Baramizi Lab logo

ภาพยนตร์หลานม่าฟีเวอร์กับแนวโน้มการอยู่อาศัยในครอบครัวหลายช่วงวัย

ภาพยนตร์หลานม่าฟีเวอร์กับแนวโน้มการอยู่อาศัยในครอบครัวหลายช่วงวัย

นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักภาพยนตร์เรื่อง ‘หลานม่า’ หรือในชื่อภาษาอังกฤษที่ว่า ‘How To Make Millions Before Grandma Die’ หนังล่าสุดจากค่าย GDH 559 กำกับและเขียนบทโดย พัฒน์ บุญนิธิพัฒน์ นำแสดงโดย พุฒิพงศ์ อัศรัตนกุล และอุษา ตะเข็บคุ้ม ภาพยนตร์เรื่องหลานม่าเข้าฉาย เพียง 14 วันแรกก็ทำรายได้ไปทั่วประเทศถึง 250 ล้านบาท ต่อมาสร้างสถิติเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลอันดับที่ 11 โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ทำลายสถิติบ็อกซ์ออฟฟิศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

ปัจจุบันภาพยนตร์หลานม่ากวาดรายได้ในแต่ละประเทศในเอเชียไปได้อย่างท่วมท้น ประกอบไปด้วยประเทศไทย 337 ล้านบาท, มาเลเซีย 116 ล้านบาท, อินโดนีเซีย 412 ล้านบาท, สิงคโปร์ 91 ล้านบาท, ฟิลิปปินส์ 42 ล้านบาท, เวียดนาม 81 ล้านบาท, ฮ่องกง 6.5 ล้านบาท และลาว 3 ล้านบาท กวาดรายได้ทั่วโลกสุทธิ 1,088.5 ล้านบาทหลังจากที่ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ยังถือเป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 3 ที่สามารถทำรายได้ทะลุ 1 พันล้านบาทหลังจากที่ภาพยนตร์เรื่อง ‘พี่มากพระโขนง’ และ ‘ฉลาดเกมส์โกง’

เนื้อเรื่องตราตรึงใจทั้งเด็กรุ่นใหม่และผู้ใหญ่ทุกรุ่น

หลานม่า เป็นเรื่องราวที่มาจากประสบการณ์จริงของผู้กำกับที่มาจากสังคมครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนเหมือนกับครอบครัวของเหล่าตัวละครในเรื่อง โดยเนื้อเรื่องจะเล่าถึง ‘เอ็ม’ (รับบทโดย บิวกิ้น พุฒิพงศ์) ที่ตัดสินใจดร็อปเรียนตอนปีสี่ เพื่อมาเอาดีทางด้านแคสต์เกม แต่ทำยังไงก็ไม่รวยเสียที แต่เมื่อเห็น ‘มุ่ย’ (รับบทโดย ตู ต้นตะวัน) ลูกพี่ลูกน้องที่ดูแลอากงที่ป่วยระยะสุดท้ายจนได้รับมรดก เอ็มจึงตัดสินใจมาดูแล ‘อาม่า’ (รับบทโดย อุษา เสมคำ) ที่ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายและน่าจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่เกินปี โดยหวังว่าอาม่าจะยกมรดกหลักล้านเช่นกัน

หนังเรื่องนี้เป็นความตั้งใจของ พัฒน์ บุญนิธิพัฒน์ ผู้กำกับที่อยากสะท้อนความเป็นจริงที่ดูแล้วไม่น่าเบื่อ ไม่ดราม่าเกินไป วิธีการเล่าเรื่องจึงดูสมจริง เป็นธรรมชาติ และบางคำพูดอาจทำให้หลายคนนึกถึงครอบครัวตัวเอง

