Baramizi Lab logo

รู้จัก 9 เทรนด์ จากศาสตร์ “LIFESTYLE MEDICINE” ในยุคที่ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพเชิงป้องกันจากปรับวิถีชีวิต

รู้จัก 9 เทรนด์ จากศาสตร์ “LIFESTYLE MEDICINE” ในยุคที่ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพเชิงป้องกันจากปรับวิถีชีวิต

การดูแลสุขภาพที่เน้น “ป้องกัน” ไว้ก่อน..ดีกว่ามา “รักษา” ทีหลัง กำลังเป็นแนวคิดที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากกระแสความต้องการด้านการดูแลแบบครบองค์รวม (Holistic Wellness) ที่ให้ความสำคัญทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ไปพร้อมกัน รวมถึงความต้องการที่จะลดอัตราการป่วยของโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดีทั้งหลายของเรา จึงทำให้ Lifestyle Medicine เป็นหนึ่งในศาสตร์การป้องกันที่น่าจับตามองในอนาคต

Lifestyle Medicine เป็นแนวคิดของการปรับวิถีชีวิตที่ไม่ได้อาศัยแค่ความร่วมมือของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องอาศัยที่ตัวเราเองด้วยเช่นกันในการที่จะทำให้การปรับและเปลี่ยนพฤติกรรมในทั้ง 6 องค์ประกอบ ให้ดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่องและยั่งยืน

ซึ่งได้แก่ 1.การมีโภชนาการที่ดี 2.การออกกำลังกายสม่ำเสมอ 3.การจัดการกับความเครียดและอารมณ์ 4.การนอนหลับที่มีคุณภาพ 5.ความสัมพันธ์ต่อผู้คนรอบข้าง 6.การหลีกเลี่ยงสารอันตราย บุหรี่และแอลกอฮอลล์.

โดยการให้ความสำคัญกับการดูแลองค์ประกอบเหล่านี้ในชีวิต ทำให้ศาสตร์ทางการแพทย์อย่าง “Lifestyle Medicine” หรือ “เวชศาสตร์วิถีชีวิต” มีแนวโน้มที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายมิติชีวิตของผู้คนและสังคมมากขึ้น

เริ่มตั้งแต่ช่วยให้ผู้คนสามารถปรับพฤติกรรม เพื่อให้ห่างไกลโรค ไปจนถึงช่วยลดภาระของระบบสนับสนุนบริการทางการแพทย์ในสังคม จากโอกาสที่จะช่วยทำให้ผู้คนสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ  เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ข้อมูลว่าปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคเหล่านี้เป็นผลมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมของเราเอง ตั้งแต่ทานอาหารที่ไม่ดี, การขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย, การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงเรื่องของความเครียด

ทางข้อมูลจาก Global Wellness Institute (GWI) ได้ทำการคาดการณ์แนวโน้มเทรนด์แห่งอนาคต ที่เป็นผลเกี่ยวข้องกับการปรับและดูแล WELLBEING LIFESTYLE มาได้ทั้งหมด 9 เทรนด์ ได้แก่

1. Personalized Lifestyle Medicine: การดูแลวิถีชีวิตเฉพาะบุคคล 

ความก้าวหน้าในการตรวจประเมินทางชีวภาพ (Biomarkers) และกลยุทธ์การขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่แม่นยำ (Data-Driven) จะช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพต่อการแพทย์มากขึ้น โดยสามารถช่วยในการพิจารณาลักษณะทางพันธุกรรม นิสัยการใช้ชีวิต และสถานะสุขภาพของคนไข้แต่ละบุคคล ซึ่งตอบโจทย์ความแตกต่างของแต่ละบุคคลมากที่สุด

2.Technology and Digital Health: นวัตกรรมเทคโนโลยีและดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ

