Baramizi Lab logo

PSYCHOLOGICAL SEGMENTATION 5 เรื่องน่ารู้กับ PSYCHOLOGICAL SEGMENTATION

PSYCHOLOGICAL SEGMENTATION 5 เรื่องน่ารู้กับ PSYCHOLOGICAL SEGMENTATION

การทำ Segmentation คือการแบ่งคนที่มีความต้องการ (Needs/ Want) หรือแรงจูงใจ (Motivation) ในการเลือกสินค้าของแต่ละประเภท และหลายคนคงรู้จักรูปแบบการแบ่ง Segmentation กันบ้างแล้วว่ามีกี่รูปแบบ

รูปแบบที่ 1 Demographic Segmentation เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้ เป็นต้น

รูปแบบที่ 2 Geographic Segmentation เช่น ตำแหน่งที่อยู่ ภูมิภาค เป็นต้น

รูปแบบที่ 3 Behavioral Segmentation เช่น พฤติกรรมการซื้อ ความถี่ที่ซื้อ เป็นต้น

รูปแบบที่ 4 Psychological Segmentation เช่น ทัศนคติ รูปแบบการใช้ชีวิต ค่านิยมเป็นต้น

โดยในเนื้อหานี้จะทำให้ทุกท่านได้เห็นว่า  PSYCHOLOGICAL SEGMENTATION มีความสำคัญมากน้อย หรือมีประโยชน์อย่างไรต่อธุรกิจ/ แบรนด์

 

1.Psychological Segmentation ช่วยบอกธุรกิจว่าควรเดินอย่างไร?

Psychological Segmentation ช่วยบอกธุรกิจว่าควรเดินอย่างไร

แน่นอนว่าเมื่อเราต้องผลิตสินค้าหรือสร้างโครงการอะไรสักอย่าง สิ่งสำคัญคือการศึกษาภาพรวมหรือทำวิจัยว่าสิ่งที่เราจะผลิตหรือโครงการที่เราจะทำมีโอกาสในการขายได้หรือไม่อย่างไร ซึ่งเราต้องหาจุดคุ้มทุน(ROI) และ 1 ในการวิจัยที่เราควรทำ คือ การหา Segment ในรูปแบบ Psychological Segmentation ที่เป็นการเชิงเจาะลึกถึงถึงรูปแบบของว่าที่ลูกค้าเราในอนาคต โดยข้อมูลที่ได้จะทำให้เห็นว่าธุรกิจเรามีรูปแบบ Segment กี่รูปแบบ และแต่ละ Segment มีพฤติกรรมอย่างไร

ข้อมูลนี้เรามักจะนำมาใช้กำหนดกลยุทธ์ต่อไป โดยแบรนด์/ ธุรกิจต้องเลือกกลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มเป้าหมายที่เราเลือกนั้น เราควรสร้างประสบการณ์อย่างไรให้จับใจ หรือโดนใจกลุ่มคนเหล่านี้

 

2. Psychological Segmentation มีความสำคัญมากขึ้นเพราะมีการบริโภคแบบ Bi-Polar Consumption

Psychological Segmentation มีความสำคัญมากขึ้นเพราะมีการบริโภคแบบ Bi-Polar Consumption

ด้วยโลกที่เปิดกว้าง อินเทอร์เน็ตเข้าถึงทุกคนทำให้คนเริ่มเข้าใจตัวเองและหาสิ่งสังคมที่ตรงกับความชื่นชอบของตัวเอง การเดินทางที่ง่ายขึ้นทำให้ผู้บริโภคมีประสบการณ์ที่แตกต่าง ทำให้เกิดความคิด หรือความสนใจที่แตกต่างกันไป ดังนั้นทำให้การแบ่งกลุ่มด้วย Psychological Segmentation จึงมีความสำคัญมากขึ้น ประกอบกับสมัยปัจจุบันมีการบริโภคแบบ Bi-Polar Consumption คือ การบริโภคที่ไม่เป็นไปตามปกติตามอดีตที่ผ่านมา จึงทำให้การกำหนด Segmentation ควรเริ่มมองที่ Psychological Segmentation มากกว่า Segment รูปแบบอื่นๆ

 