หลานม่าฟีเวอร์กับการอยู่ร่วมกันในครอบครัวหลายช่วงวัย

ภาพยนตร์มักมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อค่านิยมและกระแสทางสังคมเสมอ ความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องหลานม่า ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างอาม่ากับหลาน มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถมีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้ชมต่อการใช้ชีวิตในครอบครัวหลายช่วงอายุได้ ภาพยนตร์สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ชมได้ตระหนักถึงการให้ความสำคัญกับการให้เวลากับพ่อแม่ ปู่ย่า หรือตายาย และดูแลพวกเขาให้ดีที่สุด สร้างความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นให้แข็งแกร่งขึ้น

แนวโน้มของ Multi-Generation Family ทั่วโลกที่เติบโตขึ้น

Multi-Generation Family หรือครอบครัวที่มีสมาชิกหลายช่วงวัย จากผลวิจัยระบุว่า ผู้ชายและผู้หญิงโดยรวมมีแนวโน้มที่จะอาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีสมาชิกหลายช่วงวัยเท่าๆ กัน แต่ในกลุ่มอายุ 25 ถึง 29 ปี ผู้ชายวัยรุ่น (37%) มีแนวโน้มที่จะอยู่กับครอบครัวที่มีสมาชิกหลายช่วงวัยมากกว่าหญิงสาว (26%) อย่างเห็นได้ชัด การอาศัยอยู่กับพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายถือเป็นแนวทางการดำรงชีวิตที่โดดเด่นสำหรับชายหนุ่มมานานกว่าทศวรรษ ทั้งนี้แนวโน้มการใช้ชีวิตร่วมกันกับคนหลายวัยที่กำลังพัฒนาไปทั่วโลก โดยได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่หลากหลาย ภาพรวมของแนวโน้มปัจจุบันมีดังนี้

– เอเชีย :ในหลายประเทศในเอเชีย การมีครอบครัวที่มีสมาชิกหลายช่วงวัยถือเป็นบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมมายาวนาน แต่ปัจจัยทางเศรษฐกิจกำลังเสริมให้แนวโน้มนี้มีเพิ่มมากขึ้น

– ญี่ปุ่น : ประชากรสูงวัยและค่าดูแลผู้สูงอายุที่สูงส่งผลให้ครอบครัวอยู่ร่วมกันมากขึ้น ความเคารพทางวัฒนธรรมต่อผู้อาวุโสก็สนับสนุนแนวโน้มนี้เช่นกัน

–  ไทย : แม้ว่าจะได้รับอิทธิพลสมัยใหม่ในการเป็นอิสระในหมู่คนรุ่นใหม่ แต่การมีครอบครัวที่มีสมาชิกหลายช่วงวัยยังคงเป็นแนวทางปฏิบัติที่แพร่หลาย เนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น ค่าครองชีพที่สูง

– อเมริกาเหนือ : ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ครัวเรือนหลายรุ่นกำลังเพิ่มขึ้นเนื่องจากแรงกดดันทางเศรษฐกิจ พลวัตของครอบครัวที่เปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

– สหรัฐอเมริกา : ความท้าทายทางเศรษฐกิจ เช่น ค่าที่อยู่อาศัยและหนี้เงินกู้นักเรียน กำลังผลักดันให้คนหนุ่มสาวอาศัยอยู่กับพ่อแม่มากขึ้น นอกจากนี้ หลายครอบครัวรับญาติผู้สูงอายุเนื่องจากค่ารักษาพยาบาลและค่าดูแลผู้สูงอายุที่สูง นอกจากนี้ยังมีการตระหนักรู้ถึงประโยชน์ของการมีครอบครัวขยายอยู่ใกล้ๆ ในการดูแลเด็กและการสนับสนุนซึ่งกันและกัน 

– แคนาดา : มีแนวโน้มที่คล้ายกัน โดยราคาอสังหาริมทรัพย์ที่สูงขึ้นและสังคมพหุวัฒนธรรมที่ครอบครัวผู้อพยพมาอาศัยจำนวนมาก ทำให้ยังคงรูปแบบการอยู่อาศัยแบบดั้งเดิมซึ่งส่งผลให้มีครอบครัวที่มีสมาชิกหลายช่วงวัยเพิ่มมากขึ้น