เหล่า Personal Devices อุปกรณ์สวมใส่ แอปพลิเคชัน รวมถึงโปรแกรมพัฒนาทักษะให้ความรู้ทางออนไลน์ จะยังคงถูกพัฒนามากยิ่งขึ้นและต่อเนื่องเพื่อแก้ปัญหา ติดตาม และสนับสนุนให้การปรับพฤติกรรมมีความต่อเนื่องและเห็นผลลัพธ์ที่ดี ถือเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นมาสนับสนุนเทรนด์ในเรื่อง Personalized Lifestyle Medicine ได้อย่างชัดเจน

3.Collaborative Care: การดูแลโดยร่วมมือจากทีมสหวิชาชีพ 

เวชศาสตร์การใช้ชีวิตเป็นสาขาสหสาขาวิชาชีพที่ต้องการความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ นักโภชนาการ นักกายภาพบำบัด ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ การบูรณาการที่มากขึ้นระหว่างสาขาวิชาเหล่านี้ถูกคาดหวังให้พัฒนามากยิ่งขึ้น เพื่อการมอบแนวทางด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีแบบองค์รวมของผู้คนในสังคม

4.Workplace Wellness: การให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ดีในที่ทำงาน

โปรแกรมสุขภาพที่ดีในออฟฟิศจะถูกพัฒนาต่อเนื่องและมีความเฉพาะตัวมากขึ้น จากสาเหตุของโรคภัยเรื้อรังที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น องค์กรทั้งหลายจึงลงทุนด้านสุขภาพในสถานที่ทำงานเพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี เพื่อป้องกันโรคเรื้อรังในกลุ่มพนักงาน

5.Social Determinants of Health and Health Equity: ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพและความเสมอภาคทางสุขภาพ

ปัจจัยที่กำหนดทางสังคมของสุขภาพ เช่น ความยากจน ที่อยู่อาศัย การศึกษา และการเข้าถึงอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกาย เป็นเรื่องที่ทางเวชศาสตร์วิถีชีวิต Lifestyle Medicine ต้องเกี่ยวข้องและจัดการอยู่แล้ว เพราะโรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และโรคอ้วน ส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้โดยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต

ศาสตร์นี้จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการส่งเสริมเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมด้านสุขภาพและลดความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ เพราะทำให้ทุกคนได้รับการเข้าถึงทรัพยากรและโอกาสที่จำเป็นสำหรับการมีสุขภาพที่ดี โดยไม่ต้องคำนึงถึงเชื้อชาติ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพ จากการส่งเสริมให้คนเข้าถึงเครื่องมือและความรู้ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการมีสุขภาพที่ยั่งยืน

6.The Military and Lifestyle Medicine: เวชศาสตร์วิถีชีวิตกับการทหาร

เวชศาสตร์วิถีชีวิตมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสุขภาพและความพร้อมของเหล่ากำลังพลทหารและสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลในกองทัพได้.

โดยกรณีตัวอย่าง:  กองทัพสหรัฐฯ ได้นำโมเดลนี้มาใช้เพื่อมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงการนอนหลับ กิจกรรม และโภชนาการ ส่งผลต่อการเพิ่มความพร้อมและประสิทธิภาพของทหาร 

– กองทัพเรือสหรัฐฯ มีโครงการที่คล้ายกันที่เรียกว่า Navy Operational Fitness and Fueling System (NOFFS) ซึ่งจัดหาทรัพยากรและคำแนะนำแก่กะลาสีเรือในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย และการป้องกันการบาดเจ็บ

– กองทัพยังตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพจิตซึ่งได้ดำเนินโครงการออกกำลังกายสำหรับทหารและครอบครัว เพื่อส่งเสริมความยืดหยุ่นและความเป็นอยู่ที่ดีทางอารมณ์

– นอกจากนี้การศึกษาชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Military Medicine พบว่าการสอดแทรกรูปแบบการใช้ชีวิต เช่น โปรแกรมการควบคุมน้ำหนักและการออกกำลังกาย สามารถนำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลและปรับปรุงความพร้อมได้อย่างมาก