3.Psychological Segmentation สามารถนำไปใช้ได้จริง และสามารถนำไปต่อยอดได้

Psychological Segmentation สามารถนำไปใช้ได้จริง และสามารถนำไปต่อยอดได้

โดยปกติหากเราทำวิจัยกับผู้คนเราก็จะสามารถเรียนรู้พฤติกรรม ความต้องการ ไลฟสไตล์ ได้ แต่หากเรานำเสนอในรูปแบบเชิงสถิติเพียงอย่างเดียว เช่น สัดส่วนของเพศ สัดส่วนของรายได้ เพื่อทำให้เห้นภาพรวม เราอาจจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ต่อยาก แต่หากเราแบ่งกลุ่มที่เราเห็นว่าเค้ามี Needs/ Want มีความชอบ มีไลฟ์สไตล์ หรือมีทัศนคติต่อเรื่องนั้นๆ เหมือนกัน เราจะได้ Psychological Segmentation ซึ่งข้อมูลนี้ทำให้เกิดการนำไปใช้ต่อหรือต่อยอดได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ให้แบรนด์/ธุรกิจ (เพราะรากฐานที่สำคัญของการกำหนดกลยุทธ์แบรนด์ที่ควรคือ การหา STP) และนอกจากนี้เรายังสามารถนำไปต่อยอดในเชิงของการทำการตลาด Inbound Marketing  โดยเราสามารถสร้างสรรค์เนื้อหา (Content) หรือพัฒนาประสบการณ์ด้านต่างๆ ที่สอดรับกับคุณค่าแบรนด์ ที่จะดึงดูดกลุ่มคนเหล่านี้เข้ามาหาแบรนด์/ ธุรกิจของเรา เช่น เราจะรู้ว่าเราต้องใช้ Keyword แบบใดเพื่อดึงดูดกลุ่มคนเหล่านี้มา รวมถึง Channel ต่างๆ ที่เราจะเลือกใช้ในการเข้าถึงคนเหล่านี้

 

4. Psychological Segmentation ทำได้ทุกส่วนงานภายในองค์กร(แม้กระทั่ง HR ในองค์กร) 

Psychological Segmentation ทำได้ทุกส่วนงานของภายในองค์กร

การหา Segmentation เราสามารถทำได้ตั้งแต่ การทำในระดับภาคใหญ่ของประเทศ เช่น การหา Segmentation นักท่องเที่ยวของผู้บริโภคชาวไทย (กรณีศึกษาใน VDO Seminar)  การทำในระดับลูกค้าขององค์กร (ซึ่งอาจจะเป็นหน่วยงานฝ่ายสื่อสารองค์กร หรือหน่วยงานที่ขับเคลื่อนองค์กรที่ดูแลส่วนนี้) การทำในกรณีต้องการสร้างโครงการใหม่  (หน่วยงานที่เป็น Product Development หรือ Business Development) การทำในกรณีออกสินค้าใหม่ หรือแม้กระทั้งการทำในระดับพนักงานภายในองค์กร

5. Psychological Segmentation สามารถหาได้โดยใช้กระบวนการวิจัยที่สอดรับกับประเภทธุรกิจ 

Psychological Segmentation สามารถหาได้โดยใช้กระบวนการวิจัยที่สอดรับกับประเภทธุรกิจ

การเก็บข้อมูลเราสามารถใช้วิธีการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณได้ (ยิ่งถ้าได้ข้อมูลเชิงปริมาณก็จะทำให้ข้อมูล Solid มากขึ้น) ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบประเภทธุรกิจว่ามีความ Mass Market หรือ Niche Market และเป็นกลุ่มลูกค้าประเภท B2B หรือ B2C

ซึ่งหากเป็นธุรกิจที่ซับซ้อน เช่น ลูกค้าเป็น B2B และ Niche Market เราสามารถเลือกใช้กระบวนการวิจัยแบบ Traditional Research คือ การทำ Face to Face Interview หรือ In-depth Interview แต่หากเป็นลูกค้าที่ Mass Market (กลุ่มลูกค้าที่เป็น B2C) สามารถใช้เครื่องมือวิจัยแบบออนไลน์ได้ เช่น เครื่องมือ Online Poll (สอดรับกับสถานการณ์ Covid-19 และสามารถทำได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น สะดวกขึ้น)

เรียนรู้เพิ่มเติมเครื่องมือ Online Poll

หากท่านใดต้องการ Service ด้านการทำ Psychological Segmentation สามารถติดต่อได้ที่ คุณป่าน 085-5469664 

สำหรับท่านใดที่ต้องการทำความเข้าใจเรื่อง Psychological Segmentation สามารถรับชม VDO สัมมนาออนไลน์ (ย้อนหลัง)

#Segmentation #PsychologicalSegmentation #OnlinePoll #BipolarConsumption #BrandStrategy

 

RECOMMEND

Superfansindex.com
read more
13.09.2024 33

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแบรนด์เราสุขภาพดีแค่ไหน?