– ยุโรป : ในยุโรป การดำรงชีวิตในครอบครัวที่มีสมาชิกหลายช่วงวัยได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางวัฒนธรรมและสภาพเศรษฐกิจไม่ต่างกัน

– ยุโรปตอนใต้ : ประเทศต่างๆ เช่น อิตาลี สเปน และกรีซ มักมีความผูกพันกับครอบครัวที่แน่นแฟ้น และวิกฤตเศรษฐกิจได้เสริมการดำรงชีวิตร่วมกับครอบครัวที่มีสมาชิกหลายช่วงวัยให้เป็นวิธีแก้ปัญหาในทางปฏิบัติสำหรับหลายครอบครัว

– ยุโรปเหนือ : มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสำหรับโครงการบ้านจัดสรรหลายรุ่นและชุมชนที่อยู่อาศัยร่วมที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการสูงวัย โครงการเหล่านี้ได้รับความนิยมเป็นพิเศษในประเทศต่างๆ เช่น เดนมาร์กและเยอรมนี ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องสวัสดิการสังคม

ตัวขับเคลื่อนการใช้ชีวิตร่วมแบบ Multi-Generations Family

  1. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ : ค่าที่อยู่อาศัยที่สูง ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และภาระทางการเงินในการดูแลผู้สูงอายุ เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการดำรงชีวิตของคนหลายรุ่นทั่วโลก
  2. บรรทัดฐานทางวัฒนธรรม : ในหลายวัฒนธรรม มีประเพณีที่เข้มแข็งในการสนับสนุนการอยู่ร่วมกันของครอบครัวและความเคารพต่อผู้อาวุโส 
  3. ประชากรสูงวัย : ด้วยจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นในหลายส่วนของโลก ครอบครัวที่มีสมาชิกหลายวัยจึงเป็นการนำเสนอวิธีแก้ปัญหาที่เป็นประโยชน์สำหรับการดูแลผู้สูงอายุ

สุดท้ายนี้ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญต่อความเข้มแข็งของครอบครัวในยุคที่ความเร่งรีบและภาวะเศรษฐกิจทำให้การมีที่อยู่อาศัยร่วมกันกลายเป็นทางเลือกที่สำคัญของผู้คนมากขึ้น การอยู่ร่วมกันในครอบครัวหลายช่วงวัยไม่เพียงแต่ช่วยให้สามารถแชร์ค่าใช้จ่ายและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ แต่ยังเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแรงของครอบครัวหลายช่วงวัยได้อีกด้วย

 

ผู้เขียน

นางสาวจินต์ศุจี มณฑิราลัยพร

 

ที่มา

https://www.imdb.com/title/tt31392609/ 

https://www.vogue.co.th/lifestyle/entertainment/article/lahn-ma-1-billion 

https://en.wikipedia.org/wiki/How_To_Make_Millions_Before_Grandma_Dies 

https://movie.kapook.com/view278175.html 

https://www.vox.com/24115808/multigenerational-housing-us-families-personal-finance 

https://www.pewresearch.org/social-trends/2022/03/24/the-demographics-of-multigenerational-households/ 

https://lombardohomes.com/multigenerational-living-statistics/ 

RECOMMEND

Superfansindex.com
read more
13.09.2024 29

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแบรนด์เราสุขภาพดีแค่ไหน?