7.Lifestyle Medicine in Education: เวชศาสตร์วิถีชีวิตในระบบการศึกษา

การพัฒนาเวชศาสตร์วิถึชีวิตในด้านการศึกษาอาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพต่อการส่งเสริมความเท่าเทียมด้านสุขภาพ โดยอาศัยวิธีการให้ความรู้และทักษะที่จำเป็นแก่นักเรียนเพื่อให้ใช้ในการตัดสินใจเลือกวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี 

-โดยกรณีตัวอย่าง:

– การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน: โรงเรียนและมหาวิทยาลัยสามารถพัฒนาหลักสูตรที่เป็นองค์รวมด้าน Lifestyle Medicine ทั้งหมดได้ โดยอาจจะครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด และการสนับสนุนทางสังคม และยังสามารถสอนนักเรียนเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยการดำเนินชีวิตและโรคเรื้อรังให้เข้าใจเพิ่มมากขึ้นได้ด้วย

– การฝึกอบรมสำหรับนักการศึกษา: การฝึกอบรมเพื่อนำ Lifestyle Medicine มาสามารถช่วยส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพในหมู่นักเรียน และเป็นตัวอย่างการเลือกรูปแบบการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพได้

– การบูรณาการเข้ากับหลักสูตรที่มีอยู่: Lifestyle Medicine สามารถบูรณาการเข้ากับหลักสูตรที่มีอยู่ได้ เช่น ชีววิทยา สุขศึกษา และพลศึกษา สิ่งนี้สามารถช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าปัจจัยการดำเนินชีวิตส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ได้อย่างไร

– การวิจัยและการประเมินผล: โรงเรียนและมหาวิทยาลัยสามารถทำการทดลองใช้ Lifestyle Medicine และประเมินประสิทธิผลได้ ซึ่งสิ่งนี้สามารถช่วยทำให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนต่อการปรับพฤติกรรม 

8.Lifestyle Medicine in Healthcare Systems: เวชศาสตร์วิถีชีวิตในระบบการบริการดูแลสุขภาพ

การนำโปรแกรมเวชศาสตร์วิถีการดำเนินชีวิตมาใช้ในระบบสุขภาพอย่างต่อเนื่องจะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับทั้งผู้ป่วยและผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ เพราะสามารถช่วยส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมด้านสุขภาพได้จากการให้ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องของการเลือกใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี ซึ่งจะทำให้ทุกคนห่างไกลโรคมากขึ้น เท่าเทียมด้านสุขภาพมากขึ้นจากการมีองค์ความรู้เหล่านี้ที่สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลได้

– โดยกรณีตัวอย่างที่อาจทำได้:

– การสนับสนุนให้ความรู้แก่ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพให้ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการให้การรักษาด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิตแก่ผู้ป่วย

– บูรณาการเข้ากับการดูแลทางคลินิกโดยผสมผสานกับการประเมินสุขภาพตามปกติและแผนการรักษา 

– การพัฒนาโปรแกรม Lifestyle Medicine : ระบบสุขภาพสามารถพัฒนาโปรแกรมทั้งรายบุคคลและกลุ่ม ให้สามารถปรับได้เหมาะกับความต้องการของกลุ่มผู้ป่วยเฉพาะ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือโรคหัวใจ

– การใช้เครื่องมือด้านสุขภาพแบบดิจิทัล : สามารถใช้เพื่อสนับสนุน Lifestyle Medicine ได้ เช่น แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยติดตามการออกกำลังกายหรือการรับประทานอาหารได้

– ระบบสุขภาพสามารถร่วมมือกับองค์กรชุมชนเพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี ตัวอย่างเช่น ทำงานร่วมกับตลาดเกษตรกรในท้องถิ่นเพื่อจัดหาอาหารเพื่อสุขภาพ หรือร่วมมือกับศูนย์ออกกำลังกายเพื่อเสนอส่วนลดค่าสมาชิกยิม

– การประเมินผลลัพธ์: ระบบสุขภาพควรประเมินผลลัพธ์เพื่อพิจารณาประสิทธิผล และรับประกันได้ว่าจะมีการดำเนินการต่อเนื่อง 

9.New Research in Lifestyle Medicine: การพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิต

ปัจจุบันงานวิจัยใหม่ด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิตกำลังค้นหาว่าวิธีการดำเนินชีวิตสามารถนำมาใช้ในการป้องกันและรักษาโรคเรื้อรังและส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวมได้อย่างไรบ้าง จากการทำความเข้าใจกลไกที่การแทรกอยู่ในทุกรูปแบบของการใช้ชีวิต ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาและเข้าใจรูปแบบเหล่านั้นอย่างประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถช่วยส่งเสริมความเท่าเทียมด้านสุขภาพด้วยเช่นกัน

 

Key Takeaway

ทั้ง 9 เทรนด์เหล่านี้ เกิดขึ้นจากแนวโน้มความต้องการของผู้คนและสังคมปัจจุบันที่ให้ความสำคัญ กับการดูแลให้มีสุขภาวะที่ดีในทุกมิติ เริ่มตั้งแต่ (1) การให้ความสำคัญที่ตนเอง โดยการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทุกมิติ (2) การให้องค์ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง (3) การ R&D เพื่อหาแนวทางใหม่ ๆ (4) การกำหนดนโยบายที่เหมาะสม.

ซึ่งเหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องสนับสนุนและผลักดันให้ “การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลายเป็น…ยา” เข้าไปอยู่ในชีวิตของผู้คนอย่างทำได้จริง มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน รวมถึงยังสามารถทำให้เกิดเป็นโอกาสของภาคธุรกิจที่ทุกคนเลือกจุดยืนได้ว่าธุรกิจของเรามีโอกาสที่จะอยู่ส่วนไหนในขั้นการพัฒนาเหล่านี้ได้บ้าง

เรียบเรียง: กรภัทร คงโชคชัย

แหล่งอ้างอิง

https://globalwellnessinstitute.org/…/medical-wellness…/

https://www.bdmswellness.com/knowledge/lifestyle-medicine

https://www.bdmswellness.com/…/6-healthy-lifestyles-as…

https://www.bdmswellness.com/…/what-is-preventive-medicine

https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1117939

https://www.sdgmove.com/…/social-determinants-of…/

หนังสือ Future Trend Ahead 2024

#Lifestylemedicine #Health #baramizilab

RECOMMEND

read more
30.09.2024 45

วัฒนธรรมกินเจ กับตลาดโปรตีนทางเลือก (Alternative Protein)

เทศกาลกินเจปีนี้ตรงกับช่วงวันที่ 3 ต.ค. – 11 ต.ค. 2567 เป็นระยะเวลา 9 วัน ที่คนไทยจำนวนหนึ่งเลือกที่จะ “กินเจ” คืองดบริโภคเนื้อสัตว์ โดยกินเจมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย ทั้งกินเจเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น, กินเจเพื่อทำบุญ และกินเจเพื่อละเว้นกรรม (ที่เกิดจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต) โดยประมาณการ เม็ดเงินค่าใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ช่วงเทศกาลกินเจน่าจะมีมูลค่าหลายพันล้านบาท อย่างไรก็ตาม นอกจากเทศกาลกินเจที่เกิดขึ้นแล้วจบในช่วงไม่กี่วันในหนึ่งปี เรายังมีไลฟ์สไตล์การงดบริโภคเนื้อสัตว์ที่กินประจำตลอดทั้งปี โดยมีหลากหลายชื่อเรียก ไม่ว่าจะเป็น กินเจ (ที่กินได้หลายแบบ) กินมังสวิรัติ กินแบบวีแกน เหล่านี้มีข้อบังคับการกินที่แตกต่างกันไป ข้อมูลจากชุดข้อมูลวิจัยเทรนด์ Future Food Business Trends 2025 โดยศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซ็ปต์แห่งอนาคต บารามีซี่ แล็บ มีข้อมูลว่า มีคนไทยไม่กินเนื้อสัตว์ 7.8% ของประชากรทั้งหมด จากข้อมูลตลาดดังกล่าวทำให้มองเห็นโอกาสของธุรกิจโปรตีนทางเลือก (Alternative Protein) คือการกินโปรตีนทางเลือกเข้ามาแทนโปรตีนแบบดั้งเดิมที่ผลิตจากระบบปศุสัตว์ ซึ่งอาจประกอบไปด้วยโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว […]