ในหลายๆ ธุรกิจมักจะนึกถึงยอดขายที่จะทำให้รู้สึกว่าแบรนด์เรายังมีลูกค้าซึ่งก็ส่งผลต่อสุขภาพของแบรนด์ได้เช่นเดียวกัน แต่แท้ที่จริงแล้วแบรนด์คุณอาจจะสุขภาพไม่ดีก็ได้ เหมือนร่างกายคนถ้าไม่ไปตรวจสุขภาพเราก็จะไม่รู้ว่าข้างในร่างกายเป็นอย่างไร ทั้งๆ ที่ภายนอกเรายังรู้สึกปกติอยู่  เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเกิดปัญหา และอาจส่งผลให้ปัญหานั้นลามใหญ่โตซึ่งต้องใช้ทั้งเงินและเวลาในการแก้ไข การวิจัยตรวจสอบสุขภาพแบรนด์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์ควรจะทำอย่างต่อเนื่อง เปรียบเหมือนการเอ๊กซเรย์แบรนด์…เพราะหากรู้ก่อนย่อมสามารถแก้ปัญหาได้เร็วกว่า จากภาพข้างต้นหากทุกแท่งมีฐานที่กว้าง การันตีได้เลยว่าแบรนด์คุณสุขภาพดี เพราะการลงงบไปกับสื่อหรือการสร้างประสบการณ์นั้นสามารถได้ใจลูกค้าจนเกิดความเป็น Superfans ได้ (ความเป็น Superfans ของแบรนด์ คือ ขั้นสุดที่แบรนด์ควรไปให้ถึงและเก็บให้ได้มากที่สุด หรือที่เราเรียกว่า สาวกของแบรนด์)  รูปแบบการตรวสอบสุขภาพแบรนด์  โดยทั่วไปสามารถพบได้ 3 รูปแบบ 1.การวิจัยเพื่อตรวจสอบรายปี  เหมาะสำหรับแบรนด์/ องค์กรที่มีการลงงบการตลาด การทำแคมเปญต่างๆ ในช่วงระหว่างปี เพื่อให้เราสามารถรู้ได้ว่ารู […]

read more
11.09.2024 39

ตลาด Sustainable Fashion กับการเติบโต 22.9% ต่อปี

Sustainable Fashion หรือ แฟชั่นแบบยั่งยืนที่เคยเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ในอุตสาหกรรมแฟชั่นโดยรวม กำลังได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วเนื่องจากผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและจริยธรรมมากขึ้น ในปี 2024 ตลาดแฟชั่นยั่งยืนระดับโลกมีมูลค่า 8.1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2024 และคาดว่าจะเติบโตถึง 33.1 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2033 ด้วยอัตรา CAGR 22.9% ในช่วงคาดการณ์ปี 2024 – 2033 แม้ว่าจะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ผลกระทบของแฟชั่นยั่งยืนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากแบรนด์และผู้ค้าปลีกรายใหญ่ต่างนำแนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนเข้ามาใช้ในธุรกิจของตน การเพิ่มขึ้นของแบรนด์แฟชั่นยั่งยืน ร่วมกับการนำโครงการริเริ่มสีเขียวมาใช้โดยบริษัทที่จัดตั้งขึ้นแล้ว กำลังผลักดันตลาดให้ก้าวไปข้างหน้า พร้อมแรงหนุนจากความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม อุตสาหกรรมแฟชั่นยั่งยืนมีโอกาสอีกมากมาย เช่น ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคที่ต้องการความโปร่งใสในกระบวนการผลิตและการจัดหาวั […]