ในหลายๆ ธุรกิจมักจะนึกถึงยอดขายที่จะทำให้รู้สึกว่าแบรนด์เรายังมีลูกค้าซึ่งก็ส่งผลต่อสุขภาพของแบรนด์ได้เช่นเดียวกัน แต่แท้ที่จริงแล้วแบรนด์คุณอาจจะสุขภาพไม่ดีก็ได้ เหมือนร่างกายคนถ้าไม่ไปตรวจสุขภาพเราก็จะไม่รู้ว่าข้างในร่างกายเป็นอย่างไร ทั้งๆ ที่ภายนอกเรายังรู้สึกปกติอยู่  เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเกิดปัญหา และอาจส่งผลให้ปัญหานั้นลามใหญ่โตซึ่งต้องใช้ทั้งเงินและเวลาในการแก้ไข การวิจัยตรวจสอบสุขภาพแบรนด์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์ควรจะทำอย่างต่อเนื่อง เปรียบเหมือนการเอ๊กซเรย์แบรนด์…เพราะหากรู้ก่อนย่อมสามารถแก้ปัญหาได้เร็วกว่า จากภาพข้างต้นหากทุกแท่งมีฐานที่กว้าง การันตีได้เลยว่าแบรนด์คุณสุขภาพดี เพราะการลงงบไปกับสื่อหรือการสร้างประสบการณ์นั้นสามารถได้ใจลูกค้าจนเกิดความเป็น Superfans ได้ (ความเป็น Superfans ของแบรนด์ คือ ขั้นสุดที่แบรนด์ควรไปให้ถึงและเก็บให้ได้มากที่สุด หรือที่เราเรียกว่า สาวกของแบรนด์)  รูปแบบการตรวสอบสุขภาพแบรนด์  โดยทั่วไปสามารถพบได้ 3 รูปแบบ 1.การวิจัยเพื่อตรวจสอบรายปี  เหมาะสำหรับแบรนด์/ องค์กรที่มีการลงงบการตลาด การทำแคมเปญต่างๆ ในช่วงระหว่างปี เพื่อให้เราสามารถรู้ได้ว่ารู […]

read more
11.09.2024 36

ตลาด Sustainable Fashion กับการเติบโต 22.9% ต่อปี

Sustainable Fashion หรือ แฟชั่นแบบยั่งยืนที่เคยเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ในอุตสาหกรรมแฟชั่นโดยรวม กำลังได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วเนื่องจากผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและจริยธรรมมากขึ้น ในปี 2024 ตลาดแฟชั่นยั่งยืนระดับโลกมีมูลค่า 8.1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2024 และคาดว่าจะเติบโตถึง 33.1 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2033 ด้วยอัตรา CAGR 22.9% ในช่วงคาดการณ์ปี 2024 – 2033 แม้ว่าจะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ผลกระทบของแฟชั่นยั่งยืนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากแบรนด์และผู้ค้าปลีกรายใหญ่ต่างนำแนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนเข้ามาใช้ในธุรกิจของตน การเพิ่มขึ้นของแบรนด์แฟชั่นยั่งยืน ร่วมกับการนำโครงการริเริ่มสีเขียวมาใช้โดยบริษัทที่จัดตั้งขึ้นแล้ว กำลังผลักดันตลาดให้ก้าวไปข้างหน้า พร้อมแรงหนุนจากความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม อุตสาหกรรมแฟชั่นยั่งยืนมีโอกาสอีกมากมาย เช่น ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคที่ต้องการความโปร่งใสในกระบวนการผลิตและการจัดหาวั […]

read more
11.09.2024 57

ทิศทาง Food delivery ทั้งไทยและต่างประเทศ

ตลาด Food Delivery ในไทยปี 2567 ยังมีเทรนด์ที่ลดลงต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้มีการประเมินว่าในปี 2567 มูลค่าตลาด Food Delivery จะอยู่ที่ประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท  หรือหดตัว 1.0% จากปี 2566 แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการสั่งอาหารเฉลี่ยต่อครั้งน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น (Price per Order) ประมาณ 2.8% จากค่าเฉลี่ยในปี 2566 หรือ มีราคาเฉลี่ยประมาณ 185 บาทต่อครั้งของการสั่ง ซึ่งจะมีผลตามมาต่อทั้งจำนวนครั้งและปริมาณการสั่งให้ลดลง ปัจจุบัน ตลาด Food Delivery ในหลายประเทศกำลังเผชิญกับแนวโน้มขาลงไม่ต่างจากประเทศไทย แม้ว่าจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเห็นการเติบโตชะลอตัวเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงและต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น ส่งผลให้บริการต้องปรับราคาให้สูงขึ้นเพื่อรักษากำไร ขณะที่ในญี่ปุ่น การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการจัดส่งและการแข่งขันจากผู้เล่นหลายราย ทำให้บริษัทฟู้ดเดลิเวอรี่ต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดและกำไร  การเติบโตของตลาด Food Delivery ทั่วโลก รายได้ในตลาดบริการจัดส่งอาหารออนไลน์คาดว่าจะสูงถึง 1.22 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567 แล […]