read more
18.09.2024 82

อุตสาหกรรมเกมขาขึ้น กับโอกาสของประเทศไทย

ในช่วงไม่นานมานี้ คอเกมส์น่าจะกำลังเพลิดเพลินอยู่กับเกมส์ Black Myth: Wukong เกม Action RPG ฟอร์มยักษ์ที่ดัดแปลงจากวรรณกรรมคลาสสิคชื่อดังของจีน “ไซอิ๋ว” (Journey to the West)  ล่าสุด ทา Stream DBได้ระบุว่า Black Myth: Wukong กวาดยอดผู้เล่นได้กว่า 1 ล้านคน หลังเปิดให้เล่นภายในระยะเวลาเพียง 30 กว่านาที ถือว่าได้รับความนิยมสูง ตอกย้ำกระแสและความน่าสนใจของเกมนี้ได้เป็นอย่างดี ตลาดเกมส์ทั่วโลกกำลังเติบโต 2.1% จากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว ตลาดเกมส์จะสร้างรายได้ 187.7 พันล้าน $ ในปี 2024 โดยเกมส์คอมพิวเตอร์มีมูลค่า 43.2 พันล้าน $ มีสัดส่วนที่ 23% เกมส์จากเครื่องเล่นเกมส์ (Console) 51.98 พันล้าน $ ด้วยสัดส่วน 28%  ในขณะที่เกมส์มือถือขนาด 92.6 พันล้าน $  กินส่วนแบ่ง 49% อีกหนึ่งสัญญาณที่เป็นตัวชี้วัดการเติบโตของอุตสาหกรรมเกม คือ ‘โพนี่ หม่า’ ซีอีโอ ‘เทนเซ็นต์’ คืนบัลลังก์ ‘มหาเศรษฐีอันดับหนึ่ง’ ของจีนอีกครั้ง! ด้วยทรัพย์สินสุทธิสูงถึง 44,000 ล้านดอลลาร์ (มั่งคั่ง 1.4 ล้านล้านบาท) แซงหน้า “จงซานซาน” เจ้าของแบรนด์น้ำแร่ หนงฟู่ (Nongfu Spring) ที่หล่นไปอยู่ดันดับ 2 ซึ่งปัจจัยหนึ่งคือ […]

Baramizi Lab
read more
17.09.2024 158

อนาคตของอุตสาหกรรมเนื้อหมู: แนวโน้มและโอกาสที่น่าตื่นเต้น

ในปี 2025 อุตสาหกรรมปศุสัตว์จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะในวงการเนื้อหมู ซึ่งเป็นผลมาจากการวิจัยร่วมกันระหว่าง Baramizi Lab และ Zoetis บริษัทเวชภัณฑ์สัตว์ระดับโลก การวิจัยนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้อุตสาหกรรมอาหารเติบโต แต่ยังเปิดโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างแบรนด์สำหรับธุรกิจสินค้าเกษตรและสินค้าแปรรูปจากเนื้อหมูอีกด้วย 1. ผู้บริโภคทานเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ ผู้บริโภคในปัจจุบันให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น อุตสาหกรรมเนื้อหมูจึงต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น เนื้อหมูที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ และมีสารอาหารอย่างโอเมกา 3 ตัวอย่างเช่น ไส้กรอกโอเมกา 3 จาก Wampler’s farm ที่ช่วยเพิ่มคุณค่าด้วยกรดไขมันโอเมกา 3 ของ DHA และ EPA ซึ่งสนับสนุนการพัฒนาของหัวใจและสมอง หรือแพลตฟอร์ม Hakko Hub ที่สนับสนุนการหมักเนื้อสัตว์ ทำให้เนื้อสัตว์ย่อยง่ายขึ้น และเพิ่มความเข้มข้นของวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบี และธาตุเหล็ก 2. ผู้บริโภคทานเพื่อรับประสบการณ์แปลกใหม่ รสชาติและรูปลักษณ์ที่แปลกใหม่กำลังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค วงการอาหารจึงพัฒนาสินค้าและประสบการณ์ให้ครอบคลุมชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่น ก […]

Superfansindex.com
read more
13.09.2024 218

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแบรนด์เราสุขภาพดีแค่ไหน?