read more
11.09.2024 61

ทิศทาง Food delivery ทั้งไทยและต่างประเทศ

ตลาด Food Delivery ในไทยปี 2567 ยังมีเทรนด์ที่ลดลงต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้มีการประเมินว่าในปี 2567 มูลค่าตลาด Food Delivery จะอยู่ที่ประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท  หรือหดตัว 1.0% จากปี 2566 แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการสั่งอาหารเฉลี่ยต่อครั้งน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น (Price per Order) ประมาณ 2.8% จากค่าเฉลี่ยในปี 2566 หรือ มีราคาเฉลี่ยประมาณ 185 บาทต่อครั้งของการสั่ง ซึ่งจะมีผลตามมาต่อทั้งจำนวนครั้งและปริมาณการสั่งให้ลดลง ปัจจุบัน ตลาด Food Delivery ในหลายประเทศกำลังเผชิญกับแนวโน้มขาลงไม่ต่างจากประเทศไทย แม้ว่าจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเห็นการเติบโตชะลอตัวเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงและต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น ส่งผลให้บริการต้องปรับราคาให้สูงขึ้นเพื่อรักษากำไร ขณะที่ในญี่ปุ่น การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการจัดส่งและการแข่งขันจากผู้เล่นหลายราย ทำให้บริษัทฟู้ดเดลิเวอรี่ต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดและกำไร  การเติบโตของตลาด Food Delivery ทั่วโลก รายได้ในตลาดบริการจัดส่งอาหารออนไลน์คาดว่าจะสูงถึง 1.22 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567 แล […]

read more
06.09.2024 121

ตลาด Sustainable Dining กับการเติบโต 6.9% ต่อปี

Sustainable Dining หรือ การรับประทานอาหารอย่างยั่งยืนหมายถึงการเลือกอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม แนวทางการรับประทานอาหารนี้เน้นที่การบริโภคอาหารที่ผลิตและเตรียมในลักษณะที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่น การรับประทานอาหารอย่างยั่งยืนอาจเกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติต่างๆ เช่น การเลือกส่วนผสมจากแหล่งท้องถิ่นและออร์แกนิก การลดขยะอาหาร การเลือกอาหารจากพืชและการสนับสนุนร้านอาหารและธุรกิจที่ยึดมั่นในแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน เป้าหมายหลักคือการสร้างระบบอาหารที่สามารถรักษาคนรุ่นต่อไปได้โดยไม่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติหมดสิ้นหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบนิเวศ โดยมูลค่าตลาดอาหารที่ยั่งยืนมีมูลค่า 1,066.2 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2023 และคาดว่าจะถึง 1,945.38 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2032 โดยเติบโตที่อัตรา CAGR 6.91% ตั้งแต่ปี 2024-2032 แนวโน้มเหล่านี้สะท้อนถึงการเคลื่อนไหวที่กว้างขึ้นสู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งขับเคลื่อนโดยความต้องการของผู้บริโภคและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เมื่อการรับประทานอาหารที่ยั่งยืนกลายเป็นกระแสหลักมากขึ้น จึงมีศัก […]

read more
06.09.2024 125

Urban Farming การทำเกษตรในเมือง

ในขณะที่เมืองทั่วโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความจำเป็นในการหาแหล่งอาหารที่ยั่งยืนก็มีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม การทำเกษตรในเมือง ซึ่งเคยเป็นเพียงแค่แนวคิดเล็กๆ กำลังกลายเป็นขบวนการที่ทรงพลังซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการที่เราคิดเกี่ยวกับการผลิตอาหารและการใช้ชีวิตในเมือง โดยการเปลี่ยนหลังคาอาคาร ที่ดินว่างเปล่า หรือแม้แต่ระเบียงเล็กๆ ให้กลายเป็นพื้นที่การเกษตรที่เจริญรุ่งเรือง การทำเกษตรในเมืองเสนอโซลูชั่นใหม่สำหรับการแก้ปัญหาที่สำคัญที่สุดที่เมืองสมัยใหม่กำลังเผชิญ การทำเกษตรในเมืองคืออะไร การทำเกษตรในเมือง หรือ Urban Farming คือ การปลูกอาหารภายในสภาพแวดล้อมของเมือง โดยมักใช้พื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ แตกต่างจากการเกษตรแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้พื้นดินในชนบทอย่างกว้างขวาง การทำเกษตรในเมืองสามารถผสมผสานเข้ากับพื้นที่ของเมืองได้ ซึ่งอาจหมายถึงทุกอย่างตั้งแต่สวนชุมชนในที่ดินว่าง ไปจนถึงฟาร์มแนวตั้งบนด้านข้างของอาคารหรือระบบไฮโดรโปนิกส์ในห้องใต้ดิน ประโยชน์ของการทำเกษตรในเมือง ความยั่งยืนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การทำเกษตรในเมืองมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความยั่งยืน การผลิตอาหารในท้องถิ่ […]

Subscription

เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เทรนด์และวิจัยต่อเนื่อง