read more
06.09.2024 119

ตลาด Sustainable Dining กับการเติบโต 6.9% ต่อปี

Sustainable Dining หรือ การรับประทานอาหารอย่างยั่งยืนหมายถึงการเลือกอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม แนวทางการรับประทานอาหารนี้เน้นที่การบริโภคอาหารที่ผลิตและเตรียมในลักษณะที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่น การรับประทานอาหารอย่างยั่งยืนอาจเกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติต่างๆ เช่น การเลือกส่วนผสมจากแหล่งท้องถิ่นและออร์แกนิก การลดขยะอาหาร การเลือกอาหารจากพืชและการสนับสนุนร้านอาหารและธุรกิจที่ยึดมั่นในแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน เป้าหมายหลักคือการสร้างระบบอาหารที่สามารถรักษาคนรุ่นต่อไปได้โดยไม่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติหมดสิ้นหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบนิเวศ โดยมูลค่าตลาดอาหารที่ยั่งยืนมีมูลค่า 1,066.2 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2023 และคาดว่าจะถึง 1,945.38 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2032 โดยเติบโตที่อัตรา CAGR 6.91% ตั้งแต่ปี 2024-2032 แนวโน้มเหล่านี้สะท้อนถึงการเคลื่อนไหวที่กว้างขึ้นสู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งขับเคลื่อนโดยความต้องการของผู้บริโภคและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เมื่อการรับประทานอาหารที่ยั่งยืนกลายเป็นกระแสหลักมากขึ้น จึงมีศัก […]

read more
06.09.2024 125

Urban Farming การทำเกษตรในเมือง

ในขณะที่เมืองทั่วโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความจำเป็นในการหาแหล่งอาหารที่ยั่งยืนก็มีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม การทำเกษตรในเมือง ซึ่งเคยเป็นเพียงแค่แนวคิดเล็กๆ กำลังกลายเป็นขบวนการที่ทรงพลังซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการที่เราคิดเกี่ยวกับการผลิตอาหารและการใช้ชีวิตในเมือง โดยการเปลี่ยนหลังคาอาคาร ที่ดินว่างเปล่า หรือแม้แต่ระเบียงเล็กๆ ให้กลายเป็นพื้นที่การเกษตรที่เจริญรุ่งเรือง การทำเกษตรในเมืองเสนอโซลูชั่นใหม่สำหรับการแก้ปัญหาที่สำคัญที่สุดที่เมืองสมัยใหม่กำลังเผชิญ การทำเกษตรในเมืองคืออะไร การทำเกษตรในเมือง หรือ Urban Farming คือ การปลูกอาหารภายในสภาพแวดล้อมของเมือง โดยมักใช้พื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ แตกต่างจากการเกษตรแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้พื้นดินในชนบทอย่างกว้างขวาง การทำเกษตรในเมืองสามารถผสมผสานเข้ากับพื้นที่ของเมืองได้ ซึ่งอาจหมายถึงทุกอย่างตั้งแต่สวนชุมชนในที่ดินว่าง ไปจนถึงฟาร์มแนวตั้งบนด้านข้างของอาคารหรือระบบไฮโดรโปนิกส์ในห้องใต้ดิน ประโยชน์ของการทำเกษตรในเมือง ความยั่งยืนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การทำเกษตรในเมืองมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความยั่งยืน การผลิตอาหารในท้องถิ่ […]

Subscription

เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เทรนด์และวิจัยต่อเนื่อง