ในหลายๆ ธุรกิจมักจะนึกถึงยอดขายที่จะทำให้รู้สึกว่าแบรนด์เรายังมีลูกค้าซึ่งก็ส่งผลต่อสุขภาพของแบรนด์ได้เช่นเดียวกัน แต่แท้ที่จริงแล้วแบรนด์คุณอาจจะสุขภาพไม่ดีก็ได้ เหมือนร่างกายคนถ้าไม่ไปตรวจสุขภาพเราก็จะไม่รู้ว่าข้างในร่างกายเป็นอย่างไร ทั้งๆ ที่ภายนอกเรายังรู้สึกปกติอยู่  เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเกิดปัญหา และอาจส่งผลให้ปัญหานั้นลามใหญ่โตซึ่งต้องใช้ทั้งเงินและเวลาในการแก้ไข การวิจัยตรวจสอบสุขภาพแบรนด์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์ควรจะทำอย่างต่อเนื่อง เปรียบเหมือนการเอ๊กซเรย์แบรนด์…เพราะหากรู้ก่อนย่อมสามารถแก้ปัญหาได้เร็วกว่า จากภาพข้างต้นหากทุกแท่งมีฐานที่กว้าง การันตีได้เลยว่าแบรนด์คุณสุขภาพดี เพราะการลงงบไปกับสื่อหรือการสร้างประสบการณ์นั้นสามารถได้ใจลูกค้าจนเกิดความเป็น Superfans ได้ (ความเป็น Superfans ของแบรนด์ คือ ขั้นสุดที่แบรนด์ควรไปให้ถึงและเก็บให้ได้มากที่สุด หรือที่เราเรียกว่า สาวกของแบรนด์)  รูปแบบการตรวสอบสุขภาพแบรนด์  โดยทั่วไปสามารถพบได้ 3 รูปแบบ 1.การวิจัยเพื่อตรวจสอบรายปี  เหมาะสำหรับแบรนด์/ องค์กรที่มีการลงงบการตลาด การทำแคมเปญต่างๆ ในช่วงระหว่างปี เพื่อให้เราสามารถรู้ได้ว่ารู […]

read more
11.09.2024 190

ตลาด Sustainable Fashion กับการเติบโต 22.9% ต่อปี

Sustainable Fashion หรือ แฟชั่นแบบยั่งยืนที่เคยเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ในอุตสาหกรรมแฟชั่นโดยรวม กำลังได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วเนื่องจากผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและจริยธรรมมากขึ้น ในปี 2024 ตลาดแฟชั่นยั่งยืนระดับโลกมีมูลค่า 8.1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2024 และคาดว่าจะเติบโตถึง 33.1 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2033 ด้วยอัตรา CAGR 22.9% ในช่วงคาดการณ์ปี 2024 – 2033 แม้ว่าจะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ผลกระทบของแฟชั่นยั่งยืนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากแบรนด์และผู้ค้าปลีกรายใหญ่ต่างนำแนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนเข้ามาใช้ในธุรกิจของตน การเพิ่มขึ้นของแบรนด์แฟชั่นยั่งยืน ร่วมกับการนำโครงการริเริ่มสีเขียวมาใช้โดยบริษัทที่จัดตั้งขึ้นแล้ว กำลังผลักดันตลาดให้ก้าวไปข้างหน้า พร้อมแรงหนุนจากความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม อุตสาหกรรมแฟชั่นยั่งยืนมีโอกาสอีกมากมาย เช่น ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคที่ต้องการความโปร่งใสในกระบวนการผลิตและการจัดหาวั […]

Subscription

เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เทรนด์และวิจัยต่อเนื่อง