มขายเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2025 ภายใต้ชื่อ “Premium Thai Tea” ซึ่งคัดสรรใบชาอัสสัมคุณภาพดีจากจังหวัดน่าน ผ่านการเบลนด์สูตรพิเศษโดย Tea Master ให้รสชาติโทนวานิลลาหอมละมุน และหวานนุ่มแบบคาราเมลไลซ์ จำหน่ายในราคา 60 บาท ชาตรามือ เตรียมวางจำหน่ายในเดือนกรกฎาคม ชาตรามือ แบรนด์ชาไทยเก่าแก่กว่า 80 ปี เตรียมวางจำหน่าย “ชาไทยไม่ใส่สี” ภายในเดือนกรกฎาคม 2025 โดยใช้สูตรดั้งเดิมที่ตัดสีสังเคราะห์ Sunset Yellow ออกทั้งหมด พร้อมเปิดตัวเมนูใหม่ “ชาไทยสีธรรมชาติ” ในไตรมาส 3 ซึ่งใช้สีผสมอาหารจากธรรมชาติ เช่น แครอท ในการแต่งเติมสี เหตุผลเบื้องหลังการเปลี่ยนแปลง ปัญหาของสี Sunset Yellow FCF สี Sunset Yellow FCF เป็นสีผสมอาหารสังเคราะห์ที่ทำให้ชาไทยมีสีส้มสดใส อย่างไรก็ตาม สารนี้ถูกห้ามใช้หรือควบคุมการใช้ในหลายประเท […]

เทรนด์อสังหาริมทรัพย์ 2025
read more
20.06.2025 578

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในปี 2025: โอกาสและความท้าทายที่ต้องรู้

แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2025 จะมีสัญญาณการฟื้นตัวบางส่วน แต่ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ยังเผชิญกับแรงกดดันจากหลายด้าน ทั้งความผันผวนของดีมานด์–ซัพพลายในแต่ละเซกเมนต์ และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงเร็ว อย่างไรก็ตาม โครงการส่งเสริมการลงทุนและการท่องเที่ยวจากภาครัฐได้ช่วยประคองตลาดในบางพื้นที่ให้ค่อย ๆ ฟื้นตัว ยอดพรีเซลของ 10 บริษัทอสังหาฯ ชั้นนำในช่วงต้นปี 2025 อยู่ที่ 59,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% เทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) และ 7% จากไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) โดย โครงการคอนโดมิเนียม เป็นกลุ่มที่ผลักดันยอดขายได้มากที่สุด มูลค่ารวมกว่า 28,000 ล้านบาท เทรนด์อสังหาริมทรัพย์ที่ต้องรู้ในปี 2025 1. Digital Transformation & PropTech จากการวิเคราะห์และบริหารจัดการด้วยข้อมูลเรียลไทม์ ไปจนถึงการใช้ AI และ Big Data เพื่อคาดการณ์ความต้องการ — PropTech กลายเป็นเครื่องมือหลักในการแข่งขันและลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น 2. Smart Home Living ตลาดสมาร์ทโฮมทั่วโลกเติบโตอย่างรวดเร็ว และกำลังเป็น มาตรฐานใหม่ของที่อยู่อาศัยระดับกลางถึงบน โดยบริษัทไทยชั้นนำอย่าง แสนสิริ อนันดา และเอพี ต่างนำระบบอัจฉริยะเข้ามาในโครงการ 3. Green Bu […]

Subscription

เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เทรนด์และวิจัยต่อเนื่